ในเวลานี้เรื่องหนึ่งที่ถูกจับตามองจนขึ้นทำเนียบข่าวฮ็อตประจำวัน คงหนีไม่พ้นเรื่องชายแดนด้านเขมรซึ่งมีเขาพระวิหารเป็นศูนย์กลาง แต่ดูเหมือนจะมีตัวละครเด่นอีกตัวแล้วที่ปรากฏโฉม ไม่ใช่มนุษย์แต่เป็นเครื่องจักรสังหารที่ถูกเรียกว่า”ทุ่นระเบิด”หรือ”mine”(ไมน์)หรือland mineในภาษาอังกฤษ คำเดียวกับที่แปลว่า”เหมือง”อันเป็นต้นกำเนิดของทุ่นระเบิดยุคแรกๆ ซึ่งทหารขุดอุโมงค์เหมือนกับเหมืองเข้าไปใต้ที่มั่นข้าศึกแล้วฝังระเบิดแรงสูงไว้ มันมีต้นกำเนิดในประเทศจีนตั้งแต่ปีค.ศ.1277เมื่อทหารแห่งราชวงศ์ซ่งคิดเอาดินปืนไปฝังไว้เพื่อดักกองทัพมองโกลผู้รุกราน ส่วนในซีกโลกตะวันตกนั้นเปโดร นาวาร์โรนายทหารชาวสเปนเป็นผู้คิดค้นขึ้นในศตวรรษที่16
วัตถุประสงค์ดั้งเดิมของการขุดเหมืองเข้าไปฝังระเบิด ก็เพื่อทำลายทั้งกองทัพและที่ตั้งทางทหารของข้าศึก แต่ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีเจริญขึ้นมนุษย์จึงดัดแปลงทุ่นระเบิดให้ใช้ได้หลากหลาย จะให้ทำลายยานพาหนะหรือสังหารบุคคลก็ได้ แต่จะดีกว่าถ้าไม่สังหารให้ตายเอาแค่พิการ ให้คนข้างหลังอีกมากมายลำบากต้องเลี้ยงดู รัฐต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่ายังชีพเมื่อเหยื่อทุ่นระเบิดทุพลภาพ ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลจึงสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจให้ข้าศึกได้มากในระยะยาว ปัจจุบันนี้ไม่มีการขุดอุโมงค์เหมือนเมื่อเริ่มแรกแล้วแต่ยังใช้คำว่าmineอยู่ และจะทำให้สับสนได้ระหว่างคำว่า”กับระเบิด”และ”ทุ่นระเบิด”
ก่อนจะเข้าถึงเรื่องของทุ่นระเบิดPMN-2ที่กำลังดัง ต้องเข้าใจก่อนว่า”กับระเบิด”กับ”ทุ่นระเบิด”นั้นต่างกัน ถึงจะสังหารบุคคลได้เหมือนกันแต่ทุ่นระเบิดจะถูกผลิตสำเร็จรูปจากโรงงาน ขณะที่กับระเบิดนั้นต้องดัดแปลงเอาจากวัสดุที่มี แต่ทั้งสองอย่างถูกใช้ด้วยวิธีเดียวกันคือฝังแล้วลืม รอให้เหยื่อเดินมาเหยียบ ต่างจาก”ระเบิดดัดแปลง”หรือIED(Improvised Explosive Device)ที่ฝังหรือวางไว้เฉยๆก็ได้ จุดระเบิดด้วยคำสั่งระยะไกลไม่ได้ฝังลืมเหมือนสองประเภทแรก
ตามปกติทุ่นระเบิด(เรียกได้อีกชื่อว่า”ทุ่นระเบิดบก”)จะถูกฝังไว้ตามแนวชายแดนยามสงคราม จุดประสงค์คือเพื่อจำกัดทิศทางการเคลื่อนไหวของข้าศึก ทำหน้าที่คล้ายกับรั้วลวดหนามหรือฟันมังกร(Dragon Teeth แท่งคอนกรีตรูปสี่เหลี่ยมคางหมูวางดักรถถัง)ในสมัยสงครามโลกทั้งสองครั้ง แล้วถูกใช้ต่อมาในสงครามย่อยๆอีกหลายครั้ง ทั้งที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำลายกำลังรบของข้าศึก แต่ภัยแฝงคือเมื่อฝังแล้วลืม อันตรายก็เลยตกอยู่กับทหารฝ่ายตนและพลเรือนตามแนวชายแดน ที่พลาดพลั้งไปเหยียบมันเข้าจนเสียชีวิตหรือพิการ อายุการใช้งานก็นานเป็นสิบๆปี และไม่ได้ฝังกันแค่ลูกสองลูกเป็นพันหรือถึงหลักล้านลูก!
ประมาณว่าในช่วง25ปีระหว่างค.ศ.1968ถึงค.ศ.1993ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลถูกผลิตประมาณ190ล้านลูก ถูกส่งกระจายไปยังที่ต่างๆทั่วโลก ผลกระทบจากยุทธภัณฑ์ชนิดนี้ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจเหลือคณานับ องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนระดับสากลหลายองค์กรจึงรวมตัวกันตั้งโครงการเพื่อรณรงค์ให้เลิกใช้ทุ่นระเบิด เป็นรูปเป็นร่างขึ้นในค.ศ.1992ด้วยชื่อ International Campaign to Ban Landmines มีองค์อุปถัมภ์ที่เรารู้จักกันดีคือเจ้าหญิงไดอานาแห่งเวลส์ ความสำเร็จยิ่งใหญ่ขององค์กรนี้คือทำให้เกิดอนุสัญญาออตตาวาขึ้นได้ในค.ศ.1997 ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อห้ามไม่ให้ผลิต ใช้ เก็บรักษาและเคลื่อนย้ายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล
ผู้ร่วมลงนามและให้สัตยาบรรณในอนุสัญญานี้มีทั้งหมด 158ประเทศรวมทั้งไทยและกัมพูชา โดยเฉพาะประเทศหลังนี้ได้ให้สัตยาบรรณหลังไทย1ปี ให้สัตยาบรรณแล้วก็ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับคือหยุดผลิตและพัฒนาทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ต้องทำลายทุ่นระเบิดที่ตนมีอยู่ให้หมดภายในสี่ปี แต่ยินยอมให้มีทุ่นระเบิดจำนวนจำกัดในครอบครองได้อีก10ปีหลังลงนามในอนุสัญญา โดยถูกตรวจสอบใกล้ชิดเพื่อให้ทหารใช้ฝึกการเก็บกู้ทำลายทุ่นระเบิด ครบ10ปีแล้วห้ามมีไว้ในครอบครองเด็ดขาด และอนุสัญญานี้ไม่ครอบคลุมถึงทุ่นระเบิดทำลายรถถัง ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลเคลมอร์ มุ่งห้ามใช้แค่ทุ่นระเบิด”ฝังสังหารบุคคล”เท่านั้น รัฐบาลไทยได้สิทธิ์เข้าไปเก็บกู้ทำลายทุ่นระเบิดชนิดนี้ในดินแดนเขมรถึงปีค.ศ.2009 ปัญหาจึงไม่เกิดหากเขมรใช้ทุ่นระเบิดเก่าที่ฝังไว้นานแล้ว แต่มามีปัญหาเพราะPMN-2นั้นเป็นทุ่นระเบิดใหม่ถูกฝังหลังจากการลงนามในอนุสัญญาออตตาวาดังกล่าว
PMN-2เป็นทุ่นระเบิดสังหารบุคคลผลิตในรัสเซีย ประเทศซึ่งไม่ได้ลงนามและให้สัตยาบรรณในอนุสัญญาออตตาวา เป็นทุ่นระเบิดรุ่นหลังPMN-1ทั้งสองรุ่นมีชื่อเล่นว่า”แม่ม่ายดำ”(Black Widow) ทุ่นระเบิดขายดีประเภทหนึ่งที่พบมากในเขตสงครามทั่วโลก ทหารอเมริกันคุ้นเคยกับPMN-1ดีในอิรักเพราะได้เก็บกู้ทำลายกันทุกวัน
PMN-1มีอำนาจการทำลายรุนแรงด้วยดินระเบิดจำนวนมากภายใน คุณสมบัติพิเศษของมันคือทำลายเท้าของเหยื่อให้แหลกได้บางส่วนหรือทั้งขา คนที่เหยียบถ้าไม่ตายเพราะเสียเลือดมากก็ต้องถูกตัดขาเหนือเข่า นอกจากขาข้างที่เหยียบแล้วสะเก็ดยังทำลายเนื้อเยื่อของขาอีกข้างได้แหลกไม่แพ้กัน ทางออกเดียวคือต้องตัดขา ขนาดของมันเท่าฝ่ามือเป็นรูปทรงกลมแบนมีแผ่นยางรับแรงกดด้านบน ส่วนPMN-2ที่พบตรงชายแดนไทย-กัมพูชานี้มีเปลือกเป็นพลาสติกป้องกันการกัดกร่อน สีน้ำตาลอมเขียวบางครั้งก็เป็นสีน้ำตาล ภายในบรรจุสารผสมRDXและTNTที่เรารู้จักกันในชื่อคอมโพสิชั่น บี
ความแตกต่างระหว่างPMN-1และPMN-2คือแบบหลังนี้ใช้ฟิวส์ทันสมัยกว่า แผ่นยางรับแรงกดรูปตัว X ของPMN-2ถูกออกแบบให้ตรวจจับและทำลายด้วยวิธีแรงอัดเพื่อจุดระเบิดได้ยาก แต่วิธีเดียวกันนี้จะทำลายPMN-1ได้หมดจดกว่า ไม่เกินจริงเลยหากจะบอกว่าพื้นที่ชายแดนด้านเขมรตั้งแต่ตราด จันทบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ จนถึงศรีสะเกษนั้นมีทุ่นระเบิดวางไว้เป็นล้านลูก และด้วยงบประมาณการเก็บกู้ทำลายลูกละ300-1,000ดอลลาร์กับเวลาที่นานลูกละ1ถึง3ชั่วโมง ไม่มีทางเป็นไปได้เลยว่าจะเก็บได้หมดภายใน10ปี อาจต้องใช้เวลาเป็นร้อยปีด้วยซ้ำหากจะเก็บกันจริงๆ
ประเทศที่ร่วมลงนามในอนุสัญญาออตตาวาเช่นไทยและเขมร ต่างได้รับงบประมาณเพื่อเก็บกู้และทำลายทุ่นระเบิดตามแนวชายแดนจากโครงการแม่ การให้สัตยาบรรณต่ออนุสัญญาย่อมหมายความว่าหลังจากวันนั้นแล้วจะไม่มีทุ่นระเบิดสังหารบุคคลใดๆหลงเหลืออยู่อีกในประเทศ การพบทุ่นระเบิดโดยเฉพาะที่เป็นรุ่นใหม่ สภาพใหม่เหมือนแกะกล่องตรงชายแดนเขมรจึงเป็นการฝ่าฝืนอนุสัญญา ทำให้ในอนาคตเขมรอาจถูกตัดงบประมาณเพื่อเก็บกู้ที่ดูจะกระทบต่อพลเมืองของตนมากที่สุด พลเมืองเขมรในแนวตะเข็บชายแดนคือผู้รับภัยจากทุ่นระเบิดไปแบบเต็มๆ ในเมื่อใช้ทุ่นระเบิดเป็นล่ำเป็นสันอยู่ฝ่ายเดียว
ประมาณว่าพลเมืองเขมร1ใน230คนเป็นคนพิการเพราะทุ่นระเบิดสังหารบุคคล การถูกตัดงบเก็บกู้(ถ้าถูกตัดจริง)จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่แล้วของเขมรให้แย่ลงอีก เพราะมีทุ่นระเบิดกระจายอยู่ทั่วประเทศนับล้านๆลูก เมื่อไม่ปลอดภัยก็ไม่มีใครมาลงทุน นักท่องเที่ยวหดหาย
แม้จะเก็บกู้ยาก แต่ข้อดีของทุ่นระเบิดก็มีสำหรับฝ่ายที่ไม่ได้วาง หวังป้องกันเขตแดนอย่างเดียวโดยไม่รุกรานข้ามชายแดน ในความคิดของผู้ปฏิบัติหน้าที่ มันคือปราการชั้นดีที่จะคอยดักฝ่ายตรงข้ามให้ไม่เคลื่อนที่ได้ว่องไวตามต้องการ เป็นทุ่งสังหารที่เราไม่ต้องลงทุนเพราะเขาวางไว้เองแล้วลืมเองอยู่แล้ว โดยเฉพาะทุ่นระเบิดเก่าๆที่ค้างในพื้นที่ตั้งแต่สมัยคิลลิ่งฟีลด์ตอนเปลี่ยนการปกครองมาเป็นคอมมิวนิสต์ ก่อนจะถึงระบอบของนายฮุนเซ็นคนปัจจุบันนั้นถูกเก็บกู้น้อยมากเพราะขาดบุคลากรและงบประมาณ พลเมืองเขมรถูกระเบิดแขนขาขาดคนแล้วคนเล่าจนรัฐต้องสิ้นเปลืองงบประมาณมหาศาลมารักษา
พิจารณาถึงสถานการณ์ที่เพิ่งเกิด ต้องยอมรับว่าPMN-2เป็นพระเอกที่มาทำให้เขมรหยุดเหิมเกริม หยุดยั่วยุยอมนั่งลงเจรจาตามเดิม หลังจากพยายามยั่วยุให้ไทยเราใช้กำลังเพื่อดึงเราเข้าสู่เกมการเมืองระดับนานาชาติ ซึ่งอาจยืดเยือยาวนานและอาจเสียเปรียบได้หากนโยบายการต่างประเทศไม่ต่อเนื่อง เหตุจากการเมืองภายในประเทศไม่นิ่ง มีการเปลี่ยนรัฐบาลกันหลายครั้ง PMN-2คือหลักฐานชัดเจนเพื่อเอาผิดกับเขมร เป็นหลักฐานฟ้องชาวโลกว่าเขมรเล่นไม่ซื่อ ใช้ยุทธภัณฑ์ฝ่าฝืนอนุสัญญาที่นานาชาติยอมรับ
หลังจากการพบPMN-2ในสถานที่และเวลาที่ไม่ควรอยู่ เขมรได้เปลี่ยนสถานะจากประเทศยากจนที่กำลังจะมีอนาคตไปสู่ตัวร้ายในสายตาชาวโลกเพียงข้ามคืน ระดับการยั่วยุต่อไทยที่ทำท่าจะรุนแรงขึ้นจึงลดลง ยอมรับการเจรจาด้วยสันติมากขึ้น ซึ่งหากผู้นำเขมรไม่สิ้นคิดเรื่องราวต่างๆที่กำลังเป็นปัญหากันอยู่นี้ก็น่าจะจบลงบนโต๊ะเจรจา ทหารและประชากรของทั้งสองประเทศไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ
สิ่งที่ใครๆพากันมองว่าเป็นของเสีย บางครั้งก็มีประโยชน์อย่างคาดไม่ถึง!!
วัตถุประสงค์ดั้งเดิมของการขุดเหมืองเข้าไปฝังระเบิด ก็เพื่อทำลายทั้งกองทัพและที่ตั้งทางทหารของข้าศึก แต่ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีเจริญขึ้นมนุษย์จึงดัดแปลงทุ่นระเบิดให้ใช้ได้หลากหลาย จะให้ทำลายยานพาหนะหรือสังหารบุคคลก็ได้ แต่จะดีกว่าถ้าไม่สังหารให้ตายเอาแค่พิการ ให้คนข้างหลังอีกมากมายลำบากต้องเลี้ยงดู รัฐต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่ายังชีพเมื่อเหยื่อทุ่นระเบิดทุพลภาพ ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลจึงสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจให้ข้าศึกได้มากในระยะยาว ปัจจุบันนี้ไม่มีการขุดอุโมงค์เหมือนเมื่อเริ่มแรกแล้วแต่ยังใช้คำว่าmineอยู่ และจะทำให้สับสนได้ระหว่างคำว่า”กับระเบิด”และ”ทุ่นระเบิด”
ก่อนจะเข้าถึงเรื่องของทุ่นระเบิดPMN-2ที่กำลังดัง ต้องเข้าใจก่อนว่า”กับระเบิด”กับ”ทุ่นระเบิด”นั้นต่างกัน ถึงจะสังหารบุคคลได้เหมือนกันแต่ทุ่นระเบิดจะถูกผลิตสำเร็จรูปจากโรงงาน ขณะที่กับระเบิดนั้นต้องดัดแปลงเอาจากวัสดุที่มี แต่ทั้งสองอย่างถูกใช้ด้วยวิธีเดียวกันคือฝังแล้วลืม รอให้เหยื่อเดินมาเหยียบ ต่างจาก”ระเบิดดัดแปลง”หรือIED(Improvised Explosive Device)ที่ฝังหรือวางไว้เฉยๆก็ได้ จุดระเบิดด้วยคำสั่งระยะไกลไม่ได้ฝังลืมเหมือนสองประเภทแรก
ตามปกติทุ่นระเบิด(เรียกได้อีกชื่อว่า”ทุ่นระเบิดบก”)จะถูกฝังไว้ตามแนวชายแดนยามสงคราม จุดประสงค์คือเพื่อจำกัดทิศทางการเคลื่อนไหวของข้าศึก ทำหน้าที่คล้ายกับรั้วลวดหนามหรือฟันมังกร(Dragon Teeth แท่งคอนกรีตรูปสี่เหลี่ยมคางหมูวางดักรถถัง)ในสมัยสงครามโลกทั้งสองครั้ง แล้วถูกใช้ต่อมาในสงครามย่อยๆอีกหลายครั้ง ทั้งที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำลายกำลังรบของข้าศึก แต่ภัยแฝงคือเมื่อฝังแล้วลืม อันตรายก็เลยตกอยู่กับทหารฝ่ายตนและพลเรือนตามแนวชายแดน ที่พลาดพลั้งไปเหยียบมันเข้าจนเสียชีวิตหรือพิการ อายุการใช้งานก็นานเป็นสิบๆปี และไม่ได้ฝังกันแค่ลูกสองลูกเป็นพันหรือถึงหลักล้านลูก!
ประมาณว่าในช่วง25ปีระหว่างค.ศ.1968ถึงค.ศ.1993ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลถูกผลิตประมาณ190ล้านลูก ถูกส่งกระจายไปยังที่ต่างๆทั่วโลก ผลกระทบจากยุทธภัณฑ์ชนิดนี้ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจเหลือคณานับ องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชนระดับสากลหลายองค์กรจึงรวมตัวกันตั้งโครงการเพื่อรณรงค์ให้เลิกใช้ทุ่นระเบิด เป็นรูปเป็นร่างขึ้นในค.ศ.1992ด้วยชื่อ International Campaign to Ban Landmines มีองค์อุปถัมภ์ที่เรารู้จักกันดีคือเจ้าหญิงไดอานาแห่งเวลส์ ความสำเร็จยิ่งใหญ่ขององค์กรนี้คือทำให้เกิดอนุสัญญาออตตาวาขึ้นได้ในค.ศ.1997 ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อห้ามไม่ให้ผลิต ใช้ เก็บรักษาและเคลื่อนย้ายทุ่นระเบิดสังหารบุคคล
ผู้ร่วมลงนามและให้สัตยาบรรณในอนุสัญญานี้มีทั้งหมด 158ประเทศรวมทั้งไทยและกัมพูชา โดยเฉพาะประเทศหลังนี้ได้ให้สัตยาบรรณหลังไทย1ปี ให้สัตยาบรรณแล้วก็ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับคือหยุดผลิตและพัฒนาทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ต้องทำลายทุ่นระเบิดที่ตนมีอยู่ให้หมดภายในสี่ปี แต่ยินยอมให้มีทุ่นระเบิดจำนวนจำกัดในครอบครองได้อีก10ปีหลังลงนามในอนุสัญญา โดยถูกตรวจสอบใกล้ชิดเพื่อให้ทหารใช้ฝึกการเก็บกู้ทำลายทุ่นระเบิด ครบ10ปีแล้วห้ามมีไว้ในครอบครองเด็ดขาด และอนุสัญญานี้ไม่ครอบคลุมถึงทุ่นระเบิดทำลายรถถัง ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลเคลมอร์ มุ่งห้ามใช้แค่ทุ่นระเบิด”ฝังสังหารบุคคล”เท่านั้น รัฐบาลไทยได้สิทธิ์เข้าไปเก็บกู้ทำลายทุ่นระเบิดชนิดนี้ในดินแดนเขมรถึงปีค.ศ.2009 ปัญหาจึงไม่เกิดหากเขมรใช้ทุ่นระเบิดเก่าที่ฝังไว้นานแล้ว แต่มามีปัญหาเพราะPMN-2นั้นเป็นทุ่นระเบิดใหม่ถูกฝังหลังจากการลงนามในอนุสัญญาออตตาวาดังกล่าว
PMN-2เป็นทุ่นระเบิดสังหารบุคคลผลิตในรัสเซีย ประเทศซึ่งไม่ได้ลงนามและให้สัตยาบรรณในอนุสัญญาออตตาวา เป็นทุ่นระเบิดรุ่นหลังPMN-1ทั้งสองรุ่นมีชื่อเล่นว่า”แม่ม่ายดำ”(Black Widow) ทุ่นระเบิดขายดีประเภทหนึ่งที่พบมากในเขตสงครามทั่วโลก ทหารอเมริกันคุ้นเคยกับPMN-1ดีในอิรักเพราะได้เก็บกู้ทำลายกันทุกวัน
PMN-1มีอำนาจการทำลายรุนแรงด้วยดินระเบิดจำนวนมากภายใน คุณสมบัติพิเศษของมันคือทำลายเท้าของเหยื่อให้แหลกได้บางส่วนหรือทั้งขา คนที่เหยียบถ้าไม่ตายเพราะเสียเลือดมากก็ต้องถูกตัดขาเหนือเข่า นอกจากขาข้างที่เหยียบแล้วสะเก็ดยังทำลายเนื้อเยื่อของขาอีกข้างได้แหลกไม่แพ้กัน ทางออกเดียวคือต้องตัดขา ขนาดของมันเท่าฝ่ามือเป็นรูปทรงกลมแบนมีแผ่นยางรับแรงกดด้านบน ส่วนPMN-2ที่พบตรงชายแดนไทย-กัมพูชานี้มีเปลือกเป็นพลาสติกป้องกันการกัดกร่อน สีน้ำตาลอมเขียวบางครั้งก็เป็นสีน้ำตาล ภายในบรรจุสารผสมRDXและTNTที่เรารู้จักกันในชื่อคอมโพสิชั่น บี
ความแตกต่างระหว่างPMN-1และPMN-2คือแบบหลังนี้ใช้ฟิวส์ทันสมัยกว่า แผ่นยางรับแรงกดรูปตัว X ของPMN-2ถูกออกแบบให้ตรวจจับและทำลายด้วยวิธีแรงอัดเพื่อจุดระเบิดได้ยาก แต่วิธีเดียวกันนี้จะทำลายPMN-1ได้หมดจดกว่า ไม่เกินจริงเลยหากจะบอกว่าพื้นที่ชายแดนด้านเขมรตั้งแต่ตราด จันทบุรี สระแก้ว บุรีรัมย์ จนถึงศรีสะเกษนั้นมีทุ่นระเบิดวางไว้เป็นล้านลูก และด้วยงบประมาณการเก็บกู้ทำลายลูกละ300-1,000ดอลลาร์กับเวลาที่นานลูกละ1ถึง3ชั่วโมง ไม่มีทางเป็นไปได้เลยว่าจะเก็บได้หมดภายใน10ปี อาจต้องใช้เวลาเป็นร้อยปีด้วยซ้ำหากจะเก็บกันจริงๆ
ประเทศที่ร่วมลงนามในอนุสัญญาออตตาวาเช่นไทยและเขมร ต่างได้รับงบประมาณเพื่อเก็บกู้และทำลายทุ่นระเบิดตามแนวชายแดนจากโครงการแม่ การให้สัตยาบรรณต่ออนุสัญญาย่อมหมายความว่าหลังจากวันนั้นแล้วจะไม่มีทุ่นระเบิดสังหารบุคคลใดๆหลงเหลืออยู่อีกในประเทศ การพบทุ่นระเบิดโดยเฉพาะที่เป็นรุ่นใหม่ สภาพใหม่เหมือนแกะกล่องตรงชายแดนเขมรจึงเป็นการฝ่าฝืนอนุสัญญา ทำให้ในอนาคตเขมรอาจถูกตัดงบประมาณเพื่อเก็บกู้ที่ดูจะกระทบต่อพลเมืองของตนมากที่สุด พลเมืองเขมรในแนวตะเข็บชายแดนคือผู้รับภัยจากทุ่นระเบิดไปแบบเต็มๆ ในเมื่อใช้ทุ่นระเบิดเป็นล่ำเป็นสันอยู่ฝ่ายเดียว
ประมาณว่าพลเมืองเขมร1ใน230คนเป็นคนพิการเพราะทุ่นระเบิดสังหารบุคคล การถูกตัดงบเก็บกู้(ถ้าถูกตัดจริง)จะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่แล้วของเขมรให้แย่ลงอีก เพราะมีทุ่นระเบิดกระจายอยู่ทั่วประเทศนับล้านๆลูก เมื่อไม่ปลอดภัยก็ไม่มีใครมาลงทุน นักท่องเที่ยวหดหาย
แม้จะเก็บกู้ยาก แต่ข้อดีของทุ่นระเบิดก็มีสำหรับฝ่ายที่ไม่ได้วาง หวังป้องกันเขตแดนอย่างเดียวโดยไม่รุกรานข้ามชายแดน ในความคิดของผู้ปฏิบัติหน้าที่ มันคือปราการชั้นดีที่จะคอยดักฝ่ายตรงข้ามให้ไม่เคลื่อนที่ได้ว่องไวตามต้องการ เป็นทุ่งสังหารที่เราไม่ต้องลงทุนเพราะเขาวางไว้เองแล้วลืมเองอยู่แล้ว โดยเฉพาะทุ่นระเบิดเก่าๆที่ค้างในพื้นที่ตั้งแต่สมัยคิลลิ่งฟีลด์ตอนเปลี่ยนการปกครองมาเป็นคอมมิวนิสต์ ก่อนจะถึงระบอบของนายฮุนเซ็นคนปัจจุบันนั้นถูกเก็บกู้น้อยมากเพราะขาดบุคลากรและงบประมาณ พลเมืองเขมรถูกระเบิดแขนขาขาดคนแล้วคนเล่าจนรัฐต้องสิ้นเปลืองงบประมาณมหาศาลมารักษา
พิจารณาถึงสถานการณ์ที่เพิ่งเกิด ต้องยอมรับว่าPMN-2เป็นพระเอกที่มาทำให้เขมรหยุดเหิมเกริม หยุดยั่วยุยอมนั่งลงเจรจาตามเดิม หลังจากพยายามยั่วยุให้ไทยเราใช้กำลังเพื่อดึงเราเข้าสู่เกมการเมืองระดับนานาชาติ ซึ่งอาจยืดเยือยาวนานและอาจเสียเปรียบได้หากนโยบายการต่างประเทศไม่ต่อเนื่อง เหตุจากการเมืองภายในประเทศไม่นิ่ง มีการเปลี่ยนรัฐบาลกันหลายครั้ง PMN-2คือหลักฐานชัดเจนเพื่อเอาผิดกับเขมร เป็นหลักฐานฟ้องชาวโลกว่าเขมรเล่นไม่ซื่อ ใช้ยุทธภัณฑ์ฝ่าฝืนอนุสัญญาที่นานาชาติยอมรับ
หลังจากการพบPMN-2ในสถานที่และเวลาที่ไม่ควรอยู่ เขมรได้เปลี่ยนสถานะจากประเทศยากจนที่กำลังจะมีอนาคตไปสู่ตัวร้ายในสายตาชาวโลกเพียงข้ามคืน ระดับการยั่วยุต่อไทยที่ทำท่าจะรุนแรงขึ้นจึงลดลง ยอมรับการเจรจาด้วยสันติมากขึ้น ซึ่งหากผู้นำเขมรไม่สิ้นคิดเรื่องราวต่างๆที่กำลังเป็นปัญหากันอยู่นี้ก็น่าจะจบลงบนโต๊ะเจรจา ทหารและประชากรของทั้งสองประเทศไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ
สิ่งที่ใครๆพากันมองว่าเป็นของเสีย บางครั้งก็มีประโยชน์อย่างคาดไม่ถึง!!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น