รถยนต์คือพาหนะที่มนุษย์คุ้นเคยไม่ว่าจะเป็นกิจการพลเรือนหรือทหาร โดยเฉพาะการทหารรถยนต์ถูกนำมาใช้คู่กับเกวียนตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่1 ภารกิจของมันโดดเด่นขึ้นในสงครามโลกครั้งที่2เมื่อกองทัพพึ่งพายานยนต์มากขึ้น เคลื่อนที่เร็วกว่าเดิมทั้งในการรุกรบ,ลาดตระเวนหรือล่าถอย นอกจากรถถังที่ทรงพลานุภาพทั้งการทำลายเป้าหมายและข่มขวัญ รถอีกชนิดที่ถูกใช้งานแพร่หลายไม่แพ้กันคือรถใช้งานทางธุรการ โดยเฉพาะในกองทัพสหรัฐฯซึ่งเข้าสู่สงคราม(หรือบางครั้งก็ก่อสงครามเอง)บ่อยๆ
ภาพเจนตาจากข่าวหรือเอกสารอื่นคือทหารราบกับยานยนต์ เริ่มจากจีป”วิลลี่”ในสงครามโลกครั้งที่2และสงครามเกาหลี ตามด้วยฟอร์ดM151รูปร่างหน้าตาคล้ายกันแต่กว้างและต่ำกว่าในสงครามเวียตนาม และปัจจุบันคือHMMWV(High Mobility Multipurposed Wheeled Vehicle รถปฏิบัติการเอนกประสงค์)หรือในชื่อที่คุ้นเคยคือ”ฮัมวี”(Humvee)ซึ่งกำลังจะกลายเป็นอดีตในอนาคตอันใกล้ เมื่อได้รถแบบใหม่เข้าประจำการแทน
เรื่องราวของฮัมวีเริ่มจากปลายทศวรรษ1970 หลังสหรัฐฯถอนตัวจากเวียตนามและทุกเหล่าทัพต้องการยานยนต์ใช้งานทางธุรการหลังแนวรบมาทดแทนฟอร์ดM151เดิม เน้นหนักที่กองทัพบกซึ่งเป็นกองกำลังหลัก เพราะรูปแบบของสงครามหลังจากนั้น รถยนต์จะเข้ามามีบทบาทมากกว่าเดิมในฐานะรถธุรการเอนกประสงค์ โครงสร้างต้องแข็งแกร่งทนทานต่อสภาพภูมิประเทศอันทารุณ นอกจากใช้เพื่อธุรการและส่งกำลังบำรุงหลังแนวแล้วยังใช้เป็นฐานอาวุธได้ด้วย ทั้งปืนกล,เครื่องยิงลูกระเบิดและเครื่องยิงจรวด เมื่อกองทัพบกสหรัฐฯวางข้อกำหนดยานยนต์ชนิดใหม่ขึ้นในปี1979พร้อมกับชื่อใหม่ว่า High Mobility Multipurposed Wheeled Vehicle ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน บริษัทเอเอ็ม เจเนอรัลจึงเริ่มออกแบบรถยนต์ให้เข้ากับข้อกำหนดนั้น ในระยะไม่ถึงปีก็ได้M998ส่งเข้าทดสอบแข่งขัน
การทดสอบสมรรถนะและพัฒนาแผนแบบดำเนินไปจนถึงปี1981 เอเอ็ม เจเนอรัลชนะประมูลจึงได้สัญญาจากกองทัพบก ให้พัฒนารถต้นแบบและทดสอบจนกว่าจะได้ข้อยุติก่อนส่งมอบให้ใช้งานจริง กิจการทุกอย่างดำเนินมาจนสำเร็จได้สัญญาให้ผลิต”ฮัมวี”รุ่นแรกจำนวน55,000คัน ส่งมอบได้ในปี1985 เข้าสู่สงครามเป็นครั้งแรกในยุทธการ”จัสต์ คอส”เมื่อสหรัฐฯรุกรานปานามาปี1989 หลังจากนั้นมันได้เข้าแทนที่รถเดิมซึ่งเล็กกว่า ในกองทัพสหรัฐฯและชาติพันธมิตรทั่วโลก เป็นกระดูกสันหลังของทหารราบและทหารม้ายานเกราะ เช่นเดียวกับ”จีป วิลลี่”และฟอร์ด M151ม้าใช้รุ่นพี่ เป็นภาพเจนตาชาวโลกจากสงครามอ่าวครั้งแรกในปี1991 ในปฏิบัติการอันล้มเหลวของสหรัฐฯ”แบล็คฮอว์กดาวน์”ปี1993 และสงครามอ่าวครั้งที่2”อิรักเสรี”ในปี2003ถึงปัจจุบัน
แม้จะถูกติดปืนหรือเครื่องยิงจรวดบนหลังคา แต่แท้จริงแล้วฮัมวีไม่ใช่รถรบหุ้มเกราะเช่นรถถังหรือรถหุ้มเกราะล้อยาง วัตถุประสงค์แท้ๆดั้งเดิมของมันคือเป็นรถน้ำหนักเบาใช้งานทางธุรการหลังแนวรบ ด้วยวัตถุประสงค์ไม่ต่างจากยานยนต์รุ่นพี่ดังกล่าว ไม่มีเกราะหรืออุปกรณ์ป้องกันพลประจำรถจากสงครามนิวเคลียร์-เคมี-ชีวภาพ ใช้ปืนเล็กยาวอย่างM16หรือAK47ยิงก็เข้า แต่เพราะความทนทานต่อภูมิประเทศกันดารเป็นเลิศ อัตราการสูญเสียจึงน้อยมากแม้ในสภาพแวดล้อมสุดโหดของทะเลทราย มันได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าไม่พรั่น เกาะติดและสนับสนุนการรบได้ทุกหนแห่ง
การใช้งานในที่กว้างอย่างทะเลทรายไม่มีปัญหา แต่ความสูญเสียกลับสูงเมื่อเข้ามารบในเมือง ตัวอย่างชัดเจนคือเหตุการณ์”แบล็คฮอว์กดาวน์”ที่กรุงโมกาดิสชูเมืองหลวงของโซมาเลีย เมื่อขบวนฮัมวีถูกบีบให้วิ่งผ่านย่านเมืองเต็มไปด้วยจุดซุ่มโจมตี เมื่อมันไม่หุ้มเกราะจึงเสียหายหนักจากคมกระสุนและเครื่องยิงจรวด(RPG) แต่ด้วยความแข็งแกร่งของช่วงล่างจึงเอาตัวรอดมาได้ แม้จะไม่มีเกราะและป้องกันอะไรไม่ได้ แต่แนวโน้มสงครามในปัจจุบันที่เกิดในเมืองมากขึ้นทำให้ฮัมวีถูกนำมาใช้ในรูปแบบนี้บ่อย ทั้งที่แท้จริงแล้วมันไม่ได้เกิดมาเพื่อรบเช่นยานเกราะของทหารราบเลย
หลังจากเหตุการณ์ในโมกาดิสชูและการทำสงครามในเมืองที่นับวันจะถี่ขึ้น กองทัพจึงเร่งปรับปรุงฮัมวีให้ทนทานต่อกระสุนปืนเล็กและปืนกลได้ ฮัมวีรุ่นปรับปรุงมีรหัสเป็นทางการว่าM1114คันแรกออกจากสายการผลิตในปี1996 ถูกใช้งานระยะสั้นๆในแหลมบอลข่านก่อนจะใช้อย่างจริงจังในทะเลทรายตะวันออกกลาง ฮัมวีหุ้มเกราะเหนือกว่าM998เดิมด้วยเครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จ ระบบปรับอากาศใหม่ เสริมความแข็งแกร่งช่วงล่าง ติดเครื่องปรับอากาศ ยิ่งกว่านั้นคือเสริมเกราะให้หนาขึ้นด้วยในส่วนที่นั่งและกระจกกันกระสุน แม้จะปลอดภัยกว่าเดิมจากกระสุนปืนเล็กแต่ข้อเสียคือน้ำหนักมากขึ้น พลประจำรถเจ็บหรือตายหนักกว่าเดิมเมื่อรถเสียศูนย์แหกโค้ง ตามรายงานของกองทัพบกสหรัฐฯในอิรักที่เผยแพร่เมื่อปี2005 หลังจากรับฮัมวีหุ้มเกราะไปใช้ได้ระยะหนึ่ง น้ำหนักเกราะที่มากขึ้นอีกเกือบตันทำให้ซดน้ำมันหนัก แม้จะเสริมความแข็งแรงแล้วแต่ชิ้นส่วนที่รับน้ำหนักก็ยังสึกหรอเร็ว
ปัญหาของกองทัพสหรัฐฯในอิรักคือถูกบีบให้รบในเมือง เจตจำนงดั้งเดิมของมันคือใช้งานหลังแนวรบ เพื่อสังเกตการณ์หรือลาดตระเวนหาข่าวความเร็วสูง ติดอาวุธไว้เพียงเพื่อป้องกันตัว ถึงจะปลอดภัยกว่าจีปเดิมแต่ด้วยสภาพสงครามรบเต็มพื้นที่แบบไร้แนวรบของอิรัก การเอาฮัมวีติดปืนกล.50คาลิเบอร์จึงไม่แตกต่างจากเอาทหารไปขับรถล่อเป้าวัดดวงกับกระสุนและระเบิดแสวงเครื่อง
ช่วงปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบันจึงมีเสียงวิพากษ์ว่ามันถูกใช้งานหลากหลายเกินพอดี ส่วนใหญ่เป็นภารกิจเสี่ยงที่ต้องปกป้องทหารให้มากกว่านี้ ควรจะใช้ยานยนต์ที่ปลอดภัยกว่าให้มากขึ้น เช่นรถเกราะล้อยาง”สไตรเกอร์”,รถเกราะสายพานลำเลียงพล”แบรดลีย์”หรือแม้แต่รถถังหลักM1”เอบรัมส์” อีกแนวความคิดหนึ่งคือเปลี่ยนจากฮัมวีเป็น”รถเกราะป้องกันทุ่นระเบิด”(Mine Resistant Ambush Protected MRAP) เสริมเกราะหนาและกระจกกันกระสุน หน้าตัดท้องรถเป็นรูปตัวVเพื่อเบี่ยงเบนแรงระเบิด
ที่เป็นไปได้มากที่สุดในอนาคตอันใกล้นี้ คือจะมีรถรบพันธุ์ใหม่มาแทนฮัมวีในรูป”รถปฏิบัติการร่วมเบา”(Joint Light Tactical Vehicle JLTV)เพื่อให้เข้ากับการสู้รบปัจจุบันและอนาคต เมื่อยุทธวิธีเปลี่ยนไปยานรบก็ต้องเปลี่ยนตาม คุณสมบัติของJLTVตามที่กองทัพสหรัฐฯวางไว้คือต้องปกป้องทหารได้จากสะเก็ดระเบิด,ต่อต้านแรงอัดจากระเบิดแสวงเครื่อง(IED) มีอุปกรณ์ช่วยรบเป็นเครือข่าย อัตราการอยู่รอดในสนามรบสูง น้ำหนักต้องเบากว่า7ตันครึ่งเพื่อสะดวกแก่การลำเลียงด้วยเครื่องบิน แล่นได้อีกไกลแม้ระบบหล่อเย็นเสียหาย เข้า-ออกได้ง่ายเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน
เมื่อหันมามองกองทัพของเรา 1ใน36ชาติทั่วโลกที่มีฮัมวีประจำการ หากพิจารณาถึงความเหมาะสมทางยุทธวิธี,ภูมิประเทศและเศรษฐกิจ จะพบว่ารถแบบเดียวกันแต่มีความแตกต่างในองค์ประกอบแวดล้อมหลายอย่าง สำคัญที่สุดคือชาติเราไม่ได้ร่ำรวยพอจะปรนนิบัติบำรุงยานรบให้ได้ตามข้อกำหนดจากโรงงานเช่นสหรัฐฯ ด้วยเครื่องยนต์8สูบความจุถึง6,500ซีซี.นั้น ถึงจะใช้น้ำมันดีเซลแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันไม่ใช่แค่”กิน”น้ำมัน ฮัมวีแทบจะยกถังน้ำมัน”อาบ”กันเลยโดยเฉพาะเมื่อเข้าภูมิประเทศ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องมิติที่กว้างถึง2เมตรครึ่ง เปรียบเทียบแล้วเห็นได้ชัดว่ากว้างกว่ารถกระบะขับเคลื่อนสี่ล้ออื่นๆ เมื่อเข้าทางซอยในชนบทจึงกินพื้นที่ถนนมากกว่าครึ่ง
ภาพเจนตาจากข่าวหรือเอกสารอื่นคือทหารราบกับยานยนต์ เริ่มจากจีป”วิลลี่”ในสงครามโลกครั้งที่2และสงครามเกาหลี ตามด้วยฟอร์ดM151รูปร่างหน้าตาคล้ายกันแต่กว้างและต่ำกว่าในสงครามเวียตนาม และปัจจุบันคือHMMWV(High Mobility Multipurposed Wheeled Vehicle รถปฏิบัติการเอนกประสงค์)หรือในชื่อที่คุ้นเคยคือ”ฮัมวี”(Humvee)ซึ่งกำลังจะกลายเป็นอดีตในอนาคตอันใกล้ เมื่อได้รถแบบใหม่เข้าประจำการแทน
เรื่องราวของฮัมวีเริ่มจากปลายทศวรรษ1970 หลังสหรัฐฯถอนตัวจากเวียตนามและทุกเหล่าทัพต้องการยานยนต์ใช้งานทางธุรการหลังแนวรบมาทดแทนฟอร์ดM151เดิม เน้นหนักที่กองทัพบกซึ่งเป็นกองกำลังหลัก เพราะรูปแบบของสงครามหลังจากนั้น รถยนต์จะเข้ามามีบทบาทมากกว่าเดิมในฐานะรถธุรการเอนกประสงค์ โครงสร้างต้องแข็งแกร่งทนทานต่อสภาพภูมิประเทศอันทารุณ นอกจากใช้เพื่อธุรการและส่งกำลังบำรุงหลังแนวแล้วยังใช้เป็นฐานอาวุธได้ด้วย ทั้งปืนกล,เครื่องยิงลูกระเบิดและเครื่องยิงจรวด เมื่อกองทัพบกสหรัฐฯวางข้อกำหนดยานยนต์ชนิดใหม่ขึ้นในปี1979พร้อมกับชื่อใหม่ว่า High Mobility Multipurposed Wheeled Vehicle ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน บริษัทเอเอ็ม เจเนอรัลจึงเริ่มออกแบบรถยนต์ให้เข้ากับข้อกำหนดนั้น ในระยะไม่ถึงปีก็ได้M998ส่งเข้าทดสอบแข่งขัน
การทดสอบสมรรถนะและพัฒนาแผนแบบดำเนินไปจนถึงปี1981 เอเอ็ม เจเนอรัลชนะประมูลจึงได้สัญญาจากกองทัพบก ให้พัฒนารถต้นแบบและทดสอบจนกว่าจะได้ข้อยุติก่อนส่งมอบให้ใช้งานจริง กิจการทุกอย่างดำเนินมาจนสำเร็จได้สัญญาให้ผลิต”ฮัมวี”รุ่นแรกจำนวน55,000คัน ส่งมอบได้ในปี1985 เข้าสู่สงครามเป็นครั้งแรกในยุทธการ”จัสต์ คอส”เมื่อสหรัฐฯรุกรานปานามาปี1989 หลังจากนั้นมันได้เข้าแทนที่รถเดิมซึ่งเล็กกว่า ในกองทัพสหรัฐฯและชาติพันธมิตรทั่วโลก เป็นกระดูกสันหลังของทหารราบและทหารม้ายานเกราะ เช่นเดียวกับ”จีป วิลลี่”และฟอร์ด M151ม้าใช้รุ่นพี่ เป็นภาพเจนตาชาวโลกจากสงครามอ่าวครั้งแรกในปี1991 ในปฏิบัติการอันล้มเหลวของสหรัฐฯ”แบล็คฮอว์กดาวน์”ปี1993 และสงครามอ่าวครั้งที่2”อิรักเสรี”ในปี2003ถึงปัจจุบัน
แม้จะถูกติดปืนหรือเครื่องยิงจรวดบนหลังคา แต่แท้จริงแล้วฮัมวีไม่ใช่รถรบหุ้มเกราะเช่นรถถังหรือรถหุ้มเกราะล้อยาง วัตถุประสงค์แท้ๆดั้งเดิมของมันคือเป็นรถน้ำหนักเบาใช้งานทางธุรการหลังแนวรบ ด้วยวัตถุประสงค์ไม่ต่างจากยานยนต์รุ่นพี่ดังกล่าว ไม่มีเกราะหรืออุปกรณ์ป้องกันพลประจำรถจากสงครามนิวเคลียร์-เคมี-ชีวภาพ ใช้ปืนเล็กยาวอย่างM16หรือAK47ยิงก็เข้า แต่เพราะความทนทานต่อภูมิประเทศกันดารเป็นเลิศ อัตราการสูญเสียจึงน้อยมากแม้ในสภาพแวดล้อมสุดโหดของทะเลทราย มันได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าไม่พรั่น เกาะติดและสนับสนุนการรบได้ทุกหนแห่ง
การใช้งานในที่กว้างอย่างทะเลทรายไม่มีปัญหา แต่ความสูญเสียกลับสูงเมื่อเข้ามารบในเมือง ตัวอย่างชัดเจนคือเหตุการณ์”แบล็คฮอว์กดาวน์”ที่กรุงโมกาดิสชูเมืองหลวงของโซมาเลีย เมื่อขบวนฮัมวีถูกบีบให้วิ่งผ่านย่านเมืองเต็มไปด้วยจุดซุ่มโจมตี เมื่อมันไม่หุ้มเกราะจึงเสียหายหนักจากคมกระสุนและเครื่องยิงจรวด(RPG) แต่ด้วยความแข็งแกร่งของช่วงล่างจึงเอาตัวรอดมาได้ แม้จะไม่มีเกราะและป้องกันอะไรไม่ได้ แต่แนวโน้มสงครามในปัจจุบันที่เกิดในเมืองมากขึ้นทำให้ฮัมวีถูกนำมาใช้ในรูปแบบนี้บ่อย ทั้งที่แท้จริงแล้วมันไม่ได้เกิดมาเพื่อรบเช่นยานเกราะของทหารราบเลย
หลังจากเหตุการณ์ในโมกาดิสชูและการทำสงครามในเมืองที่นับวันจะถี่ขึ้น กองทัพจึงเร่งปรับปรุงฮัมวีให้ทนทานต่อกระสุนปืนเล็กและปืนกลได้ ฮัมวีรุ่นปรับปรุงมีรหัสเป็นทางการว่าM1114คันแรกออกจากสายการผลิตในปี1996 ถูกใช้งานระยะสั้นๆในแหลมบอลข่านก่อนจะใช้อย่างจริงจังในทะเลทรายตะวันออกกลาง ฮัมวีหุ้มเกราะเหนือกว่าM998เดิมด้วยเครื่องยนต์เทอร์โบชาร์จ ระบบปรับอากาศใหม่ เสริมความแข็งแกร่งช่วงล่าง ติดเครื่องปรับอากาศ ยิ่งกว่านั้นคือเสริมเกราะให้หนาขึ้นด้วยในส่วนที่นั่งและกระจกกันกระสุน แม้จะปลอดภัยกว่าเดิมจากกระสุนปืนเล็กแต่ข้อเสียคือน้ำหนักมากขึ้น พลประจำรถเจ็บหรือตายหนักกว่าเดิมเมื่อรถเสียศูนย์แหกโค้ง ตามรายงานของกองทัพบกสหรัฐฯในอิรักที่เผยแพร่เมื่อปี2005 หลังจากรับฮัมวีหุ้มเกราะไปใช้ได้ระยะหนึ่ง น้ำหนักเกราะที่มากขึ้นอีกเกือบตันทำให้ซดน้ำมันหนัก แม้จะเสริมความแข็งแรงแล้วแต่ชิ้นส่วนที่รับน้ำหนักก็ยังสึกหรอเร็ว
ปัญหาของกองทัพสหรัฐฯในอิรักคือถูกบีบให้รบในเมือง เจตจำนงดั้งเดิมของมันคือใช้งานหลังแนวรบ เพื่อสังเกตการณ์หรือลาดตระเวนหาข่าวความเร็วสูง ติดอาวุธไว้เพียงเพื่อป้องกันตัว ถึงจะปลอดภัยกว่าจีปเดิมแต่ด้วยสภาพสงครามรบเต็มพื้นที่แบบไร้แนวรบของอิรัก การเอาฮัมวีติดปืนกล.50คาลิเบอร์จึงไม่แตกต่างจากเอาทหารไปขับรถล่อเป้าวัดดวงกับกระสุนและระเบิดแสวงเครื่อง
ช่วงปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบันจึงมีเสียงวิพากษ์ว่ามันถูกใช้งานหลากหลายเกินพอดี ส่วนใหญ่เป็นภารกิจเสี่ยงที่ต้องปกป้องทหารให้มากกว่านี้ ควรจะใช้ยานยนต์ที่ปลอดภัยกว่าให้มากขึ้น เช่นรถเกราะล้อยาง”สไตรเกอร์”,รถเกราะสายพานลำเลียงพล”แบรดลีย์”หรือแม้แต่รถถังหลักM1”เอบรัมส์” อีกแนวความคิดหนึ่งคือเปลี่ยนจากฮัมวีเป็น”รถเกราะป้องกันทุ่นระเบิด”(Mine Resistant Ambush Protected MRAP) เสริมเกราะหนาและกระจกกันกระสุน หน้าตัดท้องรถเป็นรูปตัวVเพื่อเบี่ยงเบนแรงระเบิด
ที่เป็นไปได้มากที่สุดในอนาคตอันใกล้นี้ คือจะมีรถรบพันธุ์ใหม่มาแทนฮัมวีในรูป”รถปฏิบัติการร่วมเบา”(Joint Light Tactical Vehicle JLTV)เพื่อให้เข้ากับการสู้รบปัจจุบันและอนาคต เมื่อยุทธวิธีเปลี่ยนไปยานรบก็ต้องเปลี่ยนตาม คุณสมบัติของJLTVตามที่กองทัพสหรัฐฯวางไว้คือต้องปกป้องทหารได้จากสะเก็ดระเบิด,ต่อต้านแรงอัดจากระเบิดแสวงเครื่อง(IED) มีอุปกรณ์ช่วยรบเป็นเครือข่าย อัตราการอยู่รอดในสนามรบสูง น้ำหนักต้องเบากว่า7ตันครึ่งเพื่อสะดวกแก่การลำเลียงด้วยเครื่องบิน แล่นได้อีกไกลแม้ระบบหล่อเย็นเสียหาย เข้า-ออกได้ง่ายเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน
เมื่อหันมามองกองทัพของเรา 1ใน36ชาติทั่วโลกที่มีฮัมวีประจำการ หากพิจารณาถึงความเหมาะสมทางยุทธวิธี,ภูมิประเทศและเศรษฐกิจ จะพบว่ารถแบบเดียวกันแต่มีความแตกต่างในองค์ประกอบแวดล้อมหลายอย่าง สำคัญที่สุดคือชาติเราไม่ได้ร่ำรวยพอจะปรนนิบัติบำรุงยานรบให้ได้ตามข้อกำหนดจากโรงงานเช่นสหรัฐฯ ด้วยเครื่องยนต์8สูบความจุถึง6,500ซีซี.นั้น ถึงจะใช้น้ำมันดีเซลแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันไม่ใช่แค่”กิน”น้ำมัน ฮัมวีแทบจะยกถังน้ำมัน”อาบ”กันเลยโดยเฉพาะเมื่อเข้าภูมิประเทศ นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องมิติที่กว้างถึง2เมตรครึ่ง เปรียบเทียบแล้วเห็นได้ชัดว่ากว้างกว่ารถกระบะขับเคลื่อนสี่ล้ออื่นๆ เมื่อเข้าทางซอยในชนบทจึงกินพื้นที่ถนนมากกว่าครึ่ง
อ่านบทความของคุณในมติชนประจำ เลยแวะมาเที่ยวที่ Blog นี้ครับ แต่ไม่เห็นมีเรื่องกระสุน ที่ยิงเสธแดงเลยครับ ฉบับที่ 1554 เขียนเรื่องปืนซุ่มยิง แล้วบอกตอนท้ายว่า ฉบับหน้าจะว่าเรื่องกระสุนแต่ไม่เห็นมีครับ ไงก็อย่าลืมเล่าต่อนะครับ
ตอบลบเรื่องกระสุนเขียนส่งไปแล้วครับ แต่ทางกองบรรณาธิการสลับเอาเรื่องกล้องเล็งซึ่งมาทีหลังลงก่อน รออีกนิดครับอาทิตย์หน้าถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดเขาคงจะลงให้เอง ขอบคุณครับที่สนใจติดตาม
ตอบลบ