อารยธรรมฟากยุโรปและเอเชียมีพัฒนาการในด้านต่างๆเป็นของตนเองเสมือนเหรียญสองด้าน มีหลายสิ่งที่ถูกค้นพบว่าเกิดในเอเชียก่อนแล้วถูกนักเดินทางชาวยุโรปนำกลับไปเผยแพร่ โดยเฉพาะจากประเทศจีนเช่นไอศกรีม ดอกไม้ไฟ...แม้แต่นายพลเจิ้นเหอของจีนก็กำลังเป็นที่ถกเถียงในแวดวงนักประวัติศาสตร์ ว่าน่าจะค้นพบทวีปอเมริกาก่อนคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสหรือไม่ ทั้งนี้ยังรวมถึงนักคิดด้านยุทธศาสตร์ที่จีนมีซุน วูผู้เขียนตำราพิชัยสงคราม The Art of Warไว้เมื่อ500ปีก่อนคริสตกาล และถูกนำมาใช้โดยนักการทหารและนักธุรกิจจนถึงปัจจุบัน
เมื่อพูดถึงวิธีรบและการวางยุทธศาสตร์เพื่อชนะอะไรให้ได้สักอย่าง เรามักจะนึกถึงซุน วูจากจีน แต่ในขณะที่ยุโรปเองที่มีการรบพุ่งในชาติต่างๆจนมาหยุดเอาในศตวรรษที่19นั้นเล่า ใครคือนักยุทธศาสตร์ที่ผู้นำทัพอย่างจักรพรรดินโปเลอ็องแห่งฝรั่งเศส หรือบรรดานายพลรุ่นต่อมาอย่างจอมพลแอร์วิน รอมเมลแห่งเยอรมันยึดถือ? มีอยู่ชื่อหนึ่งที่ปรากฏเด่นคือ”เคลาเซ่อะวิทซ์”
คาร์ล ฟอน เคลาเซ่อะวิทซ์(1กรกฎาคม 1780-16พฤศจิกายน 1831)นักยุทธศาสตร์ชาวพรอยเซน(ปรัสเซีย: รัฐทหารหนึ่งในหลายรัฐก่อนรวมประเทศเป็นเยอรมนี) คือชื่อที่ชาวเอเชียอาจไม่คุ้นเคย แต่สำหรับชาติยุโรปเขาคือยอดนักยุทธศาสตร์ผู้วางแนวคิดด้านการทำสงครามและเศรษฐกิจมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่17 ด้วยตำราพิชัยสงครามฉบับยุโรปในภาษาเยอรมันว่า”ฟอม ครีกเก่อะ”(Vom Kriege)ซึ่งต่อมาถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษคือ On War และถ้อยคำในหนังสือนี้ถูกนำมาอ้างอิงจนถึงปัจจุบัน เทียบเคียงได้กับซุน วูแห่งยุโรป
เคลาเซ่อะวิทซ์เกิดในเมืองบวร์ก ไบ มักเดบวร์กของพรอยเซนในครอบครัวทหารชั้นกลางค่อนข้างยากจน มีพ่อเป็นนายร้อยโทที่ต่อมาได้เกษียนออกมาเป็นข้าราชการกรมสรรพากร ตัวเขาเป็นลูกคนสุดท้องจากทั้งหมดสี่คน สมัครเข้าเป็นทหารในกองทัพของพรอยเซนเมื่ออายุเพียง12ปีด้วยยศเพียงสิบตรี แล้วไต่เต้าระหว่างสงครามอันยาวนานในยุโรปจนดำรงยศสุดท้ายคือพลตรี
ประสบการด้านสงครามของเคลาเซ่อะวิทซ์นั้นมากมาย เพราะเป็นทหารมาตั้งแต่อายุ12และชาติต่างๆในยุโรปช่วงนั้นต่างรบพุ่งกันมิได้หยุดหย่อน ทั้งรบกับชาติอื่นและกับรัฐเยอรมันด้วยกันเองเพื่อช่วงชิงความเป็นใหญ่ โดยเฉพาะสงครามสำคัญคือเมื่อกองทัพพรอยเซนรุกรานฝรั่งเศสระหว่างการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง และในภายหลังยังได้เข้าร่วมรบในสงครามนโปเลียนระหว่างปี1806ถึง1815 แม้จะเริ่มต้นอาชีพทางทหารด้วยยศเพียงสิบตรี แต่ความฉลาดช่างคิดและรักการอ่านได้ทำให้เคลาเซ่อะวิทซ์ศึกษาและถูกเลื่อนยศขึ้นมาได้รวดเร็ว ด้วยวัยเพียง21ปีเขาผ่านการศึกษาทั้งจากโรงเรียนเสนาธิการเยอรมัน วิทยาลัยการทัพบกแห่งกรุงแบร์ลีนและโรงเรียนเสนาธิการแห่งพรอยเซนเมื่อปี1801 ผู้มีอิทธิพลต่อแนวความคิดของเคลาเซ่อะวิทซ์มากคือเอมานูเอล คานต์ นักปรัชญาเยอรมันจากเมืองเคอนิกส์แบร์กในรัฐพรอยเซนยุคก่อนเคลาเซ่อะวิทซ์
ทั้งเคลาเซ่อะวิทซ์กับแฮร์มันน์ ฟอน โบเยนและคาร์ล ฟอน โกรลมันคือกำลังสำคัญของพลเอกแกร์ฮาร์ด ฟอน ชานฮอร์สต์ในการปฏิรูปกองทัพพรอยเซนในปี1807 และปี1814 ระหว่างนั้นได้เกิดสงครามนโปเลียนขึ้นและเคลาเซ่อะวิทซ์ถูกกองทัพฝรั่งเศสจับเป็นเชลย เมื่อนโปเลียนรุกรานพรอยเซนในเดือนตุลาคมปี1806
ในวัย26ปีเคลาเซ่อะวิทซ์เป็นเชลยสงครามหนึ่งใน25,000นายผู้ถูกจับกุมในวันที่กองทัพบกพรอยเซนย่อยยับ พ้นโทษหนึ่งปีหลังจากพรอยเซนและรัฐเยอรมันอื่นตกอยู่ในอำนาจของนโปเลียนแล้ว จึงถูกปล่อยตัวกลับสู่ปิตุภูมิในปี1808เพื่อเร่งฟื้นฟูทั้งกองทัพของพรอยเซนและรัฐ ช่วงนี้เองที่ได้แต่งงานกับหญิงในแวดวงสังคมชั้นสูงและได้เข้าสู่แวดวงของนักคิดและนักปราชญ์ราชบัณฑิตที่มารวมตัวกันอยู่ในกรุงแบร์ลีน
การเขียนตำราพิชัยสงครามของเคลาเซ่อะวิทซ์น่าสนใจตรงที่เขาไม่ได้เน้นความสำคัญที่การสู้รบเท่านั้น แต่ยังวางแนวความคิดไว้ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองด้วย เพราะเมื่อพิจารณาช่วงเวลาที่เป็นทหารในฝ่ายอำนวยการ ซึ่งต้องคิดและวางแผนตลอดการรบครั้งสำคัญๆเพื่อให้กองทัพเยอรมันเอาชนะนโปเลียน ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นนักยุทธศาสตร์ตัวยงรวมทั้งการเกิดร่วมสมัยกับการปฏิวัติฝรั่งเศส เคลาเซ่อะวิทซ์จึงมีแนวความคิดล้ำสมัยและสั่งสมประสบการณ์ด้านการวางแผนไว้มาก โดยเฉพาะแนวความคิดที่ว่ากองทัพคือเครื่องมือของรัฐ ที่ถูกยึดถือเหนียวแน่นในวัฒนธรรมองค์กรของกองทัพเยอรมัน แม้ในภายหลังเมื่อฮิตเลอร์นำชาติเยอรมันเข้าสู่ความย่อยยับตอนปลายสงครามโลกครั้งที่2 บรรดานายพลเยอรมันยังพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า”คำว่า”รัฐประหาร”ไม่มีในพจนานุกรมของกองทัพเยอรมัน”
ถึงแม้เคลาเซ่อะวิทซ์จะถึงแก่กรรมก่อนเขียน”On War”จบ แต่แนวความคิดด้านยุทธศาสตร์และการบริหารจัดการเป็นที่โดนใจนายพลตัวกลั่นของเยอรมันรุ่นต่อมา เช่นเฮลมุธ กราฟ ฟอน โมลต์เค่ผู้นำทัพเยอรมันเข้าสู้รบกับฝรั่งเศสอีกครั้งในสงครามรวมชาติครั้งที่2(สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย)สมัยอัครมหาเสนาบดีออตโต ฟอน บิสมาร์ค คือผู้ศึกษาข้อเขียนของเคลาเซ่อะวิทซ์ทะลุปรุโปร่ง คำพูดอันโด่งดังของเขาคือ”ไม่มีแผนยุทธศาสตร์ใดหลีกเลี่ยงการปะทะกับข้าศึกไปได้” อันหมายความในทางสากลว่าการทำสงครามไม่ว่าจะด้วยอาวุธหรือทางเศรษฐกิจ ต้องมีเป้าหมายแน่ชัด จะชนะสงครามให้ได้ต้องรวบรวมสรรพกำลังทั้งหมดทำลายเป้าหมายนั้นให้สิ้น
เนื้อหาส่วนใหญ่ของOn War เน้นที่ยุทธศาสตร์ การจัดกำลังรบและแนวคิดต่างๆในการวางเค้าโครงเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการทำสงครามเบ็ดเสร็จ มันมีความชัดเจนและถูกยึดถือตั้งแต่เริ่มมาจนถึงสงครามโลกครั้งที่2 ที่ชาติต่างๆจัดทัพเต็มรูปแบบเข้าสู้รบแย่งชิงพื้นที่ มีนักวิชาการบางกลุ่มให้ความเห็นว่าความคิดของเคลาเซ่อะวิทซ์ล้าสมัยเมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคสงครามนิวเคลียร์ในศตวรรษที่20 ที่สหรัฐและโซเวียตกับชาติต่างๆแข่งกันสร้างสมอาวุธนิวเคลียร์ เพราะหากจะขจัดความขัดแย้งด้วยการกดปุ่มยิงขีปนาวุธพิสัยไกลเข้าใส่กัน ก็ไม่จำเป็นต้องวางแผนการรบหรือจัดอัตรากำลังกันให้ยุ่งยาก แต่การณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้นเพราะทั้งที่มีอาวุธร้ายในครอบครองแต่สหรัฐกับโซเวียตกลับไม่ใช้ เลือกใช้สงครามตัวแทน(proxy war)แทนด้วยการแบ่งฝ่ายแล้วให้ชาติที่ตนถือหางเข้าสู้รบแย่งชิงอำนาจกันเอง หลักการของเคลาเซ่อะวิทซ์และOn Warจึงไม่ได้ล้าสมัยตามที่คาดเมื่อการรบด้วยรูปแบบสงครามโลกครั้งที่2ยังมีอยู่ ทั้งในสงครามเกาหลี สงครามยิว-หรับในตะวันออกกลางและอื่นๆที่ประเทศหนึ่งยกกองทัพเข้ายึดพื้นที่ของประเทศคู่สงคราม
นักการทหารทั้งอเมริกันและยุโรปต่างยังยึดถือแนวคิดของเคลาเซ่อะวิทซ์อยู่เมื่อทำสงครามเต็มรูปแบบ แต่ความขัดแย้งระหว่างเวียตนามเหนือและใต้ที่กลายมาเป็นสงครามกองโจรนี้เอง ที่ทำให้นักการทหารโดยเฉพาะฝ่ายอเมริกันต้องทบทวนความคิดกันใหม่ ในเมื่อสงครามเวียตนามไม่ใช่แนวทางของเคลาเซ่อะวิทซ์และสหรัฐกับโซเวียตในเวลานั้นก็แตกต่างจากรัฐเยอรมันและคู่สงครามร่วมสมัยกับเขา ความคิดที่ว่าการกบฏหรือการก่อการร้ายนั้นไม่สามารถปราบปรามให้หมดสิ้นไปได้นั้น ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าถ้าได้ผู้นำเข้มแข็งและผู้ตามร่วมมือกันปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็จะปราบปรามการก่อการร้ายให้สิ้นไปได้ ดังตัวอย่างปรากฏชัดในฟิลิปปินส์ มาเลเชียและเยเมน
ถึงทฤษฎีทางยุทธศาสตร์ของเคลาเซ่อะวิทซ์จะเป็นทฤษฎีคลาสสิก แต่มันยังใหม่และไม่ได้บ่งบอกถึงรายละเอียดลึกซึ้งเท่าตำราพิชัยสงครามของซุน วู เทียบระยะเวลาแล้วถือว่าต่างกันมากระหว่างเกือบสามพันปีของนักยุทธศาสตร์จีนกับสองร้อยปีกว่าของนักยุทธศาสตร์เยอรมัน การจะใช้แนวความคิดของเคลาเซ่อะวิทซ์ให้ได้ผลนั้นผู้ศึกษาต้องอ่านให้ทะลุแล้วเลือกใช้เฉพาะที่เข้ากับภารกิจของตน
เพราะโลกปัจจุบันต่างจากยุคสมัยของเคลาเซ่อะวิทซ์และรูปแบบการสู้รบเปลี่ยนไป จากเดิมที่เน้นการจัดทัพเข้ารบกันมาเป็นการห้ำหั่นกันทางเศรษฐกิจด้วยเครื่องมือทันสมัยเช่นอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ ซึ่งลดได้ทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายแต่สร้างความวอดวายได้รวดเร็วทันใจ หลักคิดของเคลาเซ่อะวิทซ์จึงต้องถูกปรับใช้ให้ผสมผสานกลมกลืนกับสถานการณ์ในแต่ละประเทศ
สำหรับประเทศไทยเราคงไม่ต้องไปไกลถึงขนาดเอาตำราของซุน วูหรือเคลาเซ่อะวิทซ์มาบรรจุหลักสูตรมัธยม ด้วยมาตรฐานที่เคยมีสื่อต่างชาติมาวิจัยไว้ว่าคนไทยอ่านหนังสือได้คนละแค่7บรรทัดต่อปี นี่คือปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข เพราะการเรียนรู้ตลอดชีพแม้ไม่ได้อยู่ในห้องเรียนคือเครื่องเพิ่มพูนสติปัญญาที่ดีที่สุด ยิ่งอ่านมากก็ยิ่งรู้มากเพราะได้นำเอาความรู้ที่ได้รับมาสังเคราะห์เป็นความรู้ของตัวเอง สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยเหตุผลไม่ใช่ด้วยกระแสพาไปเมื่อต้องการตัดสินว่าสิ่งใดถูกหรือผิด คาร์ล ฟอน เคลาเซ่อะวิทซ์ไต่จากสิบตรีมาสู่พลตรีได้และวางแนวความคิดให้นักยุทธศาสตร์,นักธุรกิจยึดถือมาได้ถึงปัจจุบันเพราะเขาสนใจใฝ่รู้ เป็นนักอ่านและคิดเรียงลำดับเหตุผลเป็นหลักการที่แย้งได้ยาก
ในภาวะที่การแข่งขันทางเศรษฐกิจโลกเป็นไปอย่างดุดันเหี้ยมเกรียม การรู้เท่าทันเกมเป็นสิ่งสำคัญและไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับการติดอาวุธทางปัญญาให้คนในชาติ ถ้าประชาชนไม่ใส่ใจในความรู้ คิดเองไม่เป็นเอาแต่เฮตามกระแส อ่านตำราพิชัยสงครามไปเป็นร้อยเล่มก็คงไร้ประโยชน์
เมื่อพูดถึงวิธีรบและการวางยุทธศาสตร์เพื่อชนะอะไรให้ได้สักอย่าง เรามักจะนึกถึงซุน วูจากจีน แต่ในขณะที่ยุโรปเองที่มีการรบพุ่งในชาติต่างๆจนมาหยุดเอาในศตวรรษที่19นั้นเล่า ใครคือนักยุทธศาสตร์ที่ผู้นำทัพอย่างจักรพรรดินโปเลอ็องแห่งฝรั่งเศส หรือบรรดานายพลรุ่นต่อมาอย่างจอมพลแอร์วิน รอมเมลแห่งเยอรมันยึดถือ? มีอยู่ชื่อหนึ่งที่ปรากฏเด่นคือ”เคลาเซ่อะวิทซ์”
คาร์ล ฟอน เคลาเซ่อะวิทซ์(1กรกฎาคม 1780-16พฤศจิกายน 1831)นักยุทธศาสตร์ชาวพรอยเซน(ปรัสเซีย: รัฐทหารหนึ่งในหลายรัฐก่อนรวมประเทศเป็นเยอรมนี) คือชื่อที่ชาวเอเชียอาจไม่คุ้นเคย แต่สำหรับชาติยุโรปเขาคือยอดนักยุทธศาสตร์ผู้วางแนวคิดด้านการทำสงครามและเศรษฐกิจมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่17 ด้วยตำราพิชัยสงครามฉบับยุโรปในภาษาเยอรมันว่า”ฟอม ครีกเก่อะ”(Vom Kriege)ซึ่งต่อมาถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษคือ On War และถ้อยคำในหนังสือนี้ถูกนำมาอ้างอิงจนถึงปัจจุบัน เทียบเคียงได้กับซุน วูแห่งยุโรป
เคลาเซ่อะวิทซ์เกิดในเมืองบวร์ก ไบ มักเดบวร์กของพรอยเซนในครอบครัวทหารชั้นกลางค่อนข้างยากจน มีพ่อเป็นนายร้อยโทที่ต่อมาได้เกษียนออกมาเป็นข้าราชการกรมสรรพากร ตัวเขาเป็นลูกคนสุดท้องจากทั้งหมดสี่คน สมัครเข้าเป็นทหารในกองทัพของพรอยเซนเมื่ออายุเพียง12ปีด้วยยศเพียงสิบตรี แล้วไต่เต้าระหว่างสงครามอันยาวนานในยุโรปจนดำรงยศสุดท้ายคือพลตรี
ประสบการด้านสงครามของเคลาเซ่อะวิทซ์นั้นมากมาย เพราะเป็นทหารมาตั้งแต่อายุ12และชาติต่างๆในยุโรปช่วงนั้นต่างรบพุ่งกันมิได้หยุดหย่อน ทั้งรบกับชาติอื่นและกับรัฐเยอรมันด้วยกันเองเพื่อช่วงชิงความเป็นใหญ่ โดยเฉพาะสงครามสำคัญคือเมื่อกองทัพพรอยเซนรุกรานฝรั่งเศสระหว่างการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง และในภายหลังยังได้เข้าร่วมรบในสงครามนโปเลียนระหว่างปี1806ถึง1815 แม้จะเริ่มต้นอาชีพทางทหารด้วยยศเพียงสิบตรี แต่ความฉลาดช่างคิดและรักการอ่านได้ทำให้เคลาเซ่อะวิทซ์ศึกษาและถูกเลื่อนยศขึ้นมาได้รวดเร็ว ด้วยวัยเพียง21ปีเขาผ่านการศึกษาทั้งจากโรงเรียนเสนาธิการเยอรมัน วิทยาลัยการทัพบกแห่งกรุงแบร์ลีนและโรงเรียนเสนาธิการแห่งพรอยเซนเมื่อปี1801 ผู้มีอิทธิพลต่อแนวความคิดของเคลาเซ่อะวิทซ์มากคือเอมานูเอล คานต์ นักปรัชญาเยอรมันจากเมืองเคอนิกส์แบร์กในรัฐพรอยเซนยุคก่อนเคลาเซ่อะวิทซ์
ทั้งเคลาเซ่อะวิทซ์กับแฮร์มันน์ ฟอน โบเยนและคาร์ล ฟอน โกรลมันคือกำลังสำคัญของพลเอกแกร์ฮาร์ด ฟอน ชานฮอร์สต์ในการปฏิรูปกองทัพพรอยเซนในปี1807 และปี1814 ระหว่างนั้นได้เกิดสงครามนโปเลียนขึ้นและเคลาเซ่อะวิทซ์ถูกกองทัพฝรั่งเศสจับเป็นเชลย เมื่อนโปเลียนรุกรานพรอยเซนในเดือนตุลาคมปี1806
ในวัย26ปีเคลาเซ่อะวิทซ์เป็นเชลยสงครามหนึ่งใน25,000นายผู้ถูกจับกุมในวันที่กองทัพบกพรอยเซนย่อยยับ พ้นโทษหนึ่งปีหลังจากพรอยเซนและรัฐเยอรมันอื่นตกอยู่ในอำนาจของนโปเลียนแล้ว จึงถูกปล่อยตัวกลับสู่ปิตุภูมิในปี1808เพื่อเร่งฟื้นฟูทั้งกองทัพของพรอยเซนและรัฐ ช่วงนี้เองที่ได้แต่งงานกับหญิงในแวดวงสังคมชั้นสูงและได้เข้าสู่แวดวงของนักคิดและนักปราชญ์ราชบัณฑิตที่มารวมตัวกันอยู่ในกรุงแบร์ลีน
การเขียนตำราพิชัยสงครามของเคลาเซ่อะวิทซ์น่าสนใจตรงที่เขาไม่ได้เน้นความสำคัญที่การสู้รบเท่านั้น แต่ยังวางแนวความคิดไว้ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมืองด้วย เพราะเมื่อพิจารณาช่วงเวลาที่เป็นทหารในฝ่ายอำนวยการ ซึ่งต้องคิดและวางแผนตลอดการรบครั้งสำคัญๆเพื่อให้กองทัพเยอรมันเอาชนะนโปเลียน ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นนักยุทธศาสตร์ตัวยงรวมทั้งการเกิดร่วมสมัยกับการปฏิวัติฝรั่งเศส เคลาเซ่อะวิทซ์จึงมีแนวความคิดล้ำสมัยและสั่งสมประสบการณ์ด้านการวางแผนไว้มาก โดยเฉพาะแนวความคิดที่ว่ากองทัพคือเครื่องมือของรัฐ ที่ถูกยึดถือเหนียวแน่นในวัฒนธรรมองค์กรของกองทัพเยอรมัน แม้ในภายหลังเมื่อฮิตเลอร์นำชาติเยอรมันเข้าสู่ความย่อยยับตอนปลายสงครามโลกครั้งที่2 บรรดานายพลเยอรมันยังพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า”คำว่า”รัฐประหาร”ไม่มีในพจนานุกรมของกองทัพเยอรมัน”
ถึงแม้เคลาเซ่อะวิทซ์จะถึงแก่กรรมก่อนเขียน”On War”จบ แต่แนวความคิดด้านยุทธศาสตร์และการบริหารจัดการเป็นที่โดนใจนายพลตัวกลั่นของเยอรมันรุ่นต่อมา เช่นเฮลมุธ กราฟ ฟอน โมลต์เค่ผู้นำทัพเยอรมันเข้าสู้รบกับฝรั่งเศสอีกครั้งในสงครามรวมชาติครั้งที่2(สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย)สมัยอัครมหาเสนาบดีออตโต ฟอน บิสมาร์ค คือผู้ศึกษาข้อเขียนของเคลาเซ่อะวิทซ์ทะลุปรุโปร่ง คำพูดอันโด่งดังของเขาคือ”ไม่มีแผนยุทธศาสตร์ใดหลีกเลี่ยงการปะทะกับข้าศึกไปได้” อันหมายความในทางสากลว่าการทำสงครามไม่ว่าจะด้วยอาวุธหรือทางเศรษฐกิจ ต้องมีเป้าหมายแน่ชัด จะชนะสงครามให้ได้ต้องรวบรวมสรรพกำลังทั้งหมดทำลายเป้าหมายนั้นให้สิ้น
เนื้อหาส่วนใหญ่ของOn War เน้นที่ยุทธศาสตร์ การจัดกำลังรบและแนวคิดต่างๆในการวางเค้าโครงเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการทำสงครามเบ็ดเสร็จ มันมีความชัดเจนและถูกยึดถือตั้งแต่เริ่มมาจนถึงสงครามโลกครั้งที่2 ที่ชาติต่างๆจัดทัพเต็มรูปแบบเข้าสู้รบแย่งชิงพื้นที่ มีนักวิชาการบางกลุ่มให้ความเห็นว่าความคิดของเคลาเซ่อะวิทซ์ล้าสมัยเมื่อโลกก้าวเข้าสู่ยุคสงครามนิวเคลียร์ในศตวรรษที่20 ที่สหรัฐและโซเวียตกับชาติต่างๆแข่งกันสร้างสมอาวุธนิวเคลียร์ เพราะหากจะขจัดความขัดแย้งด้วยการกดปุ่มยิงขีปนาวุธพิสัยไกลเข้าใส่กัน ก็ไม่จำเป็นต้องวางแผนการรบหรือจัดอัตรากำลังกันให้ยุ่งยาก แต่การณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้นเพราะทั้งที่มีอาวุธร้ายในครอบครองแต่สหรัฐกับโซเวียตกลับไม่ใช้ เลือกใช้สงครามตัวแทน(proxy war)แทนด้วยการแบ่งฝ่ายแล้วให้ชาติที่ตนถือหางเข้าสู้รบแย่งชิงอำนาจกันเอง หลักการของเคลาเซ่อะวิทซ์และOn Warจึงไม่ได้ล้าสมัยตามที่คาดเมื่อการรบด้วยรูปแบบสงครามโลกครั้งที่2ยังมีอยู่ ทั้งในสงครามเกาหลี สงครามยิว-หรับในตะวันออกกลางและอื่นๆที่ประเทศหนึ่งยกกองทัพเข้ายึดพื้นที่ของประเทศคู่สงคราม
นักการทหารทั้งอเมริกันและยุโรปต่างยังยึดถือแนวคิดของเคลาเซ่อะวิทซ์อยู่เมื่อทำสงครามเต็มรูปแบบ แต่ความขัดแย้งระหว่างเวียตนามเหนือและใต้ที่กลายมาเป็นสงครามกองโจรนี้เอง ที่ทำให้นักการทหารโดยเฉพาะฝ่ายอเมริกันต้องทบทวนความคิดกันใหม่ ในเมื่อสงครามเวียตนามไม่ใช่แนวทางของเคลาเซ่อะวิทซ์และสหรัฐกับโซเวียตในเวลานั้นก็แตกต่างจากรัฐเยอรมันและคู่สงครามร่วมสมัยกับเขา ความคิดที่ว่าการกบฏหรือการก่อการร้ายนั้นไม่สามารถปราบปรามให้หมดสิ้นไปได้นั้น ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าถ้าได้ผู้นำเข้มแข็งและผู้ตามร่วมมือกันปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็จะปราบปรามการก่อการร้ายให้สิ้นไปได้ ดังตัวอย่างปรากฏชัดในฟิลิปปินส์ มาเลเชียและเยเมน
ถึงทฤษฎีทางยุทธศาสตร์ของเคลาเซ่อะวิทซ์จะเป็นทฤษฎีคลาสสิก แต่มันยังใหม่และไม่ได้บ่งบอกถึงรายละเอียดลึกซึ้งเท่าตำราพิชัยสงครามของซุน วู เทียบระยะเวลาแล้วถือว่าต่างกันมากระหว่างเกือบสามพันปีของนักยุทธศาสตร์จีนกับสองร้อยปีกว่าของนักยุทธศาสตร์เยอรมัน การจะใช้แนวความคิดของเคลาเซ่อะวิทซ์ให้ได้ผลนั้นผู้ศึกษาต้องอ่านให้ทะลุแล้วเลือกใช้เฉพาะที่เข้ากับภารกิจของตน
เพราะโลกปัจจุบันต่างจากยุคสมัยของเคลาเซ่อะวิทซ์และรูปแบบการสู้รบเปลี่ยนไป จากเดิมที่เน้นการจัดทัพเข้ารบกันมาเป็นการห้ำหั่นกันทางเศรษฐกิจด้วยเครื่องมือทันสมัยเช่นอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ ซึ่งลดได้ทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายแต่สร้างความวอดวายได้รวดเร็วทันใจ หลักคิดของเคลาเซ่อะวิทซ์จึงต้องถูกปรับใช้ให้ผสมผสานกลมกลืนกับสถานการณ์ในแต่ละประเทศ
สำหรับประเทศไทยเราคงไม่ต้องไปไกลถึงขนาดเอาตำราของซุน วูหรือเคลาเซ่อะวิทซ์มาบรรจุหลักสูตรมัธยม ด้วยมาตรฐานที่เคยมีสื่อต่างชาติมาวิจัยไว้ว่าคนไทยอ่านหนังสือได้คนละแค่7บรรทัดต่อปี นี่คือปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข เพราะการเรียนรู้ตลอดชีพแม้ไม่ได้อยู่ในห้องเรียนคือเครื่องเพิ่มพูนสติปัญญาที่ดีที่สุด ยิ่งอ่านมากก็ยิ่งรู้มากเพราะได้นำเอาความรู้ที่ได้รับมาสังเคราะห์เป็นความรู้ของตัวเอง สามารถวิเคราะห์ได้ด้วยเหตุผลไม่ใช่ด้วยกระแสพาไปเมื่อต้องการตัดสินว่าสิ่งใดถูกหรือผิด คาร์ล ฟอน เคลาเซ่อะวิทซ์ไต่จากสิบตรีมาสู่พลตรีได้และวางแนวความคิดให้นักยุทธศาสตร์,นักธุรกิจยึดถือมาได้ถึงปัจจุบันเพราะเขาสนใจใฝ่รู้ เป็นนักอ่านและคิดเรียงลำดับเหตุผลเป็นหลักการที่แย้งได้ยาก
ในภาวะที่การแข่งขันทางเศรษฐกิจโลกเป็นไปอย่างดุดันเหี้ยมเกรียม การรู้เท่าทันเกมเป็นสิ่งสำคัญและไม่มีอะไรสำคัญเท่ากับการติดอาวุธทางปัญญาให้คนในชาติ ถ้าประชาชนไม่ใส่ใจในความรู้ คิดเองไม่เป็นเอาแต่เฮตามกระแส อ่านตำราพิชัยสงครามไปเป็นร้อยเล่มก็คงไร้ประโยชน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น