เราชอบพูดถึงเทคโนโลยี”สเตลธ์”ว่ามันดีวิเศษ เป็นนวัตกรรมที่ช่วยให้เข้าถึงตัวข้าศึกได้ง่ายโดยไม่ทันระวังตัวหรือกว่าจะรู้ตัวก็ถูกทำลายเสียแล้ว การนำเทคโนโลยีซ่อนพรางมาใช้โดยเฉพาะกับยุทโธปกรณ์อย่างเครื่องบิน ทำให้คนทั่วไปคิดว่าสเตลธ์หมายถึงเครื่องบินล่องหนที่บินทื่อเข้าหาเป้าหมายได้โดยไม่ถูกตรวจจับ แต่จริงๆแล้วคำว่าสเตลธ์นี้กินความหมายครอบคลุมมากกว่านั้น มันหมายถึงการซ่อนพรางทุกสิ่งตั้งแต่อาวุธ เครื่องแบบ ไปจนถึงสิ่งก่อสร้าง
ถึงคำว่าสเตลธ์จะถูกบัญญัติขึ้นในแวดวงเทคโนโลยีทางทหารเมื่อ40ปีที่แล้วก็จริง แต่ความพยายามอย่างจริงจังเพื่อซ่อนพรางเกิดขึ้นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่2แล้ว ด้วยชุดสนามลายพรางของทหารซึ่งเกิดในอิตาลีในรูปของผ้าเตนต์ลายกลมกลืนภูมิประเทศ แล้วเยอรมันนำมาต่อยอดเป็นชุดพรางหลากแบบของตนเอง ตามความหมายของนักการทหาร คำว่าสเตลธ์คือ”การซ่อนพรางตัวเองจากฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะใกล้หรืออันตรายแค่ไหนก็ตรวจจับไม่ได้” ทำได้ง่ายๆตั้งแต่เอาหญ้ามาเสียบตาข่ายคลุมหมวกเหล็ก จนถึงยากขนาดต้องใช้เทคโนโลยีซับซ้อนเพื่อออกแบบเครื่องบินและเรือรบกันใหม่หมด
เมื่อพูดถึงเครื่องบินที่ดูจะใช้เทคโนโลยีสเตลธ์ขั้นสูงสุด ความพยายามที่จะทำให้เครื่องบินล่องหนแต่แรกเริ่มคือการทาสีขาวหรือเทาอ่อนใต้ลำตัว ด้วยความคิดว่าเมื่อมองจากเบื้องล่างขึ้นมาจะเห็นเครื่องบินไม่ชัดเพราะสีท้องเครื่องกลมกลืนกับเมฆและท้องฟ้า แต่พอเอาจริงๆเข้าก็ไม่รอดเพราะเมื่อมองขึ้นไปยังเห็นเป็นวัตถุดำๆตัดท้องฟ้าสีครามอยู่ อันหมายถึงวัตถุนั้นมีเงา วิศวกรจึงติดหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์พลังสูงใต้ลำตัวและปีก สามารถหรี่หรือเร่งความสว่างให้เรืองแสงกลมกลืนกับแสงอาทิตย์อย่างไรก็ได้ ถึงจะไม่ล่องหนสมบูรณ์แบบนักแต่นักบินก็ตกเป็นเป้าได้ยากขึ้น
ความพยายามทำเครื่องบินให้สเตลธ์ก้าวกระโดดด้วยความบังเอิญ เมื่อนักวิทยาศาสตร์ในโครงการอวกาศของนาซาพบว่ายานอวกาศรุ่นแรกๆนั้นหายไปจากจอเรดาร์ และรับคลื่นวิทยุไม่ได้ระหว่างกลับสู่ชั้นบรรยากาศ ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นเพราะแรงเสียดทานจนเกิดความร้อนทำให้เกิดพลาสมา(ก๊าซร้อน)ห่อหุ้มรอบตัวยาน และก๊าซร้อนนี้เองที่ทำให้ยานหายจากเรดาร์เพราะมันดูดซับคลื่นสะท้อน หลักการ”พลาสมา ไดนามิกส์”นี้ดูจะอวกาศๆไปนิดในยุคนั้น แต่นักประดิษฐ์บอกว่านำมันมาต่อยอดเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสเตลธ์เพื่ออากาศยานในอนาคตได้
แนวความคิดหนึ่งคือเครื่องบินควรมีเครื่องเร่งอนุภาคติดไว้ เพื่อ”ยิง”เข้าชั้นบรรยากาศตรงหน้าเครื่องบินให้เกิดฉากคลุมเพื่อให้เครื่องบินเคลื่อนเข้าหาฉากนั้น เมื่อเครื่องบินยิงอนุภาคยิงต่อเนื่องไปเรื่อยๆมันก็จะอยู่ในโหมดสเตลธ์สมบูรณ์แบบ อีกแนวความคิดคือใช้คอยล์แม่เหล็กซูเปอร์คอนดักเตอร์พันรอบเครื่องบินให้เกิด”เมฆพลาสมา”รอบเครื่องเพื่อดูดซับคลื่นเรดาร์ไม่ให้สะท้อนกลับ อีกความคิดก็เสนอให้ทาเครื่องบินทั้งลำด้วยเรดิโอไอโซโทปซึ่งจะไปเปลี่ยนประจุไฟฟ้ารอบตัวเครื่อง เป็นเมฆพลาสมาบดบังคลื่นเรดาร์
ข้อดีของการบินอยู่ในพลาสมาคือลดแรงเสียดทานได้3เปอร์เซ็นต์ แต่ข้อเสียของการใช้เรดิโอไอโซโทปทาคือมันจะเรืองแสงในยามค่ำ เมื่อพัฒนาเทคโนโลยีสเตลธ์สำหรับอากาศยานระยะแรกๆนั้น มีการตั้งสมมุติฐานกันได้เข้าทีว่าวัตถุเรืองแสงที่เห็นบินไปมายามกลางคืนเหนือบริเวณลับ”แอเรีย51”ในเนวาดา มีเปอร์เซ็นต์สูงที่จะเป็นเครื่องบินสเตลธ์แบบโฮมเมดซึ่งทดลองด้วยวิธีต่างๆนี่เอง นอกจากจานบินของมนุษย์ต่างดาวที่คาดเดากันไป ก็น่าจะมีแต่เครื่องบินจารกรรมU-2เท่านั้นที่ถูกทาเรดิโอไอโซโทปแล้วปล่อยขึ้นบิน
เทคโนโลยีเครื่องบินสเตลธ์มาเห็นผลชัดๆเอาเมื่อสงครามอ่าวครั้งแรกเมื่อปี1991 เมื่อเครื่องบินรบF-117”ไนท์ฮอว์ค”บินเข้าทำลายเป้าหมายในกรุงแบกแดดและอีกหลายจุดยุทธศาสตร์ของอิรัก มันเป็นเครื่องบินโจมตีใช้รหัส”F”(Fighter)แบบเดียวที่ไม่มีอาวุธป้องกันตัวเองเลยนอกจากระเบิดฉลาด(สมาร์ทบอมบ์)เต็มท้อง ถูกสร้างให้บินด้วยคอมพิวเตอร์(fly by wire) ผิวเครื่องทั้งลำถูกฉาบด้วยวัสดุดูดซับคลื่นเรดาร์ ตัวเครื่องถูกออกแบบให้อสมมาตร(ที่ใครๆเห็นแต่แรกต่างคิดว่ามันไม่น่าจะบินได้)เพื่อกระจายคลื่นเรดาร์ ท่อไอพ่นท้ายเครื่องยนต์ก็ถูกพรางความร้อนไว้เช่นกัน
เพราะเป็นเครื่องบินสเตลธ์F-117จึงไม่ต้องมีอาวุธยิงหรืออาวุธปล่อย ไม่จำเป็นต้องใช้อาวุธเหล่านี้เพราะเลือกเวลาปฏิบัติการเป็นกลางคืนและเรดาร์ข้าศึกก็จับไม่ได้ นักบินจึงขับF-117เข้าทำลายเป้าหมายเพียงลำพังแล้วบินหนีออกมาโดยไร้ร่องรอย โดยฝ่ายข้าศึกเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าโดนอะไรเข้าไป ตรงตามแนวความคิดสเตลธ์ เครื่องบินทิ้งระเบิดB-2ของสหรัฐก็ใช้เทคโนโลยีเช่นเดียวกัน
ปัจจุบันนี้F-117ซึ่งปลดประจำการไปเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว ได้ถูกแทนที่โดยเครื่องบินขับไล่F-22”แรปเตอร์”ที่เป็นเครื่องบินขับไล่เต็มตัวและใช้ระบบสเตลธ์สมบูรณ์แบบ ด้วยระบบสเตลธ์ของแรปเตอร์ จากเครื่องบินจริงๆลำใหญ่กลับมีขนาดเท่าลูกกอล์ฟเท่านั้นในจอเรดาร์! มันจึงได้เปรียบแบบไม่เหลืออะไรให้คู่แข่งตามติดได้เลย ทั้งด้านการหยั่งรู้เท่าทันสถานการณ์และการเข้าหาที่หมายอย่าง”ลับ ลวง พราง”
ถ้าเครื่องบินยังใช้สเตลธ์หลบเรดาร์ได้ ยุทโธปกรณ์อย่างอื่นก็ต้องหลบได้เหมือนกันขอให้มีแค่เทคโนโลยีที่ไว้ใจได้ เรือคอร์เวตต์ชั้นวิสบี(Visby class)ของกองทัพเรือสวีเดนคือหัวหอกด้านเรือรบสเตลธ์ ทั้งลำถูกสร้างด้วยคาร์บอนไฟเบอร์แข็งพิเศษชนิดเดียวกับใช้สร้างรถแข่งฟอร์มิวลา วัน เรือรบชั้นวิสบีจึงเบากว่า,เร็วกว่าและใช้น้ำมันน้อยกว่าเรือคอร์เวตต์ทั่วไป รูปพรรณของมันแทบไม่ต่างจากF-117ในแง่ของการออกแบบพื้นผิวให้กระจายคลื่นสะท้อนจากเรดาร์และฉาบด้วยสีดูดซึมคลื่น อาวุธทุกชนิดถูกเก็บในตัวเรือเว้นแต่เวลาจะใช้งานจึงเปิดเป็นช่องพอให้ยิงได้ เรดาร์ของเรือจับเป้าได้ไกล70-100ก.ม.แต่กว่าตัวมันจะถูกข้าศึกตรวจจับได้ก็เข้าใกล้ถึง30ก.ม.แล้ว
ใต้น้ำลงไปเรือดำน้ำชั้นกิโล(Kilo class)ของรัสเซียขึ้นชื่อเรื่องความสเตลธ์ในด้านเสียง ตัวเรือฉาบด้วยยางสองชั้นเพื่อลดเสียงเครื่องยนต์ ใช้เพลาขับความเร็วต่ำและวางเครื่องบนแท่นรองกันสะเทือนพิเศษเพื่อลดเสียงเล็ดลอดออกมาให้ถูกโซนาร์จับได้ ด้วยคุณสมบัติสเตลธ์ข้อนี้กิโลจึงเป็นเรือดำน้ำพลังไฟฟ้า-ดีเซลที่เงียบที่สุดในโลกไปเรียบร้อย นอกจากเทคโนโลยีลดเสียงที่ใช้ในปัจจุบันแล้ว ยังมีความพยายามจะสร้างเรือดำน้ำให้มี”ผิวหนัง”หรือในทางปฏิบัติคือการทำให้ทั้งลำไร้รอยต่อเสมือนหล่อด้วยวัสดุชิ้นเดียว พัฒนาเครื่องยนต์ให้เดินเงียบกว่าเก่า ไม่ต้องลอยลำขึ้นผิวน้ำเพื่อปล่อยไอเสียและรับอากาศ และปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ให้ควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ให้สั่นไหวน้อยที่สุด เพื่อหลบหลีกการตรวจจับจากโซนาร์
สำหรับการรบภาคพื้นดิน ยานขนส่งเอนกประสงค์MULE(Multifunctional Utility Logistics Equipment)ขนาดยาว15เมตรของสหรัฐกำลังถูกทดสอบอยู่ขณะนี้ ด้วยสีดูดซับคลื่นอินฟราเรดซึ่งกล้องมองกลางคืนและอุปกรณ์ตรวจจับพิเศษอื่นๆส่องไม่พบ พร้อมกันนี้ยังทดลองการใช้สีเพื่อเบี่ยงเบนลำแสงจากเครื่องตรวจจับใดๆได้ ทั้งยังดูดซับความชื้นในอากาศรอบตัวได้ด้วยจนดูเหมือนหยดน้ำเกาะใบไม้เมื่ออากาศชื้น
ในสงครามโลกครั้งที่2เยอรมันคือชาติที่แสวงความได้เปรียบจากสีพรางยุทธยานยนต์มากที่สุด รถถังเช่นไทเกอร์,แพนเธอร์และอื่นๆจะถูกพ่นสีพื้นเช่นน้ำตาลแก่หรือเทาปลอดออกจากโรงงาน เมื่อออกสู่แนวรบทหารจะได้สีพรางพร้อมเครื่องมือเช่นแอร์บรัชและแปรงไปพร้อมตัวรถถัง พบภูมิประเทศแบบใดก็ละเลงสีพรางได้ตามชอบใจไม่ต้องกลัวกล้องจับภาพอินฟราเรด แต่ยุทธยานยนต์ในปัจจุบันจะทำแค่นั้นไม่ได้เมื่อเทคโนโลยีสมัยนี้สูงขึ้นจนจับภาพได้ด้วยความร้อน แม้มีผนังกั้นอยู่ก็ยังเห็น
รถถังในอนาคตจึงต้องเตี้ยเพื่อลดการมองเห็น เครื่องยนต์ต้องเดินเงียบและแทบไร้ควันดำ สีรถต้องดูดกลืนคลื่นเรดาร์และรอดจากการจับภาพด้วยกล้องอินฟราเรด ตีนตะขาบต้องมียางรองพิเศษช่วยให้แล่นได้เงียบกว่า เทคโนโลยีสเตลธ์ยังไปไกลกว่านั้นสำหรับตัวทหารราบ ลองนึกภาพดูเถิดถึงอุปกรณ์ที่ทำให้ทั้งตัวคนและอาวุธกลายเป็นเงาโปร่งใสเพียงแค่ กดสวิทช์บนหมวก ภาพของมนุษย์ต่างดาวจากภาพยนตร์เรื่องพรีเดเตอร์คงไม่เกินจริงในอนาคต เมื่อนักวิทยาศาสตร์ประดิษฐ์อุปกรณ์สร้างม่านสะท้อนภาพจากสภาพแวดล้อมตัวทหาร ได้ในทำนองเดียวกับเครื่องสร้างฉากพลาสมาของเครื่องบิน
เทคโนโลยีสเตลธ์เพื่อให้หน่วยรบและยุทโธปกรณ์เคลื่อนที่ได้อย่าง”ลับ ลวง พราง” จึงเป็นนวัตกรรมทางทหารอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีโอกาสเป็นจริงได้มากในอนาคต เช่นเดียวกับนวัตกรรมอื่นๆเช่นคอมพิวเตอร์ เรดาร์ อินเตอร์เน็ต ที่คนยุคก่อนไม่เพียงแต่ไม่รู้จักแต่ไม่คิดด้วยซ้ำว่าจะได้เห็นมันในอนาคต และคุณประโยชน์ของมันยังเผื่อแผ่มายังถึงการใช้งานภาคพลเรือนได้ด้วย
ถึงคำว่าสเตลธ์จะถูกบัญญัติขึ้นในแวดวงเทคโนโลยีทางทหารเมื่อ40ปีที่แล้วก็จริง แต่ความพยายามอย่างจริงจังเพื่อซ่อนพรางเกิดขึ้นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่2แล้ว ด้วยชุดสนามลายพรางของทหารซึ่งเกิดในอิตาลีในรูปของผ้าเตนต์ลายกลมกลืนภูมิประเทศ แล้วเยอรมันนำมาต่อยอดเป็นชุดพรางหลากแบบของตนเอง ตามความหมายของนักการทหาร คำว่าสเตลธ์คือ”การซ่อนพรางตัวเองจากฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าจะใกล้หรืออันตรายแค่ไหนก็ตรวจจับไม่ได้” ทำได้ง่ายๆตั้งแต่เอาหญ้ามาเสียบตาข่ายคลุมหมวกเหล็ก จนถึงยากขนาดต้องใช้เทคโนโลยีซับซ้อนเพื่อออกแบบเครื่องบินและเรือรบกันใหม่หมด
เมื่อพูดถึงเครื่องบินที่ดูจะใช้เทคโนโลยีสเตลธ์ขั้นสูงสุด ความพยายามที่จะทำให้เครื่องบินล่องหนแต่แรกเริ่มคือการทาสีขาวหรือเทาอ่อนใต้ลำตัว ด้วยความคิดว่าเมื่อมองจากเบื้องล่างขึ้นมาจะเห็นเครื่องบินไม่ชัดเพราะสีท้องเครื่องกลมกลืนกับเมฆและท้องฟ้า แต่พอเอาจริงๆเข้าก็ไม่รอดเพราะเมื่อมองขึ้นไปยังเห็นเป็นวัตถุดำๆตัดท้องฟ้าสีครามอยู่ อันหมายถึงวัตถุนั้นมีเงา วิศวกรจึงติดหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์พลังสูงใต้ลำตัวและปีก สามารถหรี่หรือเร่งความสว่างให้เรืองแสงกลมกลืนกับแสงอาทิตย์อย่างไรก็ได้ ถึงจะไม่ล่องหนสมบูรณ์แบบนักแต่นักบินก็ตกเป็นเป้าได้ยากขึ้น
ความพยายามทำเครื่องบินให้สเตลธ์ก้าวกระโดดด้วยความบังเอิญ เมื่อนักวิทยาศาสตร์ในโครงการอวกาศของนาซาพบว่ายานอวกาศรุ่นแรกๆนั้นหายไปจากจอเรดาร์ และรับคลื่นวิทยุไม่ได้ระหว่างกลับสู่ชั้นบรรยากาศ ปรากฎการณ์นี้เกิดขึ้นเพราะแรงเสียดทานจนเกิดความร้อนทำให้เกิดพลาสมา(ก๊าซร้อน)ห่อหุ้มรอบตัวยาน และก๊าซร้อนนี้เองที่ทำให้ยานหายจากเรดาร์เพราะมันดูดซับคลื่นสะท้อน หลักการ”พลาสมา ไดนามิกส์”นี้ดูจะอวกาศๆไปนิดในยุคนั้น แต่นักประดิษฐ์บอกว่านำมันมาต่อยอดเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสเตลธ์เพื่ออากาศยานในอนาคตได้
แนวความคิดหนึ่งคือเครื่องบินควรมีเครื่องเร่งอนุภาคติดไว้ เพื่อ”ยิง”เข้าชั้นบรรยากาศตรงหน้าเครื่องบินให้เกิดฉากคลุมเพื่อให้เครื่องบินเคลื่อนเข้าหาฉากนั้น เมื่อเครื่องบินยิงอนุภาคยิงต่อเนื่องไปเรื่อยๆมันก็จะอยู่ในโหมดสเตลธ์สมบูรณ์แบบ อีกแนวความคิดคือใช้คอยล์แม่เหล็กซูเปอร์คอนดักเตอร์พันรอบเครื่องบินให้เกิด”เมฆพลาสมา”รอบเครื่องเพื่อดูดซับคลื่นเรดาร์ไม่ให้สะท้อนกลับ อีกความคิดก็เสนอให้ทาเครื่องบินทั้งลำด้วยเรดิโอไอโซโทปซึ่งจะไปเปลี่ยนประจุไฟฟ้ารอบตัวเครื่อง เป็นเมฆพลาสมาบดบังคลื่นเรดาร์
ข้อดีของการบินอยู่ในพลาสมาคือลดแรงเสียดทานได้3เปอร์เซ็นต์ แต่ข้อเสียของการใช้เรดิโอไอโซโทปทาคือมันจะเรืองแสงในยามค่ำ เมื่อพัฒนาเทคโนโลยีสเตลธ์สำหรับอากาศยานระยะแรกๆนั้น มีการตั้งสมมุติฐานกันได้เข้าทีว่าวัตถุเรืองแสงที่เห็นบินไปมายามกลางคืนเหนือบริเวณลับ”แอเรีย51”ในเนวาดา มีเปอร์เซ็นต์สูงที่จะเป็นเครื่องบินสเตลธ์แบบโฮมเมดซึ่งทดลองด้วยวิธีต่างๆนี่เอง นอกจากจานบินของมนุษย์ต่างดาวที่คาดเดากันไป ก็น่าจะมีแต่เครื่องบินจารกรรมU-2เท่านั้นที่ถูกทาเรดิโอไอโซโทปแล้วปล่อยขึ้นบิน
เทคโนโลยีเครื่องบินสเตลธ์มาเห็นผลชัดๆเอาเมื่อสงครามอ่าวครั้งแรกเมื่อปี1991 เมื่อเครื่องบินรบF-117”ไนท์ฮอว์ค”บินเข้าทำลายเป้าหมายในกรุงแบกแดดและอีกหลายจุดยุทธศาสตร์ของอิรัก มันเป็นเครื่องบินโจมตีใช้รหัส”F”(Fighter)แบบเดียวที่ไม่มีอาวุธป้องกันตัวเองเลยนอกจากระเบิดฉลาด(สมาร์ทบอมบ์)เต็มท้อง ถูกสร้างให้บินด้วยคอมพิวเตอร์(fly by wire) ผิวเครื่องทั้งลำถูกฉาบด้วยวัสดุดูดซับคลื่นเรดาร์ ตัวเครื่องถูกออกแบบให้อสมมาตร(ที่ใครๆเห็นแต่แรกต่างคิดว่ามันไม่น่าจะบินได้)เพื่อกระจายคลื่นเรดาร์ ท่อไอพ่นท้ายเครื่องยนต์ก็ถูกพรางความร้อนไว้เช่นกัน
เพราะเป็นเครื่องบินสเตลธ์F-117จึงไม่ต้องมีอาวุธยิงหรืออาวุธปล่อย ไม่จำเป็นต้องใช้อาวุธเหล่านี้เพราะเลือกเวลาปฏิบัติการเป็นกลางคืนและเรดาร์ข้าศึกก็จับไม่ได้ นักบินจึงขับF-117เข้าทำลายเป้าหมายเพียงลำพังแล้วบินหนีออกมาโดยไร้ร่องรอย โดยฝ่ายข้าศึกเองก็ไม่รู้เหมือนกันว่าโดนอะไรเข้าไป ตรงตามแนวความคิดสเตลธ์ เครื่องบินทิ้งระเบิดB-2ของสหรัฐก็ใช้เทคโนโลยีเช่นเดียวกัน
ปัจจุบันนี้F-117ซึ่งปลดประจำการไปเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว ได้ถูกแทนที่โดยเครื่องบินขับไล่F-22”แรปเตอร์”ที่เป็นเครื่องบินขับไล่เต็มตัวและใช้ระบบสเตลธ์สมบูรณ์แบบ ด้วยระบบสเตลธ์ของแรปเตอร์ จากเครื่องบินจริงๆลำใหญ่กลับมีขนาดเท่าลูกกอล์ฟเท่านั้นในจอเรดาร์! มันจึงได้เปรียบแบบไม่เหลืออะไรให้คู่แข่งตามติดได้เลย ทั้งด้านการหยั่งรู้เท่าทันสถานการณ์และการเข้าหาที่หมายอย่าง”ลับ ลวง พราง”
ถ้าเครื่องบินยังใช้สเตลธ์หลบเรดาร์ได้ ยุทโธปกรณ์อย่างอื่นก็ต้องหลบได้เหมือนกันขอให้มีแค่เทคโนโลยีที่ไว้ใจได้ เรือคอร์เวตต์ชั้นวิสบี(Visby class)ของกองทัพเรือสวีเดนคือหัวหอกด้านเรือรบสเตลธ์ ทั้งลำถูกสร้างด้วยคาร์บอนไฟเบอร์แข็งพิเศษชนิดเดียวกับใช้สร้างรถแข่งฟอร์มิวลา วัน เรือรบชั้นวิสบีจึงเบากว่า,เร็วกว่าและใช้น้ำมันน้อยกว่าเรือคอร์เวตต์ทั่วไป รูปพรรณของมันแทบไม่ต่างจากF-117ในแง่ของการออกแบบพื้นผิวให้กระจายคลื่นสะท้อนจากเรดาร์และฉาบด้วยสีดูดซึมคลื่น อาวุธทุกชนิดถูกเก็บในตัวเรือเว้นแต่เวลาจะใช้งานจึงเปิดเป็นช่องพอให้ยิงได้ เรดาร์ของเรือจับเป้าได้ไกล70-100ก.ม.แต่กว่าตัวมันจะถูกข้าศึกตรวจจับได้ก็เข้าใกล้ถึง30ก.ม.แล้ว
ใต้น้ำลงไปเรือดำน้ำชั้นกิโล(Kilo class)ของรัสเซียขึ้นชื่อเรื่องความสเตลธ์ในด้านเสียง ตัวเรือฉาบด้วยยางสองชั้นเพื่อลดเสียงเครื่องยนต์ ใช้เพลาขับความเร็วต่ำและวางเครื่องบนแท่นรองกันสะเทือนพิเศษเพื่อลดเสียงเล็ดลอดออกมาให้ถูกโซนาร์จับได้ ด้วยคุณสมบัติสเตลธ์ข้อนี้กิโลจึงเป็นเรือดำน้ำพลังไฟฟ้า-ดีเซลที่เงียบที่สุดในโลกไปเรียบร้อย นอกจากเทคโนโลยีลดเสียงที่ใช้ในปัจจุบันแล้ว ยังมีความพยายามจะสร้างเรือดำน้ำให้มี”ผิวหนัง”หรือในทางปฏิบัติคือการทำให้ทั้งลำไร้รอยต่อเสมือนหล่อด้วยวัสดุชิ้นเดียว พัฒนาเครื่องยนต์ให้เดินเงียบกว่าเก่า ไม่ต้องลอยลำขึ้นผิวน้ำเพื่อปล่อยไอเสียและรับอากาศ และปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ให้ควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ให้สั่นไหวน้อยที่สุด เพื่อหลบหลีกการตรวจจับจากโซนาร์
สำหรับการรบภาคพื้นดิน ยานขนส่งเอนกประสงค์MULE(Multifunctional Utility Logistics Equipment)ขนาดยาว15เมตรของสหรัฐกำลังถูกทดสอบอยู่ขณะนี้ ด้วยสีดูดซับคลื่นอินฟราเรดซึ่งกล้องมองกลางคืนและอุปกรณ์ตรวจจับพิเศษอื่นๆส่องไม่พบ พร้อมกันนี้ยังทดลองการใช้สีเพื่อเบี่ยงเบนลำแสงจากเครื่องตรวจจับใดๆได้ ทั้งยังดูดซับความชื้นในอากาศรอบตัวได้ด้วยจนดูเหมือนหยดน้ำเกาะใบไม้เมื่ออากาศชื้น
ในสงครามโลกครั้งที่2เยอรมันคือชาติที่แสวงความได้เปรียบจากสีพรางยุทธยานยนต์มากที่สุด รถถังเช่นไทเกอร์,แพนเธอร์และอื่นๆจะถูกพ่นสีพื้นเช่นน้ำตาลแก่หรือเทาปลอดออกจากโรงงาน เมื่อออกสู่แนวรบทหารจะได้สีพรางพร้อมเครื่องมือเช่นแอร์บรัชและแปรงไปพร้อมตัวรถถัง พบภูมิประเทศแบบใดก็ละเลงสีพรางได้ตามชอบใจไม่ต้องกลัวกล้องจับภาพอินฟราเรด แต่ยุทธยานยนต์ในปัจจุบันจะทำแค่นั้นไม่ได้เมื่อเทคโนโลยีสมัยนี้สูงขึ้นจนจับภาพได้ด้วยความร้อน แม้มีผนังกั้นอยู่ก็ยังเห็น
รถถังในอนาคตจึงต้องเตี้ยเพื่อลดการมองเห็น เครื่องยนต์ต้องเดินเงียบและแทบไร้ควันดำ สีรถต้องดูดกลืนคลื่นเรดาร์และรอดจากการจับภาพด้วยกล้องอินฟราเรด ตีนตะขาบต้องมียางรองพิเศษช่วยให้แล่นได้เงียบกว่า เทคโนโลยีสเตลธ์ยังไปไกลกว่านั้นสำหรับตัวทหารราบ ลองนึกภาพดูเถิดถึงอุปกรณ์ที่ทำให้ทั้งตัวคนและอาวุธกลายเป็นเงาโปร่งใสเพียงแค่ กดสวิทช์บนหมวก ภาพของมนุษย์ต่างดาวจากภาพยนตร์เรื่องพรีเดเตอร์คงไม่เกินจริงในอนาคต เมื่อนักวิทยาศาสตร์ประดิษฐ์อุปกรณ์สร้างม่านสะท้อนภาพจากสภาพแวดล้อมตัวทหาร ได้ในทำนองเดียวกับเครื่องสร้างฉากพลาสมาของเครื่องบิน
เทคโนโลยีสเตลธ์เพื่อให้หน่วยรบและยุทโธปกรณ์เคลื่อนที่ได้อย่าง”ลับ ลวง พราง” จึงเป็นนวัตกรรมทางทหารอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีโอกาสเป็นจริงได้มากในอนาคต เช่นเดียวกับนวัตกรรมอื่นๆเช่นคอมพิวเตอร์ เรดาร์ อินเตอร์เน็ต ที่คนยุคก่อนไม่เพียงแต่ไม่รู้จักแต่ไม่คิดด้วยซ้ำว่าจะได้เห็นมันในอนาคต และคุณประโยชน์ของมันยังเผื่อแผ่มายังถึงการใช้งานภาคพลเรือนได้ด้วย
เป็นไปได้ไหมครับว่า รัสเซีย นั้นจะมีเทคโนโลยี Stealth เทียบเท่ากับ อเมริกา
ตอบลบแล้ว บ. Berkut ของรัสเซีย นี่เป็นแบบ stealth หรือปล่าวครับ
มีครับ เครื่องบินแบร์คุตของรัสเซียตั้งใจทำให้เท่าเทียมกับF22 แต่ยังเป็นแค่ต้นแบบเครื่องบินสเตลธ์ที่ใช้แนวความคิดเดียวกับF22 ในด้านการดูดซับคลื่นเรดาร์ เก็บขีปนาวุธไว้ในตัวเครื่อง และยังไม่ผลิตใช้งานจริงๆ เรื่องยุทโธปกรณ์ของรัสเซียนั้นไม่ค่อยเปิดเผยมานานแล้วครับ
ตอบลบ^ ^
ตอบลบมีรัสเซีย ก็ต้องมีจีน
โครงการเกี่ยวกับ stealth ของจีน ไม่ทราบว่า มีไหมครับ
เห็นว่าพี่จีนเค้าทำ J-10 แล้ว....เค้าจะทำ stealth ไหมครับ
ลองป้อนคีย์เวิร์ดในwww.google.cothหาเองบ้างนะหนู ผมชักรำคาญแล้วล่ะ ลองทำเองบ้างโตขึ้นจะได้เก่งๆ
ตอบลบถ้าไม่ตอบจะตั้งไว้ให้ถามทำไมครับ
ลบขอโทษ อย่ากวนตีนนะครับ ไม่ดีหรอก
ตอบลบจีนมี j20 กับ j31ครับ
ตอบลบเด็กน้อยที่ไม่อยากเป็นทหารอากาศ