ถ้าจะคิดถึงการแบ่งเหล่าทัพในโลกนี้ นอกจากทัพบก,ทัพเรือและทัพอากาศแล้วยังมีเหล่าทัพใดให้กล่าวถึงอีก เหล่าทัพนั้นน่าจะเป็นนาวิกโยธิน(Marine) ซึ่งตามความหมายแท้ๆแต่โบราณคือกองกำลังที่ถูกฝึกให้ปฏิบัติการได้ในทะเล เป็นทหารถือปืนอย่างทหารบกแต่สังกัดกองทัพเรือ เคลื่อนย้ายสรรพกำลังทางเรือ แต่ในบางประเทศเช่นสหรัฐนั้นนาวิกฯถูกแยกส่วนการบังคับบัญชาออกต่างหาก
คำว่า”มะรีน”(ตามสำเนียงอังกฤษที่ออกเสียงคำว่า”มา”ค่อนข้างสั้น)นอกจากจะแปลโดยทั่วไปว่า”จากทะเล”แล้ว ยังแปลว่ากองกำลังซึ่งเคลื่อนที่ด้วยยุทธพาหนะของกองทัพเรือได้ด้วย บางครั้งทหารนาวิกฯของสหรัฐถึงกับคิดความหมายล้อเลียนความหมายจริงๆของMARINEไว้ว่า”My Ass Rides In Navy’s Equipments”(ขออนุญาตไม่แปลเพราะอาจเป็นการจำกัดขอบเขตจินตนาการของผู้อ่าน)ซึ่งไม่ผิด แต่ในยุโรปนอกจากอังกฤษความหมายของมะรีนไม่ได้แปลว่าทัพนาวิกโยธิน ในสเปน,ฝรั่งเศส,เยอรมัน,เนเธอร์แลนด์,สวีเดนและนอร์เวย์ คำว่า”มะรีน”หรือ”มะรีเน่อะ”แปลว่ากองทัพเรือ ใช้คำนี้แทน”Navy”อย่างอังกฤษ
“มะรีน”ที่กำลังมีบทบาทสำคัญในโลกทุกวันนี้ และเป็นแบบอย่างในการจัดอัตรากำลังสะเทินน้ำสะเทินบกคือทหารนาวิกโยธินสหรัฐ กำเนิดขึ้นตั้งแต่สมัยสงครามปฏิวัติเพื่อปลดแอกจากอังกฤษเมื่อสองร้อยกว่าปีก่อนด้วยกำลังพลสองกองพัน แล้วพัฒนามาเป็นกองกำลังขนาดใหญ่รบนอกประเทศได้สามมิติในปัจจุบัน คงสถานภาพความเป็นหน่วยรบพิเศษในตนเอง เข้าสู่พื้นที่สู้รบจากทางทะเลด้วยกำลังทางเรือและสังกัดทบวงทัพเรือของสหรัฐ ลำดับชั้นยศเช่นเดียวกับกองทัพบก ด้วยเหตุนี้กองกำลังนาวิกโยธินของสหรัฐจึงชำนาญการรบสะเทินน้ำสะเทินบก อันเป็นหลักนิยมที่ใช้ได้ผลมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่2ด้านแปซิฟิกถึงปัจจุบัน
มีความสำคัญคือเป็นกองกำลังเคลื่อนที่เร็วเพื่อตอบสนองเหตุเร่งด่วนตามคำสั่งของประธานาธิบดี นอกจากเคลื่อนที่เร็วแล้วยังคล่องตัว เคลื่อนที่ได้ทั้งสามมิติรบนอกประเทศได้โดยไม่ต้องประกาศสงคราม เมื่อใดที่USMCเคลื่อนพลย่อมหมายถึงเข้าไปแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องพึ่งกองกำลังขนาดใหญ่ของทัพบกและทัพอากาศเต็มรูปแบบ แม้จะมีทั้งกำลังทางบกและอากาศเป็นของตนเอง แต่ด้วยความที่เป็นหน่วยรบขนาดเล็กนาวิกฯสหรัฐจึงมีกำลังพลประจำการ200,000นายกับกองหนุนอีก40,000นาย ถูกจัดเป็นเหล่าทัพเล็กที่สุดในกระทรวงกลาโหม ถึงจะดูว่าเล็กก็จริงแต่ด้วยจำนวนกำลังพลเทียบกับกองทัพของบางประเทศแล้วยังใหญ่กว่า เช่นใหญ่กว่ากองทัพทั้งสามเหล่าของอิสราเอลและกองทัพบกอังกฤษ
นาวิกโยธินอเมริกันมีฐานะเป็นกองกำลังสะเทินน้ำสะเทินบกพร้อมรบ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐปี1947 มีหน้าที่หลักๆคือเข้ายึดหรือป้องกันฐานทัพเรือส่วนหน้าและปฏิบัติการทางบกอื่นๆเพื่อสนับสนุนการณรงค์ทางเรือ[1] พัฒนาเทคนิค,ยุทธวิธีและยุทโธปกรณ์สำหรับกองกำลังสะเทินน้ำสะเทินบก และหน้าที่อื่นใดตามแต่ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐจะกำหนด ด้วยการถูกออกแบบให้พร้อมรบและเคลื่อนที่ไปทั่วโลกได้ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง กองทัพเหล่านี้จึงเป็นกำลังพลที่ประธานาธิบดีเรียกใช้ก่อนใครเมื่อเกิดวิกฤติการณ์ถึงเลือดถึงเนื้อต้องใช้กำลังเข้าตัดสิน
ทั้งที่เหล่านาวิกโยธินสหรัฐถูกก่อตั้งมาตั้งแต่ปีค.ศ.1775ตรงกับพ.ศ.2318 แต่กองกำลังแบบเดียวกันของไทยเราที่แม้จะไม่ได้เรียกว่านาวิกโยธิน แต่ก็ปฏิบัติภารกิจรูปแบบใกล้เคียงกันและเก่าแก่กว่า เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกก่อนสหรัฐถึง8ปีในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ผู้ทรงเป็นผู้บัญชาการกองเรือเฉพาะกิจสะเทินน้ำสะเทินบกในสมัยสงครามกู้ชาติ(กู้ชาติจริงๆ ไม่ใช่ทำลายชาติแล้วแถกไปว่ากู้ชาติ)เมื่อพ.ศ.2310ตรงกับค.ศ.1767 ด้วยการทรงยกกองทัพเรือจากเมืองจันทบุรีเข้าทางปากน้ำเจ้าพระยาตรงเข้าตีเมืองธนบุรีได้แล้วจึงล่องเหนือขึ้นไปตีเอากรุงศรีอยุธยาคืน
ถึงจะไม่ใช่กองกำลังขนาดใหญ่ เรือเล็กกว่า ทหารใช้อาวุธแค่ดาบและปืนเล็กยาวเป็นหลัก แต่นั่นคือรูปแบบของนาวิกโยธินที่เคลื่อนกำลังจากทะเลเข้าหาฝั่ง เป็นกองกำลังขนาดเล็กที่รบได้ทั้งสองมิติทั้งน้ำและบก ทั้งที่รบแบบมะรีนมาตั้งแต่สมัยกู้ชาติ แต่ทหารราบสะเทินน้ำสะเทินบกเพิ่งได้ชื่อเป็นทางการว่า”ทหารมะรีน”ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่3นี้เอง ตามธรรมเนียมที่มักจะรับคำศัพท์และชื่อต่างประเทศมาปรับเรียกแบบไทยๆ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองและมีการจัดกำลังกองทัพใหม่ จึงได้ชื่อเป็นทางการใหม่ไม่ต้องทัพศัพท์ว่า”นาวิกโยธิน”เมื่อพ.ศ.2475 มีฐานะเป็นกรมนาวิกโยธินในพ.ศ.2482ตั้งมั่นที่อำเภอสัตหีบ ชลบุรี รบได้คล้ายคลึงกับUSMCแต่ปฏิบัติภารกิจต่างกัน
ปัจจุบันราชนาวิกโยธินไทย ยังคงเป็นหน่วยรบขนาดเล็กที่เชื่อถือได้ในความสามารถ พึ่งพาได้ยามคับขันและการพัฒนาประเทศ เทียบกันตัวต่อตัวแล้วความสามารถของนาวิกฯไทยไม่เป็นรองUSMC มีบางเรื่องที่ต้องปรับปรุงอันเป็นธรรมดาของกองทัพที่ต้องเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยี แต่ไม่ได้หมายความว่าUSMCมีอะไรแล้วนาวิกฯของไทยต้องมีให้เหมือนเพราะกิจของหน่วยต่างกัน ความสำคัญจึงอยู่ที่ทำอย่างไรให้เพิ่มพูนศักยภาพของสิ่งที่มีอยู่ให้เต็มขีดความสามารถมากกว่า ให้สมกับความเป็นหน่วยรบเก่าแก่ที่เป็นกำลังสำคัญในการกู้ชาติแต่ครั้งโบราณ
[1] Naval campaign การณรงค์ทางเรือ(กระทรวงกลาโหมสหรัฐ,นาโต) การยุทธครั้งหนึ่งหรือต่อเนื่องด้วยกำลังทางเรือเป็นหลัก ทั้งหน่วยผิวน้ำ ใต้น้ำ ทางอากาศและหน่วยสะเทินน้ำสะเทินบกเพื่อให้ได้มา ขยาย หรือดำรงไว้ซึ่งการครองทะเล
คำว่า”มะรีน”(ตามสำเนียงอังกฤษที่ออกเสียงคำว่า”มา”ค่อนข้างสั้น)นอกจากจะแปลโดยทั่วไปว่า”จากทะเล”แล้ว ยังแปลว่ากองกำลังซึ่งเคลื่อนที่ด้วยยุทธพาหนะของกองทัพเรือได้ด้วย บางครั้งทหารนาวิกฯของสหรัฐถึงกับคิดความหมายล้อเลียนความหมายจริงๆของMARINEไว้ว่า”My Ass Rides In Navy’s Equipments”(ขออนุญาตไม่แปลเพราะอาจเป็นการจำกัดขอบเขตจินตนาการของผู้อ่าน)ซึ่งไม่ผิด แต่ในยุโรปนอกจากอังกฤษความหมายของมะรีนไม่ได้แปลว่าทัพนาวิกโยธิน ในสเปน,ฝรั่งเศส,เยอรมัน,เนเธอร์แลนด์,สวีเดนและนอร์เวย์ คำว่า”มะรีน”หรือ”มะรีเน่อะ”แปลว่ากองทัพเรือ ใช้คำนี้แทน”Navy”อย่างอังกฤษ
“มะรีน”ที่กำลังมีบทบาทสำคัญในโลกทุกวันนี้ และเป็นแบบอย่างในการจัดอัตรากำลังสะเทินน้ำสะเทินบกคือทหารนาวิกโยธินสหรัฐ กำเนิดขึ้นตั้งแต่สมัยสงครามปฏิวัติเพื่อปลดแอกจากอังกฤษเมื่อสองร้อยกว่าปีก่อนด้วยกำลังพลสองกองพัน แล้วพัฒนามาเป็นกองกำลังขนาดใหญ่รบนอกประเทศได้สามมิติในปัจจุบัน คงสถานภาพความเป็นหน่วยรบพิเศษในตนเอง เข้าสู่พื้นที่สู้รบจากทางทะเลด้วยกำลังทางเรือและสังกัดทบวงทัพเรือของสหรัฐ ลำดับชั้นยศเช่นเดียวกับกองทัพบก ด้วยเหตุนี้กองกำลังนาวิกโยธินของสหรัฐจึงชำนาญการรบสะเทินน้ำสะเทินบก อันเป็นหลักนิยมที่ใช้ได้ผลมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่2ด้านแปซิฟิกถึงปัจจุบัน
มีความสำคัญคือเป็นกองกำลังเคลื่อนที่เร็วเพื่อตอบสนองเหตุเร่งด่วนตามคำสั่งของประธานาธิบดี นอกจากเคลื่อนที่เร็วแล้วยังคล่องตัว เคลื่อนที่ได้ทั้งสามมิติรบนอกประเทศได้โดยไม่ต้องประกาศสงคราม เมื่อใดที่USMCเคลื่อนพลย่อมหมายถึงเข้าไปแก้ปัญหาอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องพึ่งกองกำลังขนาดใหญ่ของทัพบกและทัพอากาศเต็มรูปแบบ แม้จะมีทั้งกำลังทางบกและอากาศเป็นของตนเอง แต่ด้วยความที่เป็นหน่วยรบขนาดเล็กนาวิกฯสหรัฐจึงมีกำลังพลประจำการ200,000นายกับกองหนุนอีก40,000นาย ถูกจัดเป็นเหล่าทัพเล็กที่สุดในกระทรวงกลาโหม ถึงจะดูว่าเล็กก็จริงแต่ด้วยจำนวนกำลังพลเทียบกับกองทัพของบางประเทศแล้วยังใหญ่กว่า เช่นใหญ่กว่ากองทัพทั้งสามเหล่าของอิสราเอลและกองทัพบกอังกฤษ
นาวิกโยธินอเมริกันมีฐานะเป็นกองกำลังสะเทินน้ำสะเทินบกพร้อมรบ ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐปี1947 มีหน้าที่หลักๆคือเข้ายึดหรือป้องกันฐานทัพเรือส่วนหน้าและปฏิบัติการทางบกอื่นๆเพื่อสนับสนุนการณรงค์ทางเรือ[1] พัฒนาเทคนิค,ยุทธวิธีและยุทโธปกรณ์สำหรับกองกำลังสะเทินน้ำสะเทินบก และหน้าที่อื่นใดตามแต่ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐจะกำหนด ด้วยการถูกออกแบบให้พร้อมรบและเคลื่อนที่ไปทั่วโลกได้ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง กองทัพเหล่านี้จึงเป็นกำลังพลที่ประธานาธิบดีเรียกใช้ก่อนใครเมื่อเกิดวิกฤติการณ์ถึงเลือดถึงเนื้อต้องใช้กำลังเข้าตัดสิน
ทั้งที่เหล่านาวิกโยธินสหรัฐถูกก่อตั้งมาตั้งแต่ปีค.ศ.1775ตรงกับพ.ศ.2318 แต่กองกำลังแบบเดียวกันของไทยเราที่แม้จะไม่ได้เรียกว่านาวิกโยธิน แต่ก็ปฏิบัติภารกิจรูปแบบใกล้เคียงกันและเก่าแก่กว่า เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกก่อนสหรัฐถึง8ปีในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ผู้ทรงเป็นผู้บัญชาการกองเรือเฉพาะกิจสะเทินน้ำสะเทินบกในสมัยสงครามกู้ชาติ(กู้ชาติจริงๆ ไม่ใช่ทำลายชาติแล้วแถกไปว่ากู้ชาติ)เมื่อพ.ศ.2310ตรงกับค.ศ.1767 ด้วยการทรงยกกองทัพเรือจากเมืองจันทบุรีเข้าทางปากน้ำเจ้าพระยาตรงเข้าตีเมืองธนบุรีได้แล้วจึงล่องเหนือขึ้นไปตีเอากรุงศรีอยุธยาคืน
ถึงจะไม่ใช่กองกำลังขนาดใหญ่ เรือเล็กกว่า ทหารใช้อาวุธแค่ดาบและปืนเล็กยาวเป็นหลัก แต่นั่นคือรูปแบบของนาวิกโยธินที่เคลื่อนกำลังจากทะเลเข้าหาฝั่ง เป็นกองกำลังขนาดเล็กที่รบได้ทั้งสองมิติทั้งน้ำและบก ทั้งที่รบแบบมะรีนมาตั้งแต่สมัยกู้ชาติ แต่ทหารราบสะเทินน้ำสะเทินบกเพิ่งได้ชื่อเป็นทางการว่า”ทหารมะรีน”ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่3นี้เอง ตามธรรมเนียมที่มักจะรับคำศัพท์และชื่อต่างประเทศมาปรับเรียกแบบไทยๆ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองและมีการจัดกำลังกองทัพใหม่ จึงได้ชื่อเป็นทางการใหม่ไม่ต้องทัพศัพท์ว่า”นาวิกโยธิน”เมื่อพ.ศ.2475 มีฐานะเป็นกรมนาวิกโยธินในพ.ศ.2482ตั้งมั่นที่อำเภอสัตหีบ ชลบุรี รบได้คล้ายคลึงกับUSMCแต่ปฏิบัติภารกิจต่างกัน
ปัจจุบันราชนาวิกโยธินไทย ยังคงเป็นหน่วยรบขนาดเล็กที่เชื่อถือได้ในความสามารถ พึ่งพาได้ยามคับขันและการพัฒนาประเทศ เทียบกันตัวต่อตัวแล้วความสามารถของนาวิกฯไทยไม่เป็นรองUSMC มีบางเรื่องที่ต้องปรับปรุงอันเป็นธรรมดาของกองทัพที่ต้องเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยี แต่ไม่ได้หมายความว่าUSMCมีอะไรแล้วนาวิกฯของไทยต้องมีให้เหมือนเพราะกิจของหน่วยต่างกัน ความสำคัญจึงอยู่ที่ทำอย่างไรให้เพิ่มพูนศักยภาพของสิ่งที่มีอยู่ให้เต็มขีดความสามารถมากกว่า ให้สมกับความเป็นหน่วยรบเก่าแก่ที่เป็นกำลังสำคัญในการกู้ชาติแต่ครั้งโบราณ
[1] Naval campaign การณรงค์ทางเรือ(กระทรวงกลาโหมสหรัฐ,นาโต) การยุทธครั้งหนึ่งหรือต่อเนื่องด้วยกำลังทางเรือเป็นหลัก ทั้งหน่วยผิวน้ำ ใต้น้ำ ทางอากาศและหน่วยสะเทินน้ำสะเทินบกเพื่อให้ได้มา ขยาย หรือดำรงไว้ซึ่งการครองทะเล
ขอบคุณครับสำหรับความรู้ดีๆ อ่านแล้วหัวใจพองโต ในฐานะ นาวิกโยธิน คนหนึ่ง
ตอบลบ