“ฮัมวี”(High Mobility Multi-purpose Wheeled Vehicle)ที่เรารู้จักกันดีคือรถยนต์ใช้งานทางทหาร ที่กองทัพสหรัฐและชาติอื่นๆรวมทั้งไทยใช้งานมายาวนานตลอด20ปี มันมีหลายรุ่นเพื่อดัดแปลงทำหน้าที่ต่างๆตั้งแต่ใช้งานทางธุรการไปจนถึงติดอาวุธหนักให้เป็นยานรบ ถึงจะติดปืนส่งเข้าสนามรบโดยตรงแต่โดยแท้จริงแล้วฮัมวีไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นยานรบ มันเข้ามาทดแทนจีปซึ่งเป็นรถยนต์ใช้งานธุรการหลังแนวรบด้วยวัตถุประสงค์เดียวกัน จึงไม่ได้ถูกออกแบบให้ติดเกราะ เมื่อติดเกราะเข้าไปก็ทำให้กลไกรวมทั้งโครงสร้างของรถพากันรวน น้ำหนักเกราะกลับกลายเป็นปัญหาทำให้ทหารสูญเสียหนักกว่าเดิมเพราะเกิดอุบัติเหตุง่าย ไม่โดนระเบิดก็ยังตายเพราะรถแหกโค้งอยู่บ่อยๆ
จุดอ่อนของฮัมวีหลังจากมันถูกใช้งานผิดประเภทมา20ปีตั้งแต่เข้าประจำการ เริ่มปรากฏชัดขึ้นในสงครามอิรักและอาฟกานิสถาน มันป้องกันตัวเองไม่ได้จากระเบิดแสวงเครื่องข้างทาง(สาเหตุในการเสียชีวิตของทหารสหรัฐถึง63เปอร์เซ็นต์) ท้องรถแบนไม่ช่วยเบี่ยงแรงอัดของระเบิดจากด้านล่าง ส่วนด้านข้างก็ป้องกันอะไรไม่ได้เช่นกันแม้แต่กระสุนปืนAK47 เมื่อหลักนิยมในการทำสงครามเปลี่ยนแปลงไปทั้งฝ่ายสหรัฐและศัตรู ฮัมวีก็เริ่มไม่เหมาะกับสภาพที่มันกำลังเผชิญในปัจจุบัน กองทัพสหรัฐจึงต้องหาทางปรับเปลี่ยน เป็นที่มาของโครงการ”รถปฏิบัติการร่วมเบา”หรือJLTV(Joint Light Tactical Vehicle)
โครงการJLTVกำเนิดขึ้นเพื่อสร้างรถรบ ที่เป็นรถรบเอนกประสงค์จริงๆทดแทนฮัมวี ให้เป็นรถรบที่ปกป้องชีวิตทหารได้จริงๆ แล้วยังช่วยให้ทหารหยั่งรู้สถานการณ์นอกรถได้ด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายก่อนจะเกิด เป็นก้าวแรกเพื่อหารถรบเพื่อสงครามในเมืองจริงๆ แต่ก็ใช่ว่าตลอดเวลาที่ฮัมวีเผชิญภัยคุกคามนั้นกองทัพสหรัฐจะไม่มีรถยนต์ที่ดีกว่าทดแทน มีอยู่เหมือนกันในชื่อMRAP(Mine-Resistant Ambush Protected)หรือ”รถเกราะป้องกันทุ่นระเบิด” มีเกราะหนาและหน้าตัดท้องรถเป็นรูปตัววีเพื่อเบี่ยงแรงอัดของระเบิด มันถูกส่งไปใช้งานในอิรักนับถึงกลางเดือนมกราคมปีนี้ได้2,500คัน เพิ่มขึ้นมากจากเดือนมิถุนายนปีที่แล้วที่เริ่มส่งเข้าไปเพียง100คัน
ทั้งที่MRAPดูเหมือนจะดีที่ถูกออกแบบมาให้รับมือกับระเบิดแสวงเครื่องและการโจมตีจากด้านข้าง แต่ในความเป็นจริงแล้วมันทำได้แค่เป็น”มวยแทน”ก่อนจะมีรถใหม่ดีกว่าฮัมวีเท่านั้น ด้วยราคาคันละ1ล้านดอลลาร์MRAPทำหน้าที่ได้ดีคุ้มราคา มันป้องกันแรงระเบิดได้ชะงัดในทุกทิศทางแต่ยังขาดความเร็วอย่างฮัมวี ยังอุ้ยอ้ายทั้งบนและนอกถนน ส่งรถชนิดนี้เข้าดงทุ่นระเบิดแล้วกลับออกมารับรองได้เกือบ100เปอร์เซ็นต์ว่าทหารต้องรอด แต่เพนทากอนก็ยังอยากได้รถที่คล่องตัวและความเร็วสูงกว่านี้ เหตุผลสำคัญที่สุดคืออยากให้ราคาถูกกว่านี้สัก1ใน4เพื่อประหยัดงบประมาณ จึงเป็นเหตุให้เกิดโครงการJLTV เพื่อให้ได้รถรบที่ปลอดภัยในราคาสมเหตุสมผล สั่งผลิตได้ทีละมากๆทดแทนฮัมวี
ด้วยJLTV พลประจำรถจะพบกับสภาพแตกต่างไปจากในฮัมวี เครื่องมืออีเลคทรอนิคเป็นอุปกรณ์มาตรฐานของมันจะช่วยให้ทหารหยั่งรู้เท่าทันสถานการณ์ตลอดเวลา สามารถเชื่อมต่อข้อมูลข่าวสารได้เป็นเครือข่าย(network centric)ตามหลักนิยมในการทำสงครามปัจจุบัน พลประจำรถจะพิสูจน์ฝ่ายได้ง่ายว่าใครเป็นมิตรหรือศัตรู อยู่ไกลหรือใกล้แค่ไหน บอกให้ทราบด้วยว่าภัยที่กำลังจะเผชิญร้ายแรงเพียงใดก่อนจะหลีกเลี่ยงให้ได้ในเบื้องต้น ให้การป้องกันตัวเองเป็นมาตรการสุดท้าย
ระหว่างโครงการJLTVกำลังดำเนินอยู่นี้ หนึ่งบริษัทผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ที่สร้างผลงานใกล้เคียงความต้องการคือล็อคฮีด มาร์ติน(Lockheed Martin) ชื่อที่เราคุ้นเคยจากการสร้างสุดยอดเครื่องบินรบของโลกอย่างF16 กระดูกสันหลังของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(และไทย) และเครื่องบินF35 JSF(Joint Strike Fighter)ที่กำลังจะทยอยเข้าประจำการในอีกไม่กี่ปี ถ้าบริษัทซาบ(SAAB)ของสวีเดนสร้างเครื่องบินมาก่อนรถยนต์ ก็ไม่แปลกหากล็อคฮีด มาร์ตินจะพัฒนารถรบควบคู่ไปกับเครื่องบินขับไล่ด้วยเทคโนโลยีใกล้เคียงกัน
ล็อคฮีด มาร์ตินสร้างJLTVของตนขึ้นด้วยปรัชญา”ความอยู่รอดเริ่มขึ้นจากการหลีกเลี่ยง” ตามที่ปรากฏในนิตยสาร”Insights”ของบริษัท จากความคิดของเดวิด มิลโควิชผู้จัดการโครงการว่า”แม้เกราะจะสำคัญที่สุดก็ควรเป็นปราการด่านสุดท้าย ต่อจากระบบป้องกันตนเองที่วางตัวไว้เป็นชั้นๆ” ความสำเร็จของJLTVมีจุดกำเนิดมาจากโครงการ”Soothsayer”ของกองทัพอังกฤษ และโครงการยานบรรทุกเบาLPMV(Lightweight Prime Mover Vehicle)ของนาวิกโยธินสหรัฐ โดยนำจุดเด่นของโครงการทั้งสองมาพัฒนาต่อเป็นโครงการJLTVของตน
ต้นแบบJLTVจากการพัฒนาของล็อคฮีด มาร์ตินคันแรก ปรากฏโฉมเมื่อเดือนตุลาคม 2007 ในการแสดงนวัตกรรมประจำปีของกองทัพบกสหรัฐ(Association of the United States Army : AUSA) ต้นแบบคันที่สองตามมาในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2008ในงานเดียวกันของภาคฤดูหนาวในฟอร์ท ลอเดอร์เดล ฟลอริดา หากโครงการของล็อคฮีด มาร์ตินผ่านการพิจารณาหลังชนะการแข่งขันกับบริษัทอื่น กองทัพวางเป้าไว้ว่าจะนำรถรบชนิดนี้เข้าประจำการแทนที่ฮัมวีจำนวน160,000คันเดิมให้ได้ภายในปี2012 โดยต้องเริ่มผลิตให้ได้เต็มประสิทธิภาพภายในต้นปี2011 ประมาณว่าจะประจำการทดแทนได้ครั้งละ50,000ถึง60,000คันจนเต็มจำนวน
ล็อคฮีด มาร์ตินประกาศว่าJLTVของตนคือยานรบที่แตกต่าง มันคือ”ระบบ”มากกว่าจะเป็นแค่”รถรบ”อย่างแต่ก่อน ความแตกต่างที่ว่าคือมันมีระบบบอกอาการและวินิจฉัยความผิดปกติเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ด้วยระบบและซอฟต์แวร์ดังกล่าวJLTVสามารถบอกทหารได้ว่าเมื่อใดควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องหรืออะไหล่ อะไรที่สึกหรอหรือพัง บอกอาการได้ตั้งแต่ข้อต่อเพลากลางสึกไปถึงวาระการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง,น้ำมันเกียร์
ด้วยขีดความสามารถระดับผลิตเครื่องบินขับไล่ชั้นนำของโลก จึงไม่แปลกเมื่อล็อคฮีด มาร์ตินนำระบบอีเลคทรอนิคที่ใช้กับF35เครื่องบินขับไล่รุ่นล่าสุดมาใช้กับรถรบของตน โดยการระดมทีมวิศวกรชั้นหัวกะทิจากบริษัทผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ เช่นBAE System,ALCOA DefenseและJWF Industriesเพื่อติดตั้งระบบ ทีมจากCummings Engineเพื่อสร้างเครื่องยนต์ และจากAllison Transmission,AxleTech International,Cisco Systemเพื่อสร้างระบบเกียร์
ที่ถูกเพิ่มเติมคือระบบการสื่อสารC4 suiteให้ผู้จะนำรถแบบนี้ไปใช้ในอนาคต ทั้งกองทัพบกและนาวิกโยธินได้สื่อสารรอบตัวทั่วถึง ทั้งจากรถในหมู่ จากรถถึงศูนย์บัญชาการ ถึงเฮลิคอปเตอร์ เครื่องบินขับไล่และทหารราบ เป็นความก้าวหน้าอีกขั้นของล็อคฮีด มาร์ตินในการนำเทคโนโลยีใช้ในอากาศยานมาประยุกต์ใช้กับยานรบภาคพื้น เพื่อช่วยให้ทหารหยั่งรู้เท่าทันสถานการณ์สมบูรณ์แบบ ทุกคนล่วงรู้สถานการณ์ทันท่วงทีไม่ว่าที่ไหนหรือเวลาใด
นอกจากการทำงานเป็นระบบเครือข่าย ความต้องการขั้นต่อมาของกระทรวงกลาโหมที่JLTVต้องทำให้ได้ คือต้องขนส่งเคลื่อนย้ายได้อย่างคล่องตัวด้วยพาหนะที่มีอยู่แล้ว ด้วยความสูง190.5ซ.ม.ตามข้อกำหนดของนาวิกโยธินที่จะยัดตัวเข้าไปในยานขนส่ง มันผ่านสะดวกไม่มีปัญหา จอดเรียงกันในท้องเครื่องบินลำเลียงC-130ได้2คัน ใช้สลิงหิ้วใต้ลำตัวเฮลิคอปเตอร์CH-47และCH53ได้ครั้งละ1คันสบายๆ เมื่อถึงพื้นที่ปฏิบัติการยังบรรทุกน้ำหนักได้อีก2,297.30ก.ก. ในกรอบข้อกำหนดทั้งเรื่องการขนส่งและน้ำหนักบรรทุกนี้ JLTVจะถูกแบ่งออกเป็น3แบบคือ(A)รถใช้งานเอนกประสงค์ (B)รถรบทางยุทธวิธีและ(C)รถใช้งานธุรการ
ใช่ว่าจะจบแค่ทำงานได้เป็นเครือข่าย ขนส่งง่ายและบรรทุกน้ำหนักได้มาก เมื่อเข้ารับบทบาทแทนฮัมวีนอกจากเกราะหนากว่าเพื่อการสู้รบโดยตรง มันต้องทำความเร็วได้ดีกว่าหรือเท่ากับของเดิม อีกจุดเด่นที่น่าสนใจคือมันใช้น้ำมันแค่ครึ่งเดียวของฮัมวีในระยะทางเท่ากัน! การประหยัดน้ำมันนี้ส่งผลต่อไปยังเรื่องการส่งกำลังบำรุงด้วย เมื่อใช้น้ำมันน้อยกว่าขบวนรถขนส่งน้ำมันแล่นตามก็เล็ก ใช้รถขนน้ำมันน้อยลงความสูญเสียจากการปะทะก็น้อย ซ้ำยังพัวพันไปถึงค่าบำรุงรักษายานยนต์ขนส่งซึ่งลดตามไปด้วย ตรงนี้คือสิ่งที่เพนทากอนอยากเห็นในช่วงเวลาที่น้ำมันแพงบ้าเลือดเช่นปัจจุบัน
ถ้าJLTVมีคุณสมบัติด้านความเร็วเท่าเทียมกับฮัมวี สิ่งที่เหนือกว่าของมันคือระบบกันสะเทือนหมอนลมซึ่งช่วยให้ขับได้นุ่ม สบายตัวในระยะไกล ดันตัวรถสูงขึ้นเมื่อเข้าภูมิประเทศกันดาร และลดตัวลงต่ำเมื่อแล่นบนทางเรียบต้องการความเร็วสูงเช่นการเร่งเครื่องหนีภัยคุกคาม โดยเฉพาะภูมิประเทศเช่นในอิรักและอาฟกานิสถานที่สหรัฐอาจต้องคงทหารไว้อีกนานหลายปี
แม้ฮัมวีที่ใช้เป็นหลักในปัจจุบันยังแล่นได้ ป้องกันตัวเองและทหารได้พอใช้ แต่สภาพสงครามที่เปลี่ยนไปจากสงครามแนวรบมาสู่สงครามในเมือง ถึงเวลาแล้วที่ต้องพิจารณาบทบาทและความเหมาะสมของมันเสียใหม่ เมื่อมีสถิติทหารบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอาร์พีจีและระเบิดแสวงเครื่องข้างถนนเป็นเครื่องบ่งบอก นอกจากการทำงานเป็นเครือข่ายให้ทหารหยั่งรู้เท่าทันสถานการณ์ ความเร็วสูงและง่ายต่อการขนส่ง อัตราความอยู่รอดสูงคือปัจจัยสำคัญที่นักออกแบบรถรบละเลยไม่ได้ การออกแบบท้องรถเป็นหน้าตัดรูปตัว”วี”ของMRAPนั้นผ่านการพิสูจน์แล้วว่าช่วยเบี่ยงแรงอัดของระเบิดได้จริง ลักษณะสำคัญนี้จึงถูกผนวกลงในJLTVด้วยเพื่อช่วยให้อัตราการอยู่รอดของทั้งรถและทหารสูงกว่าฮัมวี
ถึงในขณะนี้ล็อคฮีด มาร์ตินจะเป็นบริษัทแรกที่สร้างรถต้นแบบสำเร็จ แต่ก็ใช่ว่าจะอยู่รอดปลอดภัยได้เข้าประจำการในวันสองวัน ยังมีบริษัทนอร์ธรอป กรัมแมนที่ร่วมทุนกับออชคอช ทรัค คอร์โปเรชั่นและเจเนอรัล แทคติเคิล เวฮิเคิลส์ หุ้นส่วนเดิมของฮัมวีจากเอเอ็ม.เจเนอรัล กับทีมของเท็กซ์ทรอนที่รวมกับโบอิงเข้าแข่งขันด้วยในโครงการJLTV จากชื่อเสียงอันคุ้นเคยของบริษัทอากาศยานเช่นนอร์ธรอปและโบอิ้ง ทำให้เห็นได้ชัดว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ทหารน่าจะเป็นแหล่งรายได้เป็นกอบเป็นกำ ของบริษัทที่เป็นที่1ในอุตสาหกรรมอากาศยานเหล่านี้
JLTVจึงเป็นหนึ่งในโครงการเพื่อการปรับตัวทำสงครามของอเมริกัน ซึ่งต้องวิ่งตามความเปลี่ยนแปลงไม่หยุดเพื่อคงความเป็นผู้นำด้านการทหารอยู่ตลอดเวลา ตราบใดที่ยังมีผลประโยชน์ให้ปกป้อง(หรือไปแย่งชิงมา!)
จุดอ่อนของฮัมวีหลังจากมันถูกใช้งานผิดประเภทมา20ปีตั้งแต่เข้าประจำการ เริ่มปรากฏชัดขึ้นในสงครามอิรักและอาฟกานิสถาน มันป้องกันตัวเองไม่ได้จากระเบิดแสวงเครื่องข้างทาง(สาเหตุในการเสียชีวิตของทหารสหรัฐถึง63เปอร์เซ็นต์) ท้องรถแบนไม่ช่วยเบี่ยงแรงอัดของระเบิดจากด้านล่าง ส่วนด้านข้างก็ป้องกันอะไรไม่ได้เช่นกันแม้แต่กระสุนปืนAK47 เมื่อหลักนิยมในการทำสงครามเปลี่ยนแปลงไปทั้งฝ่ายสหรัฐและศัตรู ฮัมวีก็เริ่มไม่เหมาะกับสภาพที่มันกำลังเผชิญในปัจจุบัน กองทัพสหรัฐจึงต้องหาทางปรับเปลี่ยน เป็นที่มาของโครงการ”รถปฏิบัติการร่วมเบา”หรือJLTV(Joint Light Tactical Vehicle)
โครงการJLTVกำเนิดขึ้นเพื่อสร้างรถรบ ที่เป็นรถรบเอนกประสงค์จริงๆทดแทนฮัมวี ให้เป็นรถรบที่ปกป้องชีวิตทหารได้จริงๆ แล้วยังช่วยให้ทหารหยั่งรู้สถานการณ์นอกรถได้ด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายก่อนจะเกิด เป็นก้าวแรกเพื่อหารถรบเพื่อสงครามในเมืองจริงๆ แต่ก็ใช่ว่าตลอดเวลาที่ฮัมวีเผชิญภัยคุกคามนั้นกองทัพสหรัฐจะไม่มีรถยนต์ที่ดีกว่าทดแทน มีอยู่เหมือนกันในชื่อMRAP(Mine-Resistant Ambush Protected)หรือ”รถเกราะป้องกันทุ่นระเบิด” มีเกราะหนาและหน้าตัดท้องรถเป็นรูปตัววีเพื่อเบี่ยงแรงอัดของระเบิด มันถูกส่งไปใช้งานในอิรักนับถึงกลางเดือนมกราคมปีนี้ได้2,500คัน เพิ่มขึ้นมากจากเดือนมิถุนายนปีที่แล้วที่เริ่มส่งเข้าไปเพียง100คัน
ทั้งที่MRAPดูเหมือนจะดีที่ถูกออกแบบมาให้รับมือกับระเบิดแสวงเครื่องและการโจมตีจากด้านข้าง แต่ในความเป็นจริงแล้วมันทำได้แค่เป็น”มวยแทน”ก่อนจะมีรถใหม่ดีกว่าฮัมวีเท่านั้น ด้วยราคาคันละ1ล้านดอลลาร์MRAPทำหน้าที่ได้ดีคุ้มราคา มันป้องกันแรงระเบิดได้ชะงัดในทุกทิศทางแต่ยังขาดความเร็วอย่างฮัมวี ยังอุ้ยอ้ายทั้งบนและนอกถนน ส่งรถชนิดนี้เข้าดงทุ่นระเบิดแล้วกลับออกมารับรองได้เกือบ100เปอร์เซ็นต์ว่าทหารต้องรอด แต่เพนทากอนก็ยังอยากได้รถที่คล่องตัวและความเร็วสูงกว่านี้ เหตุผลสำคัญที่สุดคืออยากให้ราคาถูกกว่านี้สัก1ใน4เพื่อประหยัดงบประมาณ จึงเป็นเหตุให้เกิดโครงการJLTV เพื่อให้ได้รถรบที่ปลอดภัยในราคาสมเหตุสมผล สั่งผลิตได้ทีละมากๆทดแทนฮัมวี
ด้วยJLTV พลประจำรถจะพบกับสภาพแตกต่างไปจากในฮัมวี เครื่องมืออีเลคทรอนิคเป็นอุปกรณ์มาตรฐานของมันจะช่วยให้ทหารหยั่งรู้เท่าทันสถานการณ์ตลอดเวลา สามารถเชื่อมต่อข้อมูลข่าวสารได้เป็นเครือข่าย(network centric)ตามหลักนิยมในการทำสงครามปัจจุบัน พลประจำรถจะพิสูจน์ฝ่ายได้ง่ายว่าใครเป็นมิตรหรือศัตรู อยู่ไกลหรือใกล้แค่ไหน บอกให้ทราบด้วยว่าภัยที่กำลังจะเผชิญร้ายแรงเพียงใดก่อนจะหลีกเลี่ยงให้ได้ในเบื้องต้น ให้การป้องกันตัวเองเป็นมาตรการสุดท้าย
ระหว่างโครงการJLTVกำลังดำเนินอยู่นี้ หนึ่งบริษัทผู้ผลิตอาวุธรายใหญ่ที่สร้างผลงานใกล้เคียงความต้องการคือล็อคฮีด มาร์ติน(Lockheed Martin) ชื่อที่เราคุ้นเคยจากการสร้างสุดยอดเครื่องบินรบของโลกอย่างF16 กระดูกสันหลังของกองทัพอากาศสหรัฐฯ(และไทย) และเครื่องบินF35 JSF(Joint Strike Fighter)ที่กำลังจะทยอยเข้าประจำการในอีกไม่กี่ปี ถ้าบริษัทซาบ(SAAB)ของสวีเดนสร้างเครื่องบินมาก่อนรถยนต์ ก็ไม่แปลกหากล็อคฮีด มาร์ตินจะพัฒนารถรบควบคู่ไปกับเครื่องบินขับไล่ด้วยเทคโนโลยีใกล้เคียงกัน
ล็อคฮีด มาร์ตินสร้างJLTVของตนขึ้นด้วยปรัชญา”ความอยู่รอดเริ่มขึ้นจากการหลีกเลี่ยง” ตามที่ปรากฏในนิตยสาร”Insights”ของบริษัท จากความคิดของเดวิด มิลโควิชผู้จัดการโครงการว่า”แม้เกราะจะสำคัญที่สุดก็ควรเป็นปราการด่านสุดท้าย ต่อจากระบบป้องกันตนเองที่วางตัวไว้เป็นชั้นๆ” ความสำเร็จของJLTVมีจุดกำเนิดมาจากโครงการ”Soothsayer”ของกองทัพอังกฤษ และโครงการยานบรรทุกเบาLPMV(Lightweight Prime Mover Vehicle)ของนาวิกโยธินสหรัฐ โดยนำจุดเด่นของโครงการทั้งสองมาพัฒนาต่อเป็นโครงการJLTVของตน
ต้นแบบJLTVจากการพัฒนาของล็อคฮีด มาร์ตินคันแรก ปรากฏโฉมเมื่อเดือนตุลาคม 2007 ในการแสดงนวัตกรรมประจำปีของกองทัพบกสหรัฐ(Association of the United States Army : AUSA) ต้นแบบคันที่สองตามมาในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2008ในงานเดียวกันของภาคฤดูหนาวในฟอร์ท ลอเดอร์เดล ฟลอริดา หากโครงการของล็อคฮีด มาร์ตินผ่านการพิจารณาหลังชนะการแข่งขันกับบริษัทอื่น กองทัพวางเป้าไว้ว่าจะนำรถรบชนิดนี้เข้าประจำการแทนที่ฮัมวีจำนวน160,000คันเดิมให้ได้ภายในปี2012 โดยต้องเริ่มผลิตให้ได้เต็มประสิทธิภาพภายในต้นปี2011 ประมาณว่าจะประจำการทดแทนได้ครั้งละ50,000ถึง60,000คันจนเต็มจำนวน
ล็อคฮีด มาร์ตินประกาศว่าJLTVของตนคือยานรบที่แตกต่าง มันคือ”ระบบ”มากกว่าจะเป็นแค่”รถรบ”อย่างแต่ก่อน ความแตกต่างที่ว่าคือมันมีระบบบอกอาการและวินิจฉัยความผิดปกติเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ด้วยระบบและซอฟต์แวร์ดังกล่าวJLTVสามารถบอกทหารได้ว่าเมื่อใดควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องหรืออะไหล่ อะไรที่สึกหรอหรือพัง บอกอาการได้ตั้งแต่ข้อต่อเพลากลางสึกไปถึงวาระการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง,น้ำมันเกียร์
ด้วยขีดความสามารถระดับผลิตเครื่องบินขับไล่ชั้นนำของโลก จึงไม่แปลกเมื่อล็อคฮีด มาร์ตินนำระบบอีเลคทรอนิคที่ใช้กับF35เครื่องบินขับไล่รุ่นล่าสุดมาใช้กับรถรบของตน โดยการระดมทีมวิศวกรชั้นหัวกะทิจากบริษัทผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ เช่นBAE System,ALCOA DefenseและJWF Industriesเพื่อติดตั้งระบบ ทีมจากCummings Engineเพื่อสร้างเครื่องยนต์ และจากAllison Transmission,AxleTech International,Cisco Systemเพื่อสร้างระบบเกียร์
ที่ถูกเพิ่มเติมคือระบบการสื่อสารC4 suiteให้ผู้จะนำรถแบบนี้ไปใช้ในอนาคต ทั้งกองทัพบกและนาวิกโยธินได้สื่อสารรอบตัวทั่วถึง ทั้งจากรถในหมู่ จากรถถึงศูนย์บัญชาการ ถึงเฮลิคอปเตอร์ เครื่องบินขับไล่และทหารราบ เป็นความก้าวหน้าอีกขั้นของล็อคฮีด มาร์ตินในการนำเทคโนโลยีใช้ในอากาศยานมาประยุกต์ใช้กับยานรบภาคพื้น เพื่อช่วยให้ทหารหยั่งรู้เท่าทันสถานการณ์สมบูรณ์แบบ ทุกคนล่วงรู้สถานการณ์ทันท่วงทีไม่ว่าที่ไหนหรือเวลาใด
นอกจากการทำงานเป็นระบบเครือข่าย ความต้องการขั้นต่อมาของกระทรวงกลาโหมที่JLTVต้องทำให้ได้ คือต้องขนส่งเคลื่อนย้ายได้อย่างคล่องตัวด้วยพาหนะที่มีอยู่แล้ว ด้วยความสูง190.5ซ.ม.ตามข้อกำหนดของนาวิกโยธินที่จะยัดตัวเข้าไปในยานขนส่ง มันผ่านสะดวกไม่มีปัญหา จอดเรียงกันในท้องเครื่องบินลำเลียงC-130ได้2คัน ใช้สลิงหิ้วใต้ลำตัวเฮลิคอปเตอร์CH-47และCH53ได้ครั้งละ1คันสบายๆ เมื่อถึงพื้นที่ปฏิบัติการยังบรรทุกน้ำหนักได้อีก2,297.30ก.ก. ในกรอบข้อกำหนดทั้งเรื่องการขนส่งและน้ำหนักบรรทุกนี้ JLTVจะถูกแบ่งออกเป็น3แบบคือ(A)รถใช้งานเอนกประสงค์ (B)รถรบทางยุทธวิธีและ(C)รถใช้งานธุรการ
ใช่ว่าจะจบแค่ทำงานได้เป็นเครือข่าย ขนส่งง่ายและบรรทุกน้ำหนักได้มาก เมื่อเข้ารับบทบาทแทนฮัมวีนอกจากเกราะหนากว่าเพื่อการสู้รบโดยตรง มันต้องทำความเร็วได้ดีกว่าหรือเท่ากับของเดิม อีกจุดเด่นที่น่าสนใจคือมันใช้น้ำมันแค่ครึ่งเดียวของฮัมวีในระยะทางเท่ากัน! การประหยัดน้ำมันนี้ส่งผลต่อไปยังเรื่องการส่งกำลังบำรุงด้วย เมื่อใช้น้ำมันน้อยกว่าขบวนรถขนส่งน้ำมันแล่นตามก็เล็ก ใช้รถขนน้ำมันน้อยลงความสูญเสียจากการปะทะก็น้อย ซ้ำยังพัวพันไปถึงค่าบำรุงรักษายานยนต์ขนส่งซึ่งลดตามไปด้วย ตรงนี้คือสิ่งที่เพนทากอนอยากเห็นในช่วงเวลาที่น้ำมันแพงบ้าเลือดเช่นปัจจุบัน
ถ้าJLTVมีคุณสมบัติด้านความเร็วเท่าเทียมกับฮัมวี สิ่งที่เหนือกว่าของมันคือระบบกันสะเทือนหมอนลมซึ่งช่วยให้ขับได้นุ่ม สบายตัวในระยะไกล ดันตัวรถสูงขึ้นเมื่อเข้าภูมิประเทศกันดาร และลดตัวลงต่ำเมื่อแล่นบนทางเรียบต้องการความเร็วสูงเช่นการเร่งเครื่องหนีภัยคุกคาม โดยเฉพาะภูมิประเทศเช่นในอิรักและอาฟกานิสถานที่สหรัฐอาจต้องคงทหารไว้อีกนานหลายปี
แม้ฮัมวีที่ใช้เป็นหลักในปัจจุบันยังแล่นได้ ป้องกันตัวเองและทหารได้พอใช้ แต่สภาพสงครามที่เปลี่ยนไปจากสงครามแนวรบมาสู่สงครามในเมือง ถึงเวลาแล้วที่ต้องพิจารณาบทบาทและความเหมาะสมของมันเสียใหม่ เมื่อมีสถิติทหารบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอาร์พีจีและระเบิดแสวงเครื่องข้างถนนเป็นเครื่องบ่งบอก นอกจากการทำงานเป็นเครือข่ายให้ทหารหยั่งรู้เท่าทันสถานการณ์ ความเร็วสูงและง่ายต่อการขนส่ง อัตราความอยู่รอดสูงคือปัจจัยสำคัญที่นักออกแบบรถรบละเลยไม่ได้ การออกแบบท้องรถเป็นหน้าตัดรูปตัว”วี”ของMRAPนั้นผ่านการพิสูจน์แล้วว่าช่วยเบี่ยงแรงอัดของระเบิดได้จริง ลักษณะสำคัญนี้จึงถูกผนวกลงในJLTVด้วยเพื่อช่วยให้อัตราการอยู่รอดของทั้งรถและทหารสูงกว่าฮัมวี
ถึงในขณะนี้ล็อคฮีด มาร์ตินจะเป็นบริษัทแรกที่สร้างรถต้นแบบสำเร็จ แต่ก็ใช่ว่าจะอยู่รอดปลอดภัยได้เข้าประจำการในวันสองวัน ยังมีบริษัทนอร์ธรอป กรัมแมนที่ร่วมทุนกับออชคอช ทรัค คอร์โปเรชั่นและเจเนอรัล แทคติเคิล เวฮิเคิลส์ หุ้นส่วนเดิมของฮัมวีจากเอเอ็ม.เจเนอรัล กับทีมของเท็กซ์ทรอนที่รวมกับโบอิงเข้าแข่งขันด้วยในโครงการJLTV จากชื่อเสียงอันคุ้นเคยของบริษัทอากาศยานเช่นนอร์ธรอปและโบอิ้ง ทำให้เห็นได้ชัดว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ทหารน่าจะเป็นแหล่งรายได้เป็นกอบเป็นกำ ของบริษัทที่เป็นที่1ในอุตสาหกรรมอากาศยานเหล่านี้
JLTVจึงเป็นหนึ่งในโครงการเพื่อการปรับตัวทำสงครามของอเมริกัน ซึ่งต้องวิ่งตามความเปลี่ยนแปลงไม่หยุดเพื่อคงความเป็นผู้นำด้านการทหารอยู่ตลอดเวลา ตราบใดที่ยังมีผลประโยชน์ให้ปกป้อง(หรือไปแย่งชิงมา!)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น