ในกองทัพทั่วโลกปัจจุบันนี้ หากมีใครตั้งคำถามว่าเฮลิคอปเตอร์(ฮ.)รุ่นใดถูกผลิตออกมามากและใช้งานมากที่สุด คำตอบคือ UH-1”Iroquois”หรือที่ถูกเรียกด้วยชื่อเล่น”Huey”(ฮิวอี้) เครื่องบินปีกหมุนเอนกประสงค์ที่เคยสร้างชื่อไว้ในสงครามเวียตนามจนกลายเป็นตำนาน และต่อมาถึงปัจจุบันด้วยขีดความสามารถสูง ทั้งความเร็ว ความจุผู้โดยสารและระบบขับเคลื่อนอันเป็นนวัตกรรมจากเครื่องยนต์กังหันแก๊ซหรือ”เทอร์บีน”(turbine)น้ำหนักเบา แทนเครื่องยนต์ลูกสูบในเฮลิคอปเตอร์รุ่นก่อนซึ่งหนักกว่าและสิ้นเปลือง
เบลล์ เฮลิคอปเตอร์ เท็กซ์ทรอนบริษัทผู้ผลิตอากาศยานคู่แข่งฮิวจ์ แอร์คราฟต์ คือผู้สร้างตำนานของฮิวอี้ขึ้นในปี1955ตามความต้องการของกองทัพบกสหรัฐ ที่ต้องการเฮลิคอปเตอร์ทางธุรการแบบใหม่มาทดแทนแบบเดิมจากรูปแบบสงครามเย็นที่ขยายตัวกลายเป็นการปะทะกันในบางพื้นที่ ความต้องการช่วงชิงความได้เปรียบทำให้ต้องเร่งหาเฮลิคอปเตอร์ใหม่ที่สมรรถนะสูงกว่าในด้านความเร็วและความจุผู้โดยสาร เพื่อส่งทหารลงพื้นที่สู้รบได้เร็วและมากกว่า UH-1จึงถูกพัฒนาจากเฮลิคอปเตอร์พลเรือนเดิมของเบลล์คือ Bell 204 ที่เดิมออกแบบไว้เพื่อใช้งานพ่นยาฆ่าแมลงในไร่ ยกสัมภาระเพื่อขนส่งและอื่นๆรวมถึงงานปราบปรามของตำรวจ
ฮิวอี้ทหารลำแรกจากโต๊ะออกแบบเริ่มบินเมื่อปี1956 มีจุดเด่นที่เห็นได้หลายตำแหน่งเช่นจมูกกลมป้าน ห้องนักบินและห้องโดยสารกว้างขวาง ใบพัดคู่และเสียง”ปั้ดๆๆๆ...”ระหว่างบินที่ทำให้ใครก็ตามทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจฟังรู้แต่ไกลว่ามันกำลังมา เป็นเฮลิคอปเตอร์หนึ่งในไม่กี่แบบที่มีเสียงหนวกหู เพราะขณะบินนั้นใบพัดหลักหมุนแหวกอากาศด้วยความเร็วเท่าเสียงจึงเกิดโซนิกบูมเล็กๆ และจากต้นกำเนิดเดิมที่ไม่ได้ออกแบบไว้เพื่อทำสงครามแต่เพื่อการพานิชย์โดยเฉพาะ แตกต่างจากเฮลิคอปเตอร์รุ่นหลังๆเช่น”แบล็คฮอว์ค”ที่เสียงเครื่องยนต์ค่อยกว่ารวมทั้งไร้เสียงใบพัดฟันอากาศดังลั่นเหมือนฮิวอี้
เหตุที่ฮิวอี้ถูกขึ้นบัญชีนวัตกรรมอากาศยานขณะนั้นเพราะมันแตกต่าง ระหว่างเฮลิคอปเตอร์แบบแรกๆเช่นไซคอร์สกี้ R-4และS-51ใช้เครื่องยนต์ลูกสูบ และในช่วงต้นทศวรรษ1950นั้นเครื่องยนต์เทอร์บีนจะมีใช้ก็เฉพาะในเครื่องบินใบพัดปีกนิ่ง(fixed-wing)เพราะน้ำหนักเบาและให้แรงขับดันสูง เบลล์พัฒนาเฮลิคอปเตอร์ใช้เครื่องยนต์เทอร์บีนสำเร็จในเบลล์47ที่ต่อมาได้รหัสเป็นXH-13F บินครั้งแรกในเดือนตุลาคม 1954 หลังจากความสำเร็จของเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้กองทัพบกได้สั่งให้เบลล์พัฒนาเครื่องยนต์เทอร์บีนรุ่นต่อไปให้เป็นเฮลิคอปเตอร์พยาบาล โดยยังต้องเป็นเครื่องยนต์เทอร์บีนแต่ราคาต้องต่ำกว่าเดิม ผลคือXH-40ที่ต่อมาได้รหัสในแบบพานิชย์ว่าBell 204 บินครั้งแรกเมื่อวันที่22ตุลาคม 1956
เบลล์ยังผลิตเครื่องต้นแบบออกมาอีกในปี 1957เพื่อประเมินผลก่อนจะพัฒนาให้เป็นรุ่นใช้งานจริงในกองทัพ เครื่องทดสอบรุ่นYH-40ขึ้นบินในปี1958 เมื่อพบว่าประสิทธิภาพของเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้สูงเกินกว่าจะใช้แค่ขนคนและยุทโธปกรณ์ เบลล์จึงส่งให้กองทัพบกทดลองใช้งาน ได้ผลเป็นที่น่าพอใจด้วยคำสั่งให้ผลิตเพิ่มเพื่อประเมินผลและทดสอบหลังจากได้รับรายงานอันน่าพอใจจากนักบิน ที่เปรียบเทียบเครื่องยนต์เทอร์บีนของมันแล้วให้สมรรถนะน่าพอใจกว่าเครื่องยนต์ลูกสูบแบบเดิม ทั้งด้านความนุ่มนวล ความเร็วและประหยัดเชื้อเพลิงกว่า
เบลล์ทหารรุ่นแรกคือHU-1Aเข้าประจำการในกองพลส่งทางอากาศที่101 ณ ค่ายลิวอิส วอชิงตันในฐานะอากาศยานทดสอบและประเมินผล ด้วยสภาพของการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังจะระเบิดเป็นสงครามเวียตนาม มีแนวโน้มสูงว่าทหารสหรัฐต้องเข้าไปเกี่ยวข้องและอาจต้องออกรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับพันธมิตร กองทัพบกจึงเร่งให้เบลล์พัฒนาเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้เป็นเครื่องประจำการเพื่อสนองความต้องการด้านยุทธการ จากสมรรถนะอันเป็นที่ประทับใจทหารในค่ายลิวอิสนี่เองที่ทำให้HU-1Aได้ชื่อเล่นว่า”Huey” อันเป็นชื่อเล่นก่อนจะถูกเปลี่ยนรหัสมาเป็นUH-1และมีชื่อเป็นทางการตามชื่อชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกันว่า”Iroquois”(อิโรกัว) ตามระเบียบของกองทัพอเมริกันที่ต้องตั้งชื่อเฮลิคอปเตอร์แบบต่างๆของตนตามชื่อชนเผ่าพื้นเมือง เช่น ซู,อะแพชี่,คายูส,คิโอวา,โคมันชี่ ฯลฯ
HU-1Aเข้าประจำการแล้วก็จริงแต่ยังไม่ได้ถูกใช้งานจริงจังเพราะแค่ใช้ประเมินผล จนกระทั่งเบลล์ออกแบบใบพัดหลักใหม่และขยายห้องโดยสารให้ขนทหารได้14นาย รุ่นประจำการใช้งานจริงนี้จึงถูกเปลี่ยนรหัสใหม่เป็น”UH” เริ่มด้วยUH-1AและUH-1Bตามลำดับ ตามด้วยรุ่นUH-1Cที่เครื่องยนต์แรงกว่าเดิมในปี1962และในปีนั้นเองที่”ฮิวอี้”ได้ออกสมรภูมิเวียตนามเป็นครั้งแรก เริ่มต้นด้วยภารกิจขนส่งสัมภาระและส่งกลับทหารบาดเจ็บ
แต่เมื่อสงครามเวียตนามขยายขอบเขตและทหารอเมริกันต้องออกรบมากขึ้น แทนที่จะเป็นแค่”ที่ปรึกษาทางทหาร”เหมือนที่ตั้งใจไว้เริ่มแรก เฮลิคอปเตอร์ธุรการที่ไม่ได้หุ้มเกราะหรือถูกออกแบบให้สู้รบโดยตรงอย่างฮิวอี้ก็ถูกติดอาวุธ มีเขี้ยวเล็บหลากหลายที่นำมาใช้กับมันทั้งปืนกลM60 ปืนใหญ่อากาศวัลแคนหลายลำกล้องและกระเปาะจรวดอากาศสู่พื้น หรือถ้าหาอะไรไม่ได้ก็ใช้ปืนเล็กยาวทั้งM16และอื่นๆของทหารที่นั่งห้อยขาอยู่ข้างลำตัว เปรียบเทียบกับรถยนต์ฮัมวีในปัจจุบันจะพบว่าคล้ายคลึงกันด้านการใช้งาน ที่ไม่ได้ออกแบบให้เข้าสู่สนามรบโดยตรงแต่แรกแต่ถูกนำมาติดอาวุธ
การส่งทหารลงพื้นที่ด้วยเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธเป็นยุทธวิธีใหม่ของกองทัพบกสหรัฐฯ ถึงฮิวอี้จะเสียงดังมาแต่ไกลให้ข้าศึกรู้ตัว แต่ข้อดีที่พอหักลบกลบข้อด้อยได้คือมันเร็ว นำทหารเข้าพื้นที่ได้ทีละมากๆเป็นกลุ่มก้อนโดยไม่ต้องห่วงว่าจะพลัดหลงกระจัดกระจายเหมือนโดดร่ม จะส่งกลับทหารบาดเจ็บหรือศพก็ได้เพียงบินให้ถึงแล้วโยนใส่ก่อนเชิดหัวขึ้นฉับพลัน ขอเพียงให้มีที่โล่งๆพอดีรัศมีใบพัดก็ลงได้ไม่ยากเย็น
แต่ยุทธวิธีแบบใหม่นี้ใช่ว่าจะไร้ข้อเสีย แรกๆที่ฮิวอี้ถูกนำเข้าสู้รบกับเวียตกงและทหารหลักเวียตนามเหนือ มันได้ผลด้านจิตวิทยาเมื่อข้าศึกหวาดหวั่นจากฝุ่นคลุ้งกระจายและเสียงดังข่มขวัญ แต่หลังจากมีเวียตกงใจกล้าไม่ยอมหลบลงรูแต่หันปากกระบอกอาก้ายิงใส่ ก็รู้ว่ามันไม่ได้อยู่ยงคงกระพันอย่างที่คิดไว้แต่แรก ในการยุทธครั้งหนึ่งที่ตำบลอัป บัค ใกล้กรุงไซ่ง่อน(เมืองหลวงของเวียตนามใต้ขณะนั้น)เมื่อเดือนมกราคม 1963 เฮลิคอปเตอร์แบบH-21จำนวน4ลำและฮิวอี้อีก1ลำถูกยิงตกด้วยกระสุนขนาด7.62ม.ม.ของอาก้าธรรมดา แต่ด้วยความคุ้มค่าทางยุทธการทั้งความสามารถในการลำเลียงทหารและสัมภาระกับราคาที่ไม่แพง มันจึงถูกใช้งานในฐานะเครื่องบินลำเลียงติดปืน”กันชิป”(gunship)จนสิ้นสงครามเวียตนามในปี1975
ภาพเจนตาที่สุดช่วงสิ้นสงครามเวียตนาม คือฮิวอี้จอดบนหลังคาสถานทูตสหรัฐฯกับคนจำนวนมากที่อพยพหนีเวียตนามเหนือเกินเฮลิคอปเตอร์ลำเดียวจะรับไหว และภาพตอนที่มันถูกผลักตกทะเลจากเรือบรรทุกเครื่องบินยู.เอส.เอส.แฮนค็อกเพื่อหลีกทางให้ผู้อพยพ ฉากจบอันตราตรึงของสงครามเวียตนามที่แสดงถึงความล้มเหลวทางการทหารและการเมืองของสหรัฐฯต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประมาณว่าเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้ได้ถูกผลิตทั้งหมดจนถึงสิ้นสุดการผลิตในปี1976มีจำนวนกว่า16,000ลำ ในจำนวนนี้7,000กว่าลำถูกใช้ในสงครามเวียตนาม มีนักบินฮิวอี้เสียชีวิตรวม2,202นายและประมาณ2,500ลำที่สูญเสียไปในสงครามเวียตนามเพียงสงครามเดียว ครึ่งหนึ่งตกจากการสู้รบ ส่วนที่เหลือเกิดจากอุบัติเหตุทั้งเครื่องยนต์ขัดข้องและจากการตัดสินใจผิดพลาดของนักบิน อัตราสูญเสียอันมากของเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้แสดงให้เห็นชัดว่ามันไม่เหมาะจะใช้เข้าต่อตีโดยตรง เว้นแต่จะติดอาวุธไว้เพื่อป้องกันตัว และจากสงครามเวียตนามที่สู้รบกันมาตั้งแต่ปี1965ถึง1975 นาน10ปีนั้น ฮิวอี้ได้เข้าสู่สมรภูมินี้มาแต่ต้นจนกลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของสงครามครั้งนั้นไปแล้ว ปรากฏในภาพยนตร์สงครามเวียตนามอีกหลายเรื่อง เช่นApocalypse Now,Platoon,Green Beret
เพราะไทยเราคือพันธมิตรเหนียวแน่นของสหรัฐที่กอดคอร่วมรบกันมาตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่2 ต่อมาถึงสงครามเกาหลี เมื่อสงครามเวียตนามระเบิดขึ้นและอยู่ใกล้บ้าน จึงไม่พ้นต้องร่วมมือกับสหรัฐโดยปริยายทั้งการให้ใช้เป็นฐานทัพเพื่อส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดเวียตนามเหนือ และการส่งทหารไปร่วมรบเข้าสมรภูมิเคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารอเมริกันและพันธมิตร ฮิวอี้จึงเป็นมรดกตกทอดชิ้นสำคัญที่สหรัฐมอบให้หลังถอนตัวอย่างยับเยินจากสงครามเวียตนาม ส่วนใหญ่ได้จากการส่งมอบเป็นของมือสองและบางส่วนที่จัดหามาเพิ่มเติมจากงบประมาณ พร้อมกับเครื่องบินขับไล่บางแบบเช่นF5ที่ยังมีประจำการอยู่
หากจะนับเวลาที่ประจำการรวมเวลาที่เคยอยู่ในกองทัพสหรัฐ ฮิวอี้มีอายุการใช้งาน40ปีถึงปัจจุบัน ถึงการผลิตเฮลิคอปเตอร์ทั้งลำจะหยุดลงตั้งแต่ปี1976 แต่อะไหล่และชิ้นส่วนต่างๆยังมีให้ทดแทนต่อเนื่อง สายการผลิตที่หยุดลงทำให้ต้องจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใหม่มาทดแทนอย่างUH-60”แบล็คฮอว์ค”จากไซคอร์สกี้ กองทัพสหรัฐฯที่เคยใช้ฮิวอี้อย่างคุ้มค่าตลอดเวลาเกือบ40ปี ได้ปลดประจำการมันเมื่อปี2004แล้วแทนที่ด้วยแบล็คฮอว์คทั้งหมด แต่ฮิวอี้ยังรับใช้กองทัพในชาติอื่นทั่วโลกอยู่จนถึงปัจจุบันรวมทั้งกองทัพไทยซึ่งใช้เฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้อย่างคุ้มค่าในสามเหล่าทัพรวมทั้งตำรวจ ร่วมกับเฮลิคอปเตอร์อย่างCH-47”ชินุค”และอีกหลายแบบที่มีอายุใช้งานนานพอกัน ก่อนจะได้แบล็คฮอว์คจากอเมริกาและคาซาน-แอนแซ็ตจากรัสเซียมาใช้ใหม่สุด โดยเฉพาะแบล็คฮอว์คนั้นกองทัพจะจัดหาให้เต็มจำนวนได้ภายในสิบปี แต่ฮิวอี้ที่ยังบินได้ก็ยังถูกใช้งานอยู่ตลอด
ด้วยสภาพของกองทัพในปัจจุบันที่งบประมาณเป็นปัญหาใหญ่ ไม่เพียงแต่สมรรถนะของเฮลิคอปเตอร์หลักที่เป็นม้าใช้มานานปีอย่างฮิวอี้เท่านั้นที่น่าเป็นห่วง ยุทโธปกรณ์อีกหลายรายการก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน ถึงความสูญเสียหลายครั้งจะไม่ได้มีปัญหาจากความเก่าทรุดโทรมของยุทโธปกรณ์เพียงอย่างเดียว แต่ก็ต้องยอมรับว่าความ”เก่า”นั้นหลีกเลี่ยงการถูกพาดพิงไม่พ้น แม้อุบัติเหตุจะเป็นเรื่องปกติในกองทัพ แต่การเกิดขึ้นบ่อยๆกับอากาศยานแบบเดียวกันคงทำใจให้คิดว่าปกติได้ยาก หรือใครว่าไม่จริง?
เบลล์ เฮลิคอปเตอร์ เท็กซ์ทรอนบริษัทผู้ผลิตอากาศยานคู่แข่งฮิวจ์ แอร์คราฟต์ คือผู้สร้างตำนานของฮิวอี้ขึ้นในปี1955ตามความต้องการของกองทัพบกสหรัฐ ที่ต้องการเฮลิคอปเตอร์ทางธุรการแบบใหม่มาทดแทนแบบเดิมจากรูปแบบสงครามเย็นที่ขยายตัวกลายเป็นการปะทะกันในบางพื้นที่ ความต้องการช่วงชิงความได้เปรียบทำให้ต้องเร่งหาเฮลิคอปเตอร์ใหม่ที่สมรรถนะสูงกว่าในด้านความเร็วและความจุผู้โดยสาร เพื่อส่งทหารลงพื้นที่สู้รบได้เร็วและมากกว่า UH-1จึงถูกพัฒนาจากเฮลิคอปเตอร์พลเรือนเดิมของเบลล์คือ Bell 204 ที่เดิมออกแบบไว้เพื่อใช้งานพ่นยาฆ่าแมลงในไร่ ยกสัมภาระเพื่อขนส่งและอื่นๆรวมถึงงานปราบปรามของตำรวจ
ฮิวอี้ทหารลำแรกจากโต๊ะออกแบบเริ่มบินเมื่อปี1956 มีจุดเด่นที่เห็นได้หลายตำแหน่งเช่นจมูกกลมป้าน ห้องนักบินและห้องโดยสารกว้างขวาง ใบพัดคู่และเสียง”ปั้ดๆๆๆ...”ระหว่างบินที่ทำให้ใครก็ตามทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจฟังรู้แต่ไกลว่ามันกำลังมา เป็นเฮลิคอปเตอร์หนึ่งในไม่กี่แบบที่มีเสียงหนวกหู เพราะขณะบินนั้นใบพัดหลักหมุนแหวกอากาศด้วยความเร็วเท่าเสียงจึงเกิดโซนิกบูมเล็กๆ และจากต้นกำเนิดเดิมที่ไม่ได้ออกแบบไว้เพื่อทำสงครามแต่เพื่อการพานิชย์โดยเฉพาะ แตกต่างจากเฮลิคอปเตอร์รุ่นหลังๆเช่น”แบล็คฮอว์ค”ที่เสียงเครื่องยนต์ค่อยกว่ารวมทั้งไร้เสียงใบพัดฟันอากาศดังลั่นเหมือนฮิวอี้
เหตุที่ฮิวอี้ถูกขึ้นบัญชีนวัตกรรมอากาศยานขณะนั้นเพราะมันแตกต่าง ระหว่างเฮลิคอปเตอร์แบบแรกๆเช่นไซคอร์สกี้ R-4และS-51ใช้เครื่องยนต์ลูกสูบ และในช่วงต้นทศวรรษ1950นั้นเครื่องยนต์เทอร์บีนจะมีใช้ก็เฉพาะในเครื่องบินใบพัดปีกนิ่ง(fixed-wing)เพราะน้ำหนักเบาและให้แรงขับดันสูง เบลล์พัฒนาเฮลิคอปเตอร์ใช้เครื่องยนต์เทอร์บีนสำเร็จในเบลล์47ที่ต่อมาได้รหัสเป็นXH-13F บินครั้งแรกในเดือนตุลาคม 1954 หลังจากความสำเร็จของเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้กองทัพบกได้สั่งให้เบลล์พัฒนาเครื่องยนต์เทอร์บีนรุ่นต่อไปให้เป็นเฮลิคอปเตอร์พยาบาล โดยยังต้องเป็นเครื่องยนต์เทอร์บีนแต่ราคาต้องต่ำกว่าเดิม ผลคือXH-40ที่ต่อมาได้รหัสในแบบพานิชย์ว่าBell 204 บินครั้งแรกเมื่อวันที่22ตุลาคม 1956
เบลล์ยังผลิตเครื่องต้นแบบออกมาอีกในปี 1957เพื่อประเมินผลก่อนจะพัฒนาให้เป็นรุ่นใช้งานจริงในกองทัพ เครื่องทดสอบรุ่นYH-40ขึ้นบินในปี1958 เมื่อพบว่าประสิทธิภาพของเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้สูงเกินกว่าจะใช้แค่ขนคนและยุทโธปกรณ์ เบลล์จึงส่งให้กองทัพบกทดลองใช้งาน ได้ผลเป็นที่น่าพอใจด้วยคำสั่งให้ผลิตเพิ่มเพื่อประเมินผลและทดสอบหลังจากได้รับรายงานอันน่าพอใจจากนักบิน ที่เปรียบเทียบเครื่องยนต์เทอร์บีนของมันแล้วให้สมรรถนะน่าพอใจกว่าเครื่องยนต์ลูกสูบแบบเดิม ทั้งด้านความนุ่มนวล ความเร็วและประหยัดเชื้อเพลิงกว่า
เบลล์ทหารรุ่นแรกคือHU-1Aเข้าประจำการในกองพลส่งทางอากาศที่101 ณ ค่ายลิวอิส วอชิงตันในฐานะอากาศยานทดสอบและประเมินผล ด้วยสภาพของการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังจะระเบิดเป็นสงครามเวียตนาม มีแนวโน้มสูงว่าทหารสหรัฐต้องเข้าไปเกี่ยวข้องและอาจต้องออกรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับพันธมิตร กองทัพบกจึงเร่งให้เบลล์พัฒนาเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้เป็นเครื่องประจำการเพื่อสนองความต้องการด้านยุทธการ จากสมรรถนะอันเป็นที่ประทับใจทหารในค่ายลิวอิสนี่เองที่ทำให้HU-1Aได้ชื่อเล่นว่า”Huey” อันเป็นชื่อเล่นก่อนจะถูกเปลี่ยนรหัสมาเป็นUH-1และมีชื่อเป็นทางการตามชื่อชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกันว่า”Iroquois”(อิโรกัว) ตามระเบียบของกองทัพอเมริกันที่ต้องตั้งชื่อเฮลิคอปเตอร์แบบต่างๆของตนตามชื่อชนเผ่าพื้นเมือง เช่น ซู,อะแพชี่,คายูส,คิโอวา,โคมันชี่ ฯลฯ
HU-1Aเข้าประจำการแล้วก็จริงแต่ยังไม่ได้ถูกใช้งานจริงจังเพราะแค่ใช้ประเมินผล จนกระทั่งเบลล์ออกแบบใบพัดหลักใหม่และขยายห้องโดยสารให้ขนทหารได้14นาย รุ่นประจำการใช้งานจริงนี้จึงถูกเปลี่ยนรหัสใหม่เป็น”UH” เริ่มด้วยUH-1AและUH-1Bตามลำดับ ตามด้วยรุ่นUH-1Cที่เครื่องยนต์แรงกว่าเดิมในปี1962และในปีนั้นเองที่”ฮิวอี้”ได้ออกสมรภูมิเวียตนามเป็นครั้งแรก เริ่มต้นด้วยภารกิจขนส่งสัมภาระและส่งกลับทหารบาดเจ็บ
แต่เมื่อสงครามเวียตนามขยายขอบเขตและทหารอเมริกันต้องออกรบมากขึ้น แทนที่จะเป็นแค่”ที่ปรึกษาทางทหาร”เหมือนที่ตั้งใจไว้เริ่มแรก เฮลิคอปเตอร์ธุรการที่ไม่ได้หุ้มเกราะหรือถูกออกแบบให้สู้รบโดยตรงอย่างฮิวอี้ก็ถูกติดอาวุธ มีเขี้ยวเล็บหลากหลายที่นำมาใช้กับมันทั้งปืนกลM60 ปืนใหญ่อากาศวัลแคนหลายลำกล้องและกระเปาะจรวดอากาศสู่พื้น หรือถ้าหาอะไรไม่ได้ก็ใช้ปืนเล็กยาวทั้งM16และอื่นๆของทหารที่นั่งห้อยขาอยู่ข้างลำตัว เปรียบเทียบกับรถยนต์ฮัมวีในปัจจุบันจะพบว่าคล้ายคลึงกันด้านการใช้งาน ที่ไม่ได้ออกแบบให้เข้าสู่สนามรบโดยตรงแต่แรกแต่ถูกนำมาติดอาวุธ
การส่งทหารลงพื้นที่ด้วยเฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธเป็นยุทธวิธีใหม่ของกองทัพบกสหรัฐฯ ถึงฮิวอี้จะเสียงดังมาแต่ไกลให้ข้าศึกรู้ตัว แต่ข้อดีที่พอหักลบกลบข้อด้อยได้คือมันเร็ว นำทหารเข้าพื้นที่ได้ทีละมากๆเป็นกลุ่มก้อนโดยไม่ต้องห่วงว่าจะพลัดหลงกระจัดกระจายเหมือนโดดร่ม จะส่งกลับทหารบาดเจ็บหรือศพก็ได้เพียงบินให้ถึงแล้วโยนใส่ก่อนเชิดหัวขึ้นฉับพลัน ขอเพียงให้มีที่โล่งๆพอดีรัศมีใบพัดก็ลงได้ไม่ยากเย็น
แต่ยุทธวิธีแบบใหม่นี้ใช่ว่าจะไร้ข้อเสีย แรกๆที่ฮิวอี้ถูกนำเข้าสู้รบกับเวียตกงและทหารหลักเวียตนามเหนือ มันได้ผลด้านจิตวิทยาเมื่อข้าศึกหวาดหวั่นจากฝุ่นคลุ้งกระจายและเสียงดังข่มขวัญ แต่หลังจากมีเวียตกงใจกล้าไม่ยอมหลบลงรูแต่หันปากกระบอกอาก้ายิงใส่ ก็รู้ว่ามันไม่ได้อยู่ยงคงกระพันอย่างที่คิดไว้แต่แรก ในการยุทธครั้งหนึ่งที่ตำบลอัป บัค ใกล้กรุงไซ่ง่อน(เมืองหลวงของเวียตนามใต้ขณะนั้น)เมื่อเดือนมกราคม 1963 เฮลิคอปเตอร์แบบH-21จำนวน4ลำและฮิวอี้อีก1ลำถูกยิงตกด้วยกระสุนขนาด7.62ม.ม.ของอาก้าธรรมดา แต่ด้วยความคุ้มค่าทางยุทธการทั้งความสามารถในการลำเลียงทหารและสัมภาระกับราคาที่ไม่แพง มันจึงถูกใช้งานในฐานะเครื่องบินลำเลียงติดปืน”กันชิป”(gunship)จนสิ้นสงครามเวียตนามในปี1975
ภาพเจนตาที่สุดช่วงสิ้นสงครามเวียตนาม คือฮิวอี้จอดบนหลังคาสถานทูตสหรัฐฯกับคนจำนวนมากที่อพยพหนีเวียตนามเหนือเกินเฮลิคอปเตอร์ลำเดียวจะรับไหว และภาพตอนที่มันถูกผลักตกทะเลจากเรือบรรทุกเครื่องบินยู.เอส.เอส.แฮนค็อกเพื่อหลีกทางให้ผู้อพยพ ฉากจบอันตราตรึงของสงครามเวียตนามที่แสดงถึงความล้มเหลวทางการทหารและการเมืองของสหรัฐฯต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประมาณว่าเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้ได้ถูกผลิตทั้งหมดจนถึงสิ้นสุดการผลิตในปี1976มีจำนวนกว่า16,000ลำ ในจำนวนนี้7,000กว่าลำถูกใช้ในสงครามเวียตนาม มีนักบินฮิวอี้เสียชีวิตรวม2,202นายและประมาณ2,500ลำที่สูญเสียไปในสงครามเวียตนามเพียงสงครามเดียว ครึ่งหนึ่งตกจากการสู้รบ ส่วนที่เหลือเกิดจากอุบัติเหตุทั้งเครื่องยนต์ขัดข้องและจากการตัดสินใจผิดพลาดของนักบิน อัตราสูญเสียอันมากของเฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้แสดงให้เห็นชัดว่ามันไม่เหมาะจะใช้เข้าต่อตีโดยตรง เว้นแต่จะติดอาวุธไว้เพื่อป้องกันตัว และจากสงครามเวียตนามที่สู้รบกันมาตั้งแต่ปี1965ถึง1975 นาน10ปีนั้น ฮิวอี้ได้เข้าสู่สมรภูมินี้มาแต่ต้นจนกลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของสงครามครั้งนั้นไปแล้ว ปรากฏในภาพยนตร์สงครามเวียตนามอีกหลายเรื่อง เช่นApocalypse Now,Platoon,Green Beret
เพราะไทยเราคือพันธมิตรเหนียวแน่นของสหรัฐที่กอดคอร่วมรบกันมาตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่2 ต่อมาถึงสงครามเกาหลี เมื่อสงครามเวียตนามระเบิดขึ้นและอยู่ใกล้บ้าน จึงไม่พ้นต้องร่วมมือกับสหรัฐโดยปริยายทั้งการให้ใช้เป็นฐานทัพเพื่อส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดเวียตนามเหนือ และการส่งทหารไปร่วมรบเข้าสมรภูมิเคียงบ่าเคียงไหล่กับทหารอเมริกันและพันธมิตร ฮิวอี้จึงเป็นมรดกตกทอดชิ้นสำคัญที่สหรัฐมอบให้หลังถอนตัวอย่างยับเยินจากสงครามเวียตนาม ส่วนใหญ่ได้จากการส่งมอบเป็นของมือสองและบางส่วนที่จัดหามาเพิ่มเติมจากงบประมาณ พร้อมกับเครื่องบินขับไล่บางแบบเช่นF5ที่ยังมีประจำการอยู่
หากจะนับเวลาที่ประจำการรวมเวลาที่เคยอยู่ในกองทัพสหรัฐ ฮิวอี้มีอายุการใช้งาน40ปีถึงปัจจุบัน ถึงการผลิตเฮลิคอปเตอร์ทั้งลำจะหยุดลงตั้งแต่ปี1976 แต่อะไหล่และชิ้นส่วนต่างๆยังมีให้ทดแทนต่อเนื่อง สายการผลิตที่หยุดลงทำให้ต้องจัดหาเฮลิคอปเตอร์ใหม่มาทดแทนอย่างUH-60”แบล็คฮอว์ค”จากไซคอร์สกี้ กองทัพสหรัฐฯที่เคยใช้ฮิวอี้อย่างคุ้มค่าตลอดเวลาเกือบ40ปี ได้ปลดประจำการมันเมื่อปี2004แล้วแทนที่ด้วยแบล็คฮอว์คทั้งหมด แต่ฮิวอี้ยังรับใช้กองทัพในชาติอื่นทั่วโลกอยู่จนถึงปัจจุบันรวมทั้งกองทัพไทยซึ่งใช้เฮลิคอปเตอร์รุ่นนี้อย่างคุ้มค่าในสามเหล่าทัพรวมทั้งตำรวจ ร่วมกับเฮลิคอปเตอร์อย่างCH-47”ชินุค”และอีกหลายแบบที่มีอายุใช้งานนานพอกัน ก่อนจะได้แบล็คฮอว์คจากอเมริกาและคาซาน-แอนแซ็ตจากรัสเซียมาใช้ใหม่สุด โดยเฉพาะแบล็คฮอว์คนั้นกองทัพจะจัดหาให้เต็มจำนวนได้ภายในสิบปี แต่ฮิวอี้ที่ยังบินได้ก็ยังถูกใช้งานอยู่ตลอด
ด้วยสภาพของกองทัพในปัจจุบันที่งบประมาณเป็นปัญหาใหญ่ ไม่เพียงแต่สมรรถนะของเฮลิคอปเตอร์หลักที่เป็นม้าใช้มานานปีอย่างฮิวอี้เท่านั้นที่น่าเป็นห่วง ยุทโธปกรณ์อีกหลายรายการก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน ถึงความสูญเสียหลายครั้งจะไม่ได้มีปัญหาจากความเก่าทรุดโทรมของยุทโธปกรณ์เพียงอย่างเดียว แต่ก็ต้องยอมรับว่าความ”เก่า”นั้นหลีกเลี่ยงการถูกพาดพิงไม่พ้น แม้อุบัติเหตุจะเป็นเรื่องปกติในกองทัพ แต่การเกิดขึ้นบ่อยๆกับอากาศยานแบบเดียวกันคงทำใจให้คิดว่าปกติได้ยาก หรือใครว่าไม่จริง?
Ansat นี่มาพร้อมกับ Mi-17 รึปล่าวครับ
ตอบลบแล้ว Ansat นี่ เป็น ฮ. ประเภทไหนครับ เห็นลำตัวเพรียวๆ
คล้ายกับพวกคอบร้า เอามาทำเป็น ฮ.กันชิพได้ไหมครับ
(มีปัญหาอยากถามเยอะแยะเลยครับ ^ ^)
อันซัตเป็นฮ.ลำเลียงครับ ทำกันชิพได้ทั้งนั้นเมื่อติดอาวุธเข้าไป
ตอบลบ