แล้ว Gripen ล่ะมาจากไหน? ที่มาคือชื่อของสัตว์ในเทพนิยายยุโรปโบราณ ตัว Griffin(กริฟฟิน)หรือ Griphon(กริฟอน) ในภาษาอังกฤษเป็นสัตว์ครึ่งนกครึ่งสิงโต ตัวเป็นสิงโตแต่มีหน้าตาและปีกเหมือนนกอินทรี งามสง่าและทรงอำนาจ เป็นสัญลักษณ์ของพลังเหนือธรรมชาติ กริปเปนคือตราแผ่นดินประจำจังหวัดโอสเตอร์โกตลันด์ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่บริษัทSAAB(เมืองลินเคอปิงในจังหวัดนั้น)
เปรียบลักษณะของตัว”กริปเปน”กับเครื่องบินขับไล่ ก็คือเครื่องบินรบทวิภารกิจ(multi role aircraft)แบบเดียวกับ F16 พร้อมจะสร้างความวายวอดให้เป้าหมาสยได้ด้วยเขี้ยวเล็บและพละกำลังอันมหาศาลดุจสิงโตติดปีก
ในการออกแบบกริปเปน SAAB ได้แผนแบบไว้มากเพื่อคัดเลือก ในที่สุดก็มาจบที่แบบมีปีกเล็กเพื่อช่วยในการเลี้ยวกลางอากาศ ช่วยยกตัวและเบรกขณะกำลังแล่นขึ้นและร่อนลงเพื่อกินระยะทางน้อยที่สุด ประกอบกับชุดเบรกอัตโนมัติที่จะคำนวณน้ำหนักการกดของผ้าเบรกให้พอดีและปลอดภัย
นอกจากปีกใหญ่และเล็กที่ช่วยด้านการบิน/แล่นขึ้น/ลงจอด ระบบอีเลคทรอนิกส์อากาศยาน(avionics)รูปแบบใหม่ยังช่วยทำให้มันกลายเป็นอากาศยาน”สั่งได้”(programmable) ห้องนักบินถูกสร้างขึ้นตามแนวคิด”ไม่ต้องการ ไม่แสดง” ข้อมูลแสดงเป็นภาพบนจอหน้าที่นั่งนักบิน ลดการติดต่อสื่อสารด้วยวิทยุอันก่อให้เกิดการแผ่คลื่นวิทยุตรวจจับได้ง่าย ลดความเครียดของนักบินในการจดจำข้อมูลมากมาย มาเหลือแค่ภาพปรากฏด้านหน้าซึ่งมีทุกสิ่งที่ต้องการ
นักบินจึงมุ่งปฏิบัติภารกิจและเอาตัวรอดในสภาพสู้รบโดยไม่ต้องพะวงกับข้อมูลมากมายที่รายงานเข้าสู่เครื่องตลอดเวลา กระบวนการลดภาระของนักบินช่วยให้หยั่งรู้เท่าทันสถานการณ์(situation awareness) มีเวลาเพิ่มสำหรับการตัดสินใจทางยุทธวิธี บังคับเครื่องบินและใช้ระบบอาวุธได้เต็มประสิทธิภาพ
กริปเปนบังคับการบินแบบ Fly-by-Wire พื้นบังคับทุกชิ้นถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับเครื่องบินรบชั้นนำของโลก(F16,F18,F22 ฯลฯ) ถึงจะควบคุมด้วยระบบดิจิตอล 3 แชนเนล ก็ยังมีระบบสนับสนุนอนาล็อกพร้อมไว้หากดิจิตอลชำรุด ทำงานแทนกันได้โดยอัตโนมัติ เป็นเครื่องบินที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำสงครามอีเลคทรอนิกส์ด้วยอุปกรณ์ ECM (Electronic Counter Measure)เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน พร้อมเรดาร์ระยะไกล Ericsson PS-50/A แบบ X-band ให้ภาพคมชัดพร้อมระบบต่อต้านการทำสงครามอีเลคทรอนิกส์ ECCM(Electronic Counter- Counter Measure) ตรวจจับได้ทั้งเป้าหมายภาคพื้นดินและผิวน้ำ ใช้สั่งการจรวดนำวิถีพิสัยกลางที่กองทัพอากาศไทยมีแล้วคือ AMRAAM ได้
ความต้องการขยายตลาดยุทโธปกรณ์ทำให้ SAAB ต้องหาทางลดราคาเครื่องและค่าบำรุงรักษาให้ต่ำลง แต่ยังต้องคงมาตรฐานไว้ให้ได้เพื่อสู้กับการแข่งขันในตลาดซึ่งอเมริกาครองอยู่ หนทางหนึ่งคือให้กริปเปนเป็นเครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์ และมีค่าใช้จ่ายปฏิบัติการต่ำกว่าแบบก่อนๆ ค่าใช้จ่ายของกริปเปนมีเพียง 2 ใน 3 ของ JA 37 Viggen เทียบกับ F16 แล้วยิ่งถูกกว่า
ตามสเปค JAS39 ถูกกำหนดให้ขึ้นและลงได้จากรันเวย์กว้างเพียง 9 เมตรยาว 800 เมตร SAAB แก้ปัญหาระยะทางด้วยการขยายขนาดแอร์เบรก(air brake) ใช้พื้นบังคับทั้งหมดเพื่อกดเครื่องบิน ช่วยให้เบรกล้อกดพื้นสนิทจากการกดปีกเล็กลง จนทำหน้าที่เหมือนแอร์เบรกเพื่อหยุดเครื่องบินด้วยระยะสั้นกว่าเครื่องบินขับไล่ทั่วไป
การนำเครื่องขึ้นและลงบนถนนหลวงได้นั้นคือจุดเด่นของกริปเปน อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ของสวีเดน เมื่ออยู่บนพื้นแล้วมันก็สามารถติดอาวุธพร้อมเติมเชื้อเพลิงได้ด้วยเจ้าหน้าที่เพียง 5 นายและรถเพียง 2 คัน(เชื้อเพลิงและอาวุธอย่างละคัน) ไม่ต้องใช้รถยกอาวุธหรืออุปกรณ์พิเศษเพราะอุปกรณ์ติดตั้งมีอยู่แล้วกับเครื่องบิน กระบวนการทั้งติดอาวุธและเติมน้ำมันใช้เวลาเพียง 11 นาทีก่อนขึ้นบินจากตรงนั้น
ด้วยเครื่องยนต์ Volvo Aero RM12 เพียงตัวเดียวที่พัฒนามาจากเครื่องยนต์ของเจเนอรัล อีเลคทริก GE F404 (เครื่องยนต์เดียวกับ F/A18 Hornet ที่ใช้ 2 เครื่อง แต่ปรับเปลี่ยนใบพัด,สันดาปท้าย,ท่อท้ายและอุปกรณ์ปลีกย่อยอื่นๆ ให้เหมาะสมกับเครื่องบินเครื่องยนต์เดียวเช่นกริปเปน) กำลังขับของมันสูงพอที่จะยกทั้งเครื่องบินและอาวุธจากพื้นได้สบายๆ
ระบบอาวุธของกริปเปนตอบสนองได้กว้าง ทั้งจากสหรัฐฯยุโรปและอิสราเอล ปืนใหญ่อากาศใช้กระสุน 27 ม.ม.ของเมาเซอร์(Mauser)จากเยอรมนีควบคุมด้วยเรดาร์ ที่น่าสังเกตคือปืนใหญ่อากาศสหรัฐฯใช้กระสุนเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 ม.ม. รัสเซียใช้ 30 ม.ม. แต่สวีเดนเลือกอยู่ตรงกลางด้วยประสิทธิภาพสูงสุดคือ 27 ม.ม. และเลือกใช้ปืนจากเยอรมนี !
กริปเปนเลือกใช้อาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศได้ทั้ง Rb 74 หรือ AIM-9L ใต้ปีกติดตั้งจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยไกล้ได้เช่น Rb74 และ MICA จนถึง AIM-120AMRAAM,Maverick,DWS 39 ติดตั้ง Rbs-15 เพื่อใช้โจมตีเรือผิวน้ำก็ได้ ระยะยิงคือ 48 ไมล์ทะเลหรือ 90 ก.ม.(ประมาณกรุงเทพฯ-ชลบุรี) ระบบอาวุธดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่กองทัพอากาศไทยมีอยู่แล้ว เท่าที่กล่าวนี้คือบางส่วนของระบบอาวุธที่ใช้กับกริปเปนได้
ยิ่งเทคโนโลยีทันสมัยการทำสงครามยิ่งต้องเร็วขึ้น นักบินที่จะอยู่รอดได้ต้องเข้าสู่กระบวนการทั้ง 4 อย่างรวดเร็วคือ Observe,Orientation,Decide และ Act(รวมเรียกวงรอบแห่งกระบวนการนี้ว่า OODA Loop) ตามแนวความคิดของนาวาอากาศเอกจอห์น บอยด์แห่งสหรัฐฯ ผู้วางทฤษฎีพื้นฐานไว้ว่านักบินที่มองเห็นเป้าได้ก่อน ปรับตัว-ตัดสินใจและใช้อาวุธได้เร็วกว่าย่อมทำลายเป้าหมายได้และอยู่รอด เครื่องบินขับไล่ยุคปัจจุบันจึงพยายามทุกวิถีทาง เพื่อเอื้อให้นักบินดำเนินกระบวนการดังกล่าวเร็วที่สุดเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบ นอกจากสภาพเครื่องบินที่ต้องออกแบบให้ความคล่องตัวสูง ยังต้องมีเครือข่ายการติดต่อสื่อสารเข้ามาสนับสนุน เพื่อสิ่งนี้และประสิทธิภาพในการบัญชาการและควบคุม(Command and Control) รวมทั้งการประสานงานทั้งสี่เหล่า(บก-เรือ-อากาศ-นาวิกฯ)ในกรณีรบร่วม
การจะให้เครื่องบินจำนวนน้อยสามารถประสานงานกันเองและเหล่าทัพอื่น ทำงานเป็นทีมเสมือนมีกำลังมากต้องใช้ระบบการสื่อสารและส่งผ่านข้อมูลทรงประสิทธิภาพ การมาของกริปเปนไม่ได้มาแค่เครื่องบิน 12 ลำและระบบอาวุธ แต่สิ่งที่ติดมาด้วยคือสถานีเครือข่าย 3 สถานีที่จะเชื่อมสัญญาณเข้ากับเครือข่ายเดิม(Link11)ของกองทัพไทย เทคโนโลยีนี้คือการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆได้ทันเวลาจริง(Real Time) ให้แต่ละหน่วยหยั่งรู้เท่าทันสถานการณ์เพื่อให้ปฏิบัติการร่วมสัมฤทธิ์ผล ทั้งหมดรวมเป็น Tactical information Data-link System รับส่งข้อมูลได้ไกล 496 ก.ม. ทั้ง 3 สถานีของกริปเปนรุ่น CและDเชื่อมต่อสัญญาณได้กับเครือข่ายเดิมของไทย และยังรองรับ Link 16 ของนาโตได้ด้วย
ด้วยระบบนี้เครื่องบินจะทำหน้าที่ทั้งตัวรับและแพร่สัญญาณอีกทางหนึ่ง มันรับสัญญาณได้ระหว่างอยู่ในรัศมี และสามารถส่งสัญญาณเข้ามายังสถานีได้เมื่ออยู่บริเวณขอบ เท่ากับเป็นตัวเพิ่มระยะกวาดจับให้สถานีไปด้วย โดยจะรับข้อมูลจากหน่วยบัญชาการและควบคุมตามนี้คือ
- ข้อมูลตำแหน่งอากาศยานและหน่วยภาคพื้นดินฝ่ายเดียวกัน
- ข้อมูลเป้าหมายทางอากาศและภาคพื้นดินของข้าศึก
- ข้อมูลสั่งการหรือเปลี่ยนแปลงภารกิจของอากาศยานเครื่องนั้น
เครื่องบินจึงเปิดเรดาร์เพียงเครื่องเดียวเพื่อลดการแพร่คลื่นให้ถูกตรวจจับ ส่งข้อมูลได้ระหว่างเครื่องบินด้วยกันหรือจากหน่วยภาคพื้นดิน หรือกับเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนในอากาศก็ได้ ทั้งหมดจะรวมกันปรากฏบนจอภาพในห้องนักบิน ด้วยเรดาร์นี้เช่นกันที่จะกวาดจับเป้าแล้วจัดลำดับความสำคัญของเป้าให้กับนักบินในฝูงเพื่อแยกกันต่อตี เข้าสู่กระบวนการOODA Loopเร็วที่สุด การใช้เรดาร์เพียงเครื่องเดียวนอกจากจะลดการแพร่สัญญาณ อุปกรณ์ของเครื่องบินที่เหลือยังสามารถส่งสัญญาณรบกวนเครื่องบินข้าศึกได้ด้วยระหว่างเครื่องบินในฝูงเข้าต่อตีเป้าหมาย
พูดถึงตัวกริปเปน C และ D ทั้ง12 เครื่องพร้อมระบบอาวุธแล้ว ในแพคเกจจากสวีเดนนั้นเราจะได้อะไรบ้าง ที่ได้แน่ๆก็คือ
- สถานี Tactical Information Data-Link 3 สถานี
- ระบบควบคุมและแจ้งเตือนในอากาศ(Airborne Early Warning and Control System) ประกอบด้วยเครื่องบิน SAAB 340 ติดตั้งเรดาร์ Erieye 2 ลำ
- เครื่องบิน SAAB 340 เพื่อใช้ฝึกนักบิน พร้อมดัดแปลงเป็นเครื่องบินทำฝนเทียม 1 ลำ
- ดัดแปลงเครื่องบินลำเลียง C-130 เป็นเครื่องบินเติมน้ำมันกลางอากาศ เพื่อเพิ่มพิสัยบินของกริปเปน
- เชื่อมต่อระบบควบคุมและแจ้งเตือนการป้องกันภัยทางอากาศ(RTADS)ของไทย
โดยเฉพาะระบบแจ้งเตือนในอากาศที่ใช้เครื่องบิน SAAB 340 นั้นถือว่าเป็นของที่อยากได้มานาน รอจัดซื้ออย่างเดียวก็ยังไม่เห็นอนาคต ได้มาพร้อมกับกริปเปนจึงถือว่าเป็นจังหวะที่ดีมากๆ สถานีแจ้งเตือนการป้องกันภัยทางอากาศอาจจะสนองความต้องการได้ในระดับหนึ่ง แต่การมีเครื่องบินแจ้งเตือนจะลดปัญหาได้มากโดยเฉพาะกรณีที่ฝ่ายตรงข้ามบินเกาะภูมิประเทศหลบเรดาร์ การกวาดจับจากเบื้องบนจะลดโอกาสหลุดรอดสัญญาณภาคพื้นดินได้เกือบหมด
ตามข้อมูลระบุว่า Erieye(อีรีอาย) บน SAAB340 เป็นเรดาร์ระบบ Active Phased-Array Pulse-doppler ใหม่กว่าและแม่นกว่าที่ใช้ใน E-2C Hawkeye ของสหรัฐฯ รัศมีใกล้กว่าก็จริงแต่ก็เหมาะสมกับประเทศเล็กๆอย่างไทย ติดตั้งบนเครื่องบินลำเลียงได้หลายแบบไม่จำเป็นต้องใช้ SAAB รัศมีการตรวจจับคือ 450 ก.ม.รอบทิศทาง 360 องศา ในสถานการณ์สงครามอีเลคทรอนิกส์จะลดเหลือ 350 ก.ม. ตรวจสอบเป้าหมายได้ว่าเป็นมิตรหรือศัตรู ตรวจจับได้ทั้งเป้าหมายในทะเลและบนบก ปฏิบัติการและต่อต้านสงครามอีเลคทรอนิกส์ได้ ติดต่อสื่อสารและส่งผ่านข้อมูลผ่าน Data Link รวมทั้งมีระบบป้องกันตนเองและทำงานร่วมกับระบบบัญชาการและควบคุมของนาโตได้
อีกอย่างที่ไม่คิดว่าจะได้ก็คือการดัดแปลงเครื่องบินลำเลียง C-130 ให้เติมน้ำมันกลางอากาศได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มพิสัยบินของเครื่องบินลาดตระเวนออกไปอีก ช่วยให้บินได้นานขึ้นโดยไม่ต้องเสียเวลากลับมาเติมน้ำมันที่ฐานบินเหมือนแต่ก่อนเมื่อรับภารกิจต่อเนื่อง
นอกจากตัวเครื่องบินและระบบต่างๆที่มาพร้อมกัน สิ่งสำคัญที่สุดที่เราไม่เคยได้จากอเมริกาเลยก็คือ Source Code Data เทคโนโลยีสำคัญที่อเมริกาเหนียว ไม่ยอมถ่ายทอด ติดเงื่อนไขหยุมหยิมมากมาย อธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุดสำหรับบุคคลทั่วไปได้ว่าเป็นซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่ง ถ้าเครื่องบินเป็นคอมพิวเตอร์ Source Code Data ก็เป็นเสมือนระบบปฏิบัติการหรือวินโดว์ส เป็นพื้นฐานให้เราอัพเกรดหรือใส่แอพพลิเคชั่นอะไรลงไปก็ได้ แต่ปัญหาใหญ่สำหรับเครื่องบินอเมริกันที่ใช้อยู่ตอนนี้ก็คือเราไม่มี”วินโดว์ส”ของตัวเอง อยากจะติดตั้งอาวุธอะไรใหม่ให้กับF16ก็ต้องขอ Source Code Data จากอเมริกา ยกตัวอย่างเช่นถ้าจะติดอาวุธของอเมริกันเพิ่มก็ต้องทำเรื่องขอไปยังบริษัทผู้ผลิต คนมากมายจะเข้ามาร่วมพิจารณาว่าจะขายอาวุธชิ้นนี้พร้อม Source Code Data ทั้งจากบริษัทผู้ผลิต,รัฐสภา,กระทรวงกลาโหม(เพนทากอน) เพื่อดูว่าสถานภาพของไทยตอนนี้ควรจะติดอาวุธชนิดนี้ได้กี่ชิ้น? ซื้อแล้วจะเอาไปเก็บไว้ที่ไหน? จำเป็นแค่ไหนที่จะซื้อ? ซื้อแล้วจะเอาไปยิงใคร?
ขั้นตอนยังยุ่งยากรุงรังขึ้นไปอีกถ้าอาวุธที่หามาได้ไม่ใช่ของอเมริกา(เรียกว่า Third Party) เพราะเพนทากอนต้องการตรวจสอบ รวมทั้งไทยต้องทำเรื่องขอ Source Code Data ของเครื่องบินลำนี้มาเพื่อติดตั้งอาวุธต่างชาติ ยุ่งหนักกว่าเก่าเพราะต้องตรวจสอบทั้งรัฐสภาสหรัฐฯ เพนทากอน บริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน(ที่เป็นอเมริกัน) บริษัทผู้ผลิตอาวุธ(ที่ไม่ใช่อเมริกัน)และกองทัพอากาศไทย หากพิจารณาแล้วไม่เหมาะสม(อาจเป็นภัยกับสหรัฐฯในอนาคต) เราก็ไม่ได้ Source Code Data มาติดตั้งให้อาวุธตัวนั้น ไร้ซึ่ง Source Code Data เครื่องบินก็เหมือนเศษเหล็ก หรือมีอาวุธดีๆก็ติดไม่ได้
การไม่มี Source Code Data จึงเสมือนตัดหนทางพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้เราต้องพึ่งพาสหรัฐฯตลอดพร้อมกับต้องเสียเงินทุกครั้งเพื่อแลกกับสิ่งนี้
แต่สวีเดนให้ Source Code Data มาพร้อมกับเครื่อง รวมทั้งเงื่อนไขว่าถ้าเราพัฒนาอะไรใหม่ๆได้ เขายินยอมเสียเงินซื้อลิขสิทธิ์เพื่อนำกลับไปพัฒนาเครื่องบินของตัวเอง ! เราจะนำมันไปใช้กับระบบอาวุธใดๆก็ได้ในโลก ไม่ต้องขออนุญาต SAAB รัฐสภาสวีเดนไม่ต้องเข้ามาก้าวก่าย ไม่ต้องตรวจสอบหยุมหยิมอีกมากมาย
ก่อนกองทัพอากาศตกลงปลงใจกับกริปเปนก็มีกระแสว่าต้องการ F16 C/D เพราะเรามี A/Bอยู่แล้วจึงน่าจะได้เครื่องบินตระกูลเดียวกันมาทดแทน แต่ความจริงก็คืออเมริกาให้เราได้แต่ตัวเครื่องไม่มี Source Code Data ติดปลายนวมมาด้วย ไม่มีแพคเกจใดๆ ขอย้ำว่ามีแต่ตัวเครื่องบินจริงๆ ถ้ามีโอกาสเลือกได้เราจะเลือกอะไรระหว่างการได้ของแพงแล้วต้องพึ่งพาเจ้าของแบรนด์ตลอด กับของราคาสูสีแต่มีโอกาสเรียนรู้เพื่อซ่อมแซมและปรับปรุงของให้ดีขึ้นในอนาคตด้วยตัวเอง ยิ่งกว่านั้นเจ้าของแบรนด์ยังพร้อมซื้อลิขสิทธิ์จากเราด้วยถ้าคิดอะไรใหม่ๆได้ ทั้งหมดนี้ยังไม่รวมถึงทุนการศึกษาและพัฒนาอีก 200 ทุนที่กองทัพอากาศจะได้ !
เครื่องบินอีกแบบที่ทำท่าว่าจะมาแรงเพราะราคาต่อลำเมื่อเทียบกันแล้วถูกกว่าก็คือ SU-30 MK เครื่องบินขับไล่โจมตีขนาดใหญ่ของรัสเซีย ตัวเครื่องราคาถูกนั้นจริง แต่ระบบอาวุธเป็นของรัสเซียได้มาจริงคงสร้างปัญหาอีกมากเหมือนประเทศเพื่อนบ้าน เขาใช้เครื่องบินแบบนี้ น่าอิจฉา แต่ปัญหาอะไหล่ก็มาก ลำใหญ่และกินน้ำมันจุ กว่าจะปลดประจำการต้องเปลี่ยนเครื่องยนต์ถึง 6 เครื่อง เสียเงินทองจำนวนมหาศาล เขาจำต้องใช้เพราะหมายตามองหมู่เกาะสแปรดลีย์และต้องดูแลดินแดนของตัวเองอีกฟากของแหลมมาลายู ต้องบินไกล แต่เราล่ะจำเป็นขนาดนั้นเลยหรือ?
ระบบอาวุธรัสเซียของ SU-30 ทำให้ต้องซื้อและสร้างทุกอย่างใหม่หมดเพื่อรองรับ ในเมื่อมันสวมกับระบบอาวุธของอเมริกันเดิมที่เราใช้อยู่ไม่ได้ บินได้ไกลจริงแต่ไม่จำเป็นเลยสำหรับยุทธศาสตร์เน้นป้องกันของไทย เราไม่เคยคิดว่าต้องบินไปถล่มกัวลาลัมเปอร์ของมาเลย์หรือเนปิดอของพม่า ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องบินขนาดนั้น
เท่าที่ผมยกมาทั้งหมดนี้ คือความคิดเห็นตามที่ได้ศึกษาข้อมูลทันทีที่ทราบว่ากองทัพอากาศจัดหายุทโธปกรณ์ใหม่ ถึงไม่ได้เป็นนักบินหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับครอบครัวท่านเหล่านั้นที่เสียชีวิตเพราะเครื่องตก แต่ผมไม่สบายใจเลยเมื่อได้ยินข่าวเครื่องบินตกที่นั่นที่นี่ ถึงปัจจัยแห่งการตกจะมีหลายอย่างแต่คนทั่วไปมักจะโทษความ”เก่า”ของเครื่องบินมากกว่าปัจจัยอื่น และความจริงที่เราปฏิเสธไม่ได้ก็คือเครื่องบินรบของเรามันเก่าจริง เก่าจนเลยเวลาปลดประจำการ สมควรจะปลดประจำการแล้ว จะลากใช้มันไปอีกกี่ปีหรือต้องสังเวยชีวิตนักบินที่ใช้งบประมาณมหาศาลสร้างมาอีกกี่คน? ยังไม่นับชีวิตของมนุษย์ที่ประมาณค่ามิได้และอาจต้องเสียไปอีกเพียงเพราะกองทัพปล่อยปละละเลย ด้วยคำตอบง่ายๆคือ”ไม่มีงบ”
ถ้ามีโอกาสในตอนนี้ก็น่าจะจัดหาของใหม่มาใช้ ทั้งเพื่อทดแทนในสมรรถนะสูงกว่าเดิม และเพื่อเป็นพื้นฐานการพัฒนาเทคโนโลยี จะได้พึ่งพาตัวเองต่อไปในอนาคต
ลองคิดดูว่าถ้าคุณเป็นคนทำงานมีรายได้พออยู่เป็นเดือนๆ รถยนต์เก่าหมดสภาพแต่ต้องใช้มันทำมาหากิน ต้องซื้อรถใหม่ จะเลือกอะไรระหว่างแบรนด์ที่ให้คุณแต่ตัวรถ จะติดล้อแม็กใหม่ก็ต้องโทรถามศูนย์อะไหล่ว่าจะขายให้หรือไม่ ขายให้ได้ก็แค่สองล้อเพราะอีกสองล้อยังดูดีอยู่ วิธีซ่อมบำรุงก็ไม่บอกแถมศูนย์บริการก็ไกล เปรียบเทียบกับอีกแบรนด์ที่ยินดีให้คุณทุกอย่าง นอกจากตัวรถคุณภาพดีเท่ากันแล้วยังแถมจักรยานเสือภูเขากับเสือหมอบให้อีกอย่างละคัน แถมคู่มือซ่อมให้อีกเล่มพร้อมซอฟต์แวร์ แล้วยังมาตั้งศูนย์บริการใกล้บ้านอีก
ลองเปรียบเทียบดูนะครับระหว่างเครื่องบินรบกับรถยนต์ แค่นี้ก็น่าจะเห็นภาพ
และที่อยากจะบอกหลังจากทุกท่านอ่านบทความมาถึงตรงนี้ ก็คือผมไม่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไรกับSAABหรือกริปเปน ถ้าเป็นเครื่องบินรบแบบอื่นที่ดีเหมาะสมกับยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจของเรา ผมก็จะค้นคว้าหาข้อมูลมาบอกเล่าเพื่อความเข้าใจอันถูกต้อง นี่จึงไม่ใช่การเชียร์เพราะชอบหรือเพราะได้รับผลประโยชน์จากใครมา กองทัพอากาศได้ตัดสินใจแล้ว ข้อเขียนของผมจึงสร้างความเปลี่ยนแปลงใดๆมิได้ นอกจากจะให้ความกระจ่างแก่ผู้ข้องใจ สงสัย และต้องการทราบรายละเอียด นั่นคือวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของบทความนี้
เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ
สรศักดิ์ สุบงกช แชมป์รายการ”แฟนพันธุ์แท้”หัวข้อ”เครื่องบินรบ”ปี พ.ศ. 2547 พลเรือนคนแรกที่บินกับเครื่องบินขับไล่ความเร็วเหนือเสียง F16 B ขับโดยนาวาอากาศโทระวิน ถนอมสิงห์ ปัจจุบันยึดอาชีพนักเขียนอิสระ เขียนบทความสารคดีและแปลให้กับสำนักพิมพ์และนิตยสารต่างๆ
เปรียบลักษณะของตัว”กริปเปน”กับเครื่องบินขับไล่ ก็คือเครื่องบินรบทวิภารกิจ(multi role aircraft)แบบเดียวกับ F16 พร้อมจะสร้างความวายวอดให้เป้าหมาสยได้ด้วยเขี้ยวเล็บและพละกำลังอันมหาศาลดุจสิงโตติดปีก
ในการออกแบบกริปเปน SAAB ได้แผนแบบไว้มากเพื่อคัดเลือก ในที่สุดก็มาจบที่แบบมีปีกเล็กเพื่อช่วยในการเลี้ยวกลางอากาศ ช่วยยกตัวและเบรกขณะกำลังแล่นขึ้นและร่อนลงเพื่อกินระยะทางน้อยที่สุด ประกอบกับชุดเบรกอัตโนมัติที่จะคำนวณน้ำหนักการกดของผ้าเบรกให้พอดีและปลอดภัย
นอกจากปีกใหญ่และเล็กที่ช่วยด้านการบิน/แล่นขึ้น/ลงจอด ระบบอีเลคทรอนิกส์อากาศยาน(avionics)รูปแบบใหม่ยังช่วยทำให้มันกลายเป็นอากาศยาน”สั่งได้”(programmable) ห้องนักบินถูกสร้างขึ้นตามแนวคิด”ไม่ต้องการ ไม่แสดง” ข้อมูลแสดงเป็นภาพบนจอหน้าที่นั่งนักบิน ลดการติดต่อสื่อสารด้วยวิทยุอันก่อให้เกิดการแผ่คลื่นวิทยุตรวจจับได้ง่าย ลดความเครียดของนักบินในการจดจำข้อมูลมากมาย มาเหลือแค่ภาพปรากฏด้านหน้าซึ่งมีทุกสิ่งที่ต้องการ
นักบินจึงมุ่งปฏิบัติภารกิจและเอาตัวรอดในสภาพสู้รบโดยไม่ต้องพะวงกับข้อมูลมากมายที่รายงานเข้าสู่เครื่องตลอดเวลา กระบวนการลดภาระของนักบินช่วยให้หยั่งรู้เท่าทันสถานการณ์(situation awareness) มีเวลาเพิ่มสำหรับการตัดสินใจทางยุทธวิธี บังคับเครื่องบินและใช้ระบบอาวุธได้เต็มประสิทธิภาพ
กริปเปนบังคับการบินแบบ Fly-by-Wire พื้นบังคับทุกชิ้นถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับเครื่องบินรบชั้นนำของโลก(F16,F18,F22 ฯลฯ) ถึงจะควบคุมด้วยระบบดิจิตอล 3 แชนเนล ก็ยังมีระบบสนับสนุนอนาล็อกพร้อมไว้หากดิจิตอลชำรุด ทำงานแทนกันได้โดยอัตโนมัติ เป็นเครื่องบินที่ถูกออกแบบมาเพื่อทำสงครามอีเลคทรอนิกส์ด้วยอุปกรณ์ ECM (Electronic Counter Measure)เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน พร้อมเรดาร์ระยะไกล Ericsson PS-50/A แบบ X-band ให้ภาพคมชัดพร้อมระบบต่อต้านการทำสงครามอีเลคทรอนิกส์ ECCM(Electronic Counter- Counter Measure) ตรวจจับได้ทั้งเป้าหมายภาคพื้นดินและผิวน้ำ ใช้สั่งการจรวดนำวิถีพิสัยกลางที่กองทัพอากาศไทยมีแล้วคือ AMRAAM ได้
ความต้องการขยายตลาดยุทโธปกรณ์ทำให้ SAAB ต้องหาทางลดราคาเครื่องและค่าบำรุงรักษาให้ต่ำลง แต่ยังต้องคงมาตรฐานไว้ให้ได้เพื่อสู้กับการแข่งขันในตลาดซึ่งอเมริกาครองอยู่ หนทางหนึ่งคือให้กริปเปนเป็นเครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์ และมีค่าใช้จ่ายปฏิบัติการต่ำกว่าแบบก่อนๆ ค่าใช้จ่ายของกริปเปนมีเพียง 2 ใน 3 ของ JA 37 Viggen เทียบกับ F16 แล้วยิ่งถูกกว่า
ตามสเปค JAS39 ถูกกำหนดให้ขึ้นและลงได้จากรันเวย์กว้างเพียง 9 เมตรยาว 800 เมตร SAAB แก้ปัญหาระยะทางด้วยการขยายขนาดแอร์เบรก(air brake) ใช้พื้นบังคับทั้งหมดเพื่อกดเครื่องบิน ช่วยให้เบรกล้อกดพื้นสนิทจากการกดปีกเล็กลง จนทำหน้าที่เหมือนแอร์เบรกเพื่อหยุดเครื่องบินด้วยระยะสั้นกว่าเครื่องบินขับไล่ทั่วไป
การนำเครื่องขึ้นและลงบนถนนหลวงได้นั้นคือจุดเด่นของกริปเปน อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ของสวีเดน เมื่ออยู่บนพื้นแล้วมันก็สามารถติดอาวุธพร้อมเติมเชื้อเพลิงได้ด้วยเจ้าหน้าที่เพียง 5 นายและรถเพียง 2 คัน(เชื้อเพลิงและอาวุธอย่างละคัน) ไม่ต้องใช้รถยกอาวุธหรืออุปกรณ์พิเศษเพราะอุปกรณ์ติดตั้งมีอยู่แล้วกับเครื่องบิน กระบวนการทั้งติดอาวุธและเติมน้ำมันใช้เวลาเพียง 11 นาทีก่อนขึ้นบินจากตรงนั้น
ด้วยเครื่องยนต์ Volvo Aero RM12 เพียงตัวเดียวที่พัฒนามาจากเครื่องยนต์ของเจเนอรัล อีเลคทริก GE F404 (เครื่องยนต์เดียวกับ F/A18 Hornet ที่ใช้ 2 เครื่อง แต่ปรับเปลี่ยนใบพัด,สันดาปท้าย,ท่อท้ายและอุปกรณ์ปลีกย่อยอื่นๆ ให้เหมาะสมกับเครื่องบินเครื่องยนต์เดียวเช่นกริปเปน) กำลังขับของมันสูงพอที่จะยกทั้งเครื่องบินและอาวุธจากพื้นได้สบายๆ
ระบบอาวุธของกริปเปนตอบสนองได้กว้าง ทั้งจากสหรัฐฯยุโรปและอิสราเอล ปืนใหญ่อากาศใช้กระสุน 27 ม.ม.ของเมาเซอร์(Mauser)จากเยอรมนีควบคุมด้วยเรดาร์ ที่น่าสังเกตคือปืนใหญ่อากาศสหรัฐฯใช้กระสุนเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 ม.ม. รัสเซียใช้ 30 ม.ม. แต่สวีเดนเลือกอยู่ตรงกลางด้วยประสิทธิภาพสูงสุดคือ 27 ม.ม. และเลือกใช้ปืนจากเยอรมนี !
กริปเปนเลือกใช้อาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศได้ทั้ง Rb 74 หรือ AIM-9L ใต้ปีกติดตั้งจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยไกล้ได้เช่น Rb74 และ MICA จนถึง AIM-120AMRAAM,Maverick,DWS 39 ติดตั้ง Rbs-15 เพื่อใช้โจมตีเรือผิวน้ำก็ได้ ระยะยิงคือ 48 ไมล์ทะเลหรือ 90 ก.ม.(ประมาณกรุงเทพฯ-ชลบุรี) ระบบอาวุธดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่กองทัพอากาศไทยมีอยู่แล้ว เท่าที่กล่าวนี้คือบางส่วนของระบบอาวุธที่ใช้กับกริปเปนได้
ยิ่งเทคโนโลยีทันสมัยการทำสงครามยิ่งต้องเร็วขึ้น นักบินที่จะอยู่รอดได้ต้องเข้าสู่กระบวนการทั้ง 4 อย่างรวดเร็วคือ Observe,Orientation,Decide และ Act(รวมเรียกวงรอบแห่งกระบวนการนี้ว่า OODA Loop) ตามแนวความคิดของนาวาอากาศเอกจอห์น บอยด์แห่งสหรัฐฯ ผู้วางทฤษฎีพื้นฐานไว้ว่านักบินที่มองเห็นเป้าได้ก่อน ปรับตัว-ตัดสินใจและใช้อาวุธได้เร็วกว่าย่อมทำลายเป้าหมายได้และอยู่รอด เครื่องบินขับไล่ยุคปัจจุบันจึงพยายามทุกวิถีทาง เพื่อเอื้อให้นักบินดำเนินกระบวนการดังกล่าวเร็วที่สุดเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบ นอกจากสภาพเครื่องบินที่ต้องออกแบบให้ความคล่องตัวสูง ยังต้องมีเครือข่ายการติดต่อสื่อสารเข้ามาสนับสนุน เพื่อสิ่งนี้และประสิทธิภาพในการบัญชาการและควบคุม(Command and Control) รวมทั้งการประสานงานทั้งสี่เหล่า(บก-เรือ-อากาศ-นาวิกฯ)ในกรณีรบร่วม
การจะให้เครื่องบินจำนวนน้อยสามารถประสานงานกันเองและเหล่าทัพอื่น ทำงานเป็นทีมเสมือนมีกำลังมากต้องใช้ระบบการสื่อสารและส่งผ่านข้อมูลทรงประสิทธิภาพ การมาของกริปเปนไม่ได้มาแค่เครื่องบิน 12 ลำและระบบอาวุธ แต่สิ่งที่ติดมาด้วยคือสถานีเครือข่าย 3 สถานีที่จะเชื่อมสัญญาณเข้ากับเครือข่ายเดิม(Link11)ของกองทัพไทย เทคโนโลยีนี้คือการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆได้ทันเวลาจริง(Real Time) ให้แต่ละหน่วยหยั่งรู้เท่าทันสถานการณ์เพื่อให้ปฏิบัติการร่วมสัมฤทธิ์ผล ทั้งหมดรวมเป็น Tactical information Data-link System รับส่งข้อมูลได้ไกล 496 ก.ม. ทั้ง 3 สถานีของกริปเปนรุ่น CและDเชื่อมต่อสัญญาณได้กับเครือข่ายเดิมของไทย และยังรองรับ Link 16 ของนาโตได้ด้วย
ด้วยระบบนี้เครื่องบินจะทำหน้าที่ทั้งตัวรับและแพร่สัญญาณอีกทางหนึ่ง มันรับสัญญาณได้ระหว่างอยู่ในรัศมี และสามารถส่งสัญญาณเข้ามายังสถานีได้เมื่ออยู่บริเวณขอบ เท่ากับเป็นตัวเพิ่มระยะกวาดจับให้สถานีไปด้วย โดยจะรับข้อมูลจากหน่วยบัญชาการและควบคุมตามนี้คือ
- ข้อมูลตำแหน่งอากาศยานและหน่วยภาคพื้นดินฝ่ายเดียวกัน
- ข้อมูลเป้าหมายทางอากาศและภาคพื้นดินของข้าศึก
- ข้อมูลสั่งการหรือเปลี่ยนแปลงภารกิจของอากาศยานเครื่องนั้น
เครื่องบินจึงเปิดเรดาร์เพียงเครื่องเดียวเพื่อลดการแพร่คลื่นให้ถูกตรวจจับ ส่งข้อมูลได้ระหว่างเครื่องบินด้วยกันหรือจากหน่วยภาคพื้นดิน หรือกับเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนในอากาศก็ได้ ทั้งหมดจะรวมกันปรากฏบนจอภาพในห้องนักบิน ด้วยเรดาร์นี้เช่นกันที่จะกวาดจับเป้าแล้วจัดลำดับความสำคัญของเป้าให้กับนักบินในฝูงเพื่อแยกกันต่อตี เข้าสู่กระบวนการOODA Loopเร็วที่สุด การใช้เรดาร์เพียงเครื่องเดียวนอกจากจะลดการแพร่สัญญาณ อุปกรณ์ของเครื่องบินที่เหลือยังสามารถส่งสัญญาณรบกวนเครื่องบินข้าศึกได้ด้วยระหว่างเครื่องบินในฝูงเข้าต่อตีเป้าหมาย
พูดถึงตัวกริปเปน C และ D ทั้ง12 เครื่องพร้อมระบบอาวุธแล้ว ในแพคเกจจากสวีเดนนั้นเราจะได้อะไรบ้าง ที่ได้แน่ๆก็คือ
- สถานี Tactical Information Data-Link 3 สถานี
- ระบบควบคุมและแจ้งเตือนในอากาศ(Airborne Early Warning and Control System) ประกอบด้วยเครื่องบิน SAAB 340 ติดตั้งเรดาร์ Erieye 2 ลำ
- เครื่องบิน SAAB 340 เพื่อใช้ฝึกนักบิน พร้อมดัดแปลงเป็นเครื่องบินทำฝนเทียม 1 ลำ
- ดัดแปลงเครื่องบินลำเลียง C-130 เป็นเครื่องบินเติมน้ำมันกลางอากาศ เพื่อเพิ่มพิสัยบินของกริปเปน
- เชื่อมต่อระบบควบคุมและแจ้งเตือนการป้องกันภัยทางอากาศ(RTADS)ของไทย
โดยเฉพาะระบบแจ้งเตือนในอากาศที่ใช้เครื่องบิน SAAB 340 นั้นถือว่าเป็นของที่อยากได้มานาน รอจัดซื้ออย่างเดียวก็ยังไม่เห็นอนาคต ได้มาพร้อมกับกริปเปนจึงถือว่าเป็นจังหวะที่ดีมากๆ สถานีแจ้งเตือนการป้องกันภัยทางอากาศอาจจะสนองความต้องการได้ในระดับหนึ่ง แต่การมีเครื่องบินแจ้งเตือนจะลดปัญหาได้มากโดยเฉพาะกรณีที่ฝ่ายตรงข้ามบินเกาะภูมิประเทศหลบเรดาร์ การกวาดจับจากเบื้องบนจะลดโอกาสหลุดรอดสัญญาณภาคพื้นดินได้เกือบหมด
ตามข้อมูลระบุว่า Erieye(อีรีอาย) บน SAAB340 เป็นเรดาร์ระบบ Active Phased-Array Pulse-doppler ใหม่กว่าและแม่นกว่าที่ใช้ใน E-2C Hawkeye ของสหรัฐฯ รัศมีใกล้กว่าก็จริงแต่ก็เหมาะสมกับประเทศเล็กๆอย่างไทย ติดตั้งบนเครื่องบินลำเลียงได้หลายแบบไม่จำเป็นต้องใช้ SAAB รัศมีการตรวจจับคือ 450 ก.ม.รอบทิศทาง 360 องศา ในสถานการณ์สงครามอีเลคทรอนิกส์จะลดเหลือ 350 ก.ม. ตรวจสอบเป้าหมายได้ว่าเป็นมิตรหรือศัตรู ตรวจจับได้ทั้งเป้าหมายในทะเลและบนบก ปฏิบัติการและต่อต้านสงครามอีเลคทรอนิกส์ได้ ติดต่อสื่อสารและส่งผ่านข้อมูลผ่าน Data Link รวมทั้งมีระบบป้องกันตนเองและทำงานร่วมกับระบบบัญชาการและควบคุมของนาโตได้
อีกอย่างที่ไม่คิดว่าจะได้ก็คือการดัดแปลงเครื่องบินลำเลียง C-130 ให้เติมน้ำมันกลางอากาศได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มพิสัยบินของเครื่องบินลาดตระเวนออกไปอีก ช่วยให้บินได้นานขึ้นโดยไม่ต้องเสียเวลากลับมาเติมน้ำมันที่ฐานบินเหมือนแต่ก่อนเมื่อรับภารกิจต่อเนื่อง
นอกจากตัวเครื่องบินและระบบต่างๆที่มาพร้อมกัน สิ่งสำคัญที่สุดที่เราไม่เคยได้จากอเมริกาเลยก็คือ Source Code Data เทคโนโลยีสำคัญที่อเมริกาเหนียว ไม่ยอมถ่ายทอด ติดเงื่อนไขหยุมหยิมมากมาย อธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุดสำหรับบุคคลทั่วไปได้ว่าเป็นซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่ง ถ้าเครื่องบินเป็นคอมพิวเตอร์ Source Code Data ก็เป็นเสมือนระบบปฏิบัติการหรือวินโดว์ส เป็นพื้นฐานให้เราอัพเกรดหรือใส่แอพพลิเคชั่นอะไรลงไปก็ได้ แต่ปัญหาใหญ่สำหรับเครื่องบินอเมริกันที่ใช้อยู่ตอนนี้ก็คือเราไม่มี”วินโดว์ส”ของตัวเอง อยากจะติดตั้งอาวุธอะไรใหม่ให้กับF16ก็ต้องขอ Source Code Data จากอเมริกา ยกตัวอย่างเช่นถ้าจะติดอาวุธของอเมริกันเพิ่มก็ต้องทำเรื่องขอไปยังบริษัทผู้ผลิต คนมากมายจะเข้ามาร่วมพิจารณาว่าจะขายอาวุธชิ้นนี้พร้อม Source Code Data ทั้งจากบริษัทผู้ผลิต,รัฐสภา,กระทรวงกลาโหม(เพนทากอน) เพื่อดูว่าสถานภาพของไทยตอนนี้ควรจะติดอาวุธชนิดนี้ได้กี่ชิ้น? ซื้อแล้วจะเอาไปเก็บไว้ที่ไหน? จำเป็นแค่ไหนที่จะซื้อ? ซื้อแล้วจะเอาไปยิงใคร?
ขั้นตอนยังยุ่งยากรุงรังขึ้นไปอีกถ้าอาวุธที่หามาได้ไม่ใช่ของอเมริกา(เรียกว่า Third Party) เพราะเพนทากอนต้องการตรวจสอบ รวมทั้งไทยต้องทำเรื่องขอ Source Code Data ของเครื่องบินลำนี้มาเพื่อติดตั้งอาวุธต่างชาติ ยุ่งหนักกว่าเก่าเพราะต้องตรวจสอบทั้งรัฐสภาสหรัฐฯ เพนทากอน บริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน(ที่เป็นอเมริกัน) บริษัทผู้ผลิตอาวุธ(ที่ไม่ใช่อเมริกัน)และกองทัพอากาศไทย หากพิจารณาแล้วไม่เหมาะสม(อาจเป็นภัยกับสหรัฐฯในอนาคต) เราก็ไม่ได้ Source Code Data มาติดตั้งให้อาวุธตัวนั้น ไร้ซึ่ง Source Code Data เครื่องบินก็เหมือนเศษเหล็ก หรือมีอาวุธดีๆก็ติดไม่ได้
การไม่มี Source Code Data จึงเสมือนตัดหนทางพัฒนาเทคโนโลยี ทำให้เราต้องพึ่งพาสหรัฐฯตลอดพร้อมกับต้องเสียเงินทุกครั้งเพื่อแลกกับสิ่งนี้
แต่สวีเดนให้ Source Code Data มาพร้อมกับเครื่อง รวมทั้งเงื่อนไขว่าถ้าเราพัฒนาอะไรใหม่ๆได้ เขายินยอมเสียเงินซื้อลิขสิทธิ์เพื่อนำกลับไปพัฒนาเครื่องบินของตัวเอง ! เราจะนำมันไปใช้กับระบบอาวุธใดๆก็ได้ในโลก ไม่ต้องขออนุญาต SAAB รัฐสภาสวีเดนไม่ต้องเข้ามาก้าวก่าย ไม่ต้องตรวจสอบหยุมหยิมอีกมากมาย
ก่อนกองทัพอากาศตกลงปลงใจกับกริปเปนก็มีกระแสว่าต้องการ F16 C/D เพราะเรามี A/Bอยู่แล้วจึงน่าจะได้เครื่องบินตระกูลเดียวกันมาทดแทน แต่ความจริงก็คืออเมริกาให้เราได้แต่ตัวเครื่องไม่มี Source Code Data ติดปลายนวมมาด้วย ไม่มีแพคเกจใดๆ ขอย้ำว่ามีแต่ตัวเครื่องบินจริงๆ ถ้ามีโอกาสเลือกได้เราจะเลือกอะไรระหว่างการได้ของแพงแล้วต้องพึ่งพาเจ้าของแบรนด์ตลอด กับของราคาสูสีแต่มีโอกาสเรียนรู้เพื่อซ่อมแซมและปรับปรุงของให้ดีขึ้นในอนาคตด้วยตัวเอง ยิ่งกว่านั้นเจ้าของแบรนด์ยังพร้อมซื้อลิขสิทธิ์จากเราด้วยถ้าคิดอะไรใหม่ๆได้ ทั้งหมดนี้ยังไม่รวมถึงทุนการศึกษาและพัฒนาอีก 200 ทุนที่กองทัพอากาศจะได้ !
เครื่องบินอีกแบบที่ทำท่าว่าจะมาแรงเพราะราคาต่อลำเมื่อเทียบกันแล้วถูกกว่าก็คือ SU-30 MK เครื่องบินขับไล่โจมตีขนาดใหญ่ของรัสเซีย ตัวเครื่องราคาถูกนั้นจริง แต่ระบบอาวุธเป็นของรัสเซียได้มาจริงคงสร้างปัญหาอีกมากเหมือนประเทศเพื่อนบ้าน เขาใช้เครื่องบินแบบนี้ น่าอิจฉา แต่ปัญหาอะไหล่ก็มาก ลำใหญ่และกินน้ำมันจุ กว่าจะปลดประจำการต้องเปลี่ยนเครื่องยนต์ถึง 6 เครื่อง เสียเงินทองจำนวนมหาศาล เขาจำต้องใช้เพราะหมายตามองหมู่เกาะสแปรดลีย์และต้องดูแลดินแดนของตัวเองอีกฟากของแหลมมาลายู ต้องบินไกล แต่เราล่ะจำเป็นขนาดนั้นเลยหรือ?
ระบบอาวุธรัสเซียของ SU-30 ทำให้ต้องซื้อและสร้างทุกอย่างใหม่หมดเพื่อรองรับ ในเมื่อมันสวมกับระบบอาวุธของอเมริกันเดิมที่เราใช้อยู่ไม่ได้ บินได้ไกลจริงแต่ไม่จำเป็นเลยสำหรับยุทธศาสตร์เน้นป้องกันของไทย เราไม่เคยคิดว่าต้องบินไปถล่มกัวลาลัมเปอร์ของมาเลย์หรือเนปิดอของพม่า ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องบินขนาดนั้น
เท่าที่ผมยกมาทั้งหมดนี้ คือความคิดเห็นตามที่ได้ศึกษาข้อมูลทันทีที่ทราบว่ากองทัพอากาศจัดหายุทโธปกรณ์ใหม่ ถึงไม่ได้เป็นนักบินหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับครอบครัวท่านเหล่านั้นที่เสียชีวิตเพราะเครื่องตก แต่ผมไม่สบายใจเลยเมื่อได้ยินข่าวเครื่องบินตกที่นั่นที่นี่ ถึงปัจจัยแห่งการตกจะมีหลายอย่างแต่คนทั่วไปมักจะโทษความ”เก่า”ของเครื่องบินมากกว่าปัจจัยอื่น และความจริงที่เราปฏิเสธไม่ได้ก็คือเครื่องบินรบของเรามันเก่าจริง เก่าจนเลยเวลาปลดประจำการ สมควรจะปลดประจำการแล้ว จะลากใช้มันไปอีกกี่ปีหรือต้องสังเวยชีวิตนักบินที่ใช้งบประมาณมหาศาลสร้างมาอีกกี่คน? ยังไม่นับชีวิตของมนุษย์ที่ประมาณค่ามิได้และอาจต้องเสียไปอีกเพียงเพราะกองทัพปล่อยปละละเลย ด้วยคำตอบง่ายๆคือ”ไม่มีงบ”
ถ้ามีโอกาสในตอนนี้ก็น่าจะจัดหาของใหม่มาใช้ ทั้งเพื่อทดแทนในสมรรถนะสูงกว่าเดิม และเพื่อเป็นพื้นฐานการพัฒนาเทคโนโลยี จะได้พึ่งพาตัวเองต่อไปในอนาคต
ลองคิดดูว่าถ้าคุณเป็นคนทำงานมีรายได้พออยู่เป็นเดือนๆ รถยนต์เก่าหมดสภาพแต่ต้องใช้มันทำมาหากิน ต้องซื้อรถใหม่ จะเลือกอะไรระหว่างแบรนด์ที่ให้คุณแต่ตัวรถ จะติดล้อแม็กใหม่ก็ต้องโทรถามศูนย์อะไหล่ว่าจะขายให้หรือไม่ ขายให้ได้ก็แค่สองล้อเพราะอีกสองล้อยังดูดีอยู่ วิธีซ่อมบำรุงก็ไม่บอกแถมศูนย์บริการก็ไกล เปรียบเทียบกับอีกแบรนด์ที่ยินดีให้คุณทุกอย่าง นอกจากตัวรถคุณภาพดีเท่ากันแล้วยังแถมจักรยานเสือภูเขากับเสือหมอบให้อีกอย่างละคัน แถมคู่มือซ่อมให้อีกเล่มพร้อมซอฟต์แวร์ แล้วยังมาตั้งศูนย์บริการใกล้บ้านอีก
ลองเปรียบเทียบดูนะครับระหว่างเครื่องบินรบกับรถยนต์ แค่นี้ก็น่าจะเห็นภาพ
และที่อยากจะบอกหลังจากทุกท่านอ่านบทความมาถึงตรงนี้ ก็คือผมไม่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไรกับSAABหรือกริปเปน ถ้าเป็นเครื่องบินรบแบบอื่นที่ดีเหมาะสมกับยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจของเรา ผมก็จะค้นคว้าหาข้อมูลมาบอกเล่าเพื่อความเข้าใจอันถูกต้อง นี่จึงไม่ใช่การเชียร์เพราะชอบหรือเพราะได้รับผลประโยชน์จากใครมา กองทัพอากาศได้ตัดสินใจแล้ว ข้อเขียนของผมจึงสร้างความเปลี่ยนแปลงใดๆมิได้ นอกจากจะให้ความกระจ่างแก่ผู้ข้องใจ สงสัย และต้องการทราบรายละเอียด นั่นคือวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของบทความนี้
เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ
สรศักดิ์ สุบงกช แชมป์รายการ”แฟนพันธุ์แท้”หัวข้อ”เครื่องบินรบ”ปี พ.ศ. 2547 พลเรือนคนแรกที่บินกับเครื่องบินขับไล่ความเร็วเหนือเสียง F16 B ขับโดยนาวาอากาศโทระวิน ถนอมสิงห์ ปัจจุบันยึดอาชีพนักเขียนอิสระ เขียนบทความสารคดีและแปลให้กับสำนักพิมพ์และนิตยสารต่างๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น