เมื่อพิจารณาถึงระบบการทำงานของM4และM4A1 มันคือปืนเล็กสั้นทำงานด้วยแรงดันแก๊ซจากการระเบิดของกระสุน ระบายความร้อนด้วยอากาศ ยิงได้ทั้งจากการประทับไหล่และระดับเอว ป้อนกระสุนด้วยซองกระสุนและเลือกระบบการยิงได้2แบบคือยิงทีละนัดและยิงชุด(อัตโนมัติ) พูดง่ายๆคือเป็นM16A2สั้นด้วยลำกล้องยาวเพียง14.5นิ้ว(368ม.ม.)นั่นเอง ด้วยความกะทัดรัดจากพานท้ายปรับความยาวได้ความคล่องตัวของมันจึงสูง ทหารใช้M4ได้ทั้งระยะประชิด ในเขตสิ่งปลูกสร้างและในที่โล่งด้วยระยะหวังผลสูงสุดคือ400เมตร เมื่อมันใช้ชิ้นส่วนเหมือนปืนเล็กยาวM16A2ถึง80เปอร์เซ็นต์ เรื่องอะไหล่จึงไม่เป็นปัญหาระหว่างปืนสองรุ่น ใช้แทนกันได้ตั้งแต่อะไหล่เป็นชิ้นๆ และถอดทั้งโครงปืนมาใส่เปลี่ยนกันได้เลยในยามคับขันโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ
เมื่อนำปืนเล็กสั้นM4และM4A1มาเปรียบเทียบกับปืนเล็กยาวM16ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ ขนาดกะทัดรัด ลำกล้องสั้นกว่าคือเพียง14.5นิ้ว(368ม.ม.) พานท้ายปรับความยาวได้4ระดับมาตรฐาน ยิงได้เร็วกว่า(ยิงกระสุนได้มากกว่าในหนึ่งนาที) กระนั้นข้อเสียของM4ที่เห็นได้ชัดเมื่อเข้าเครื่องวัดคือความเร็วต้นของกระสุนต่ำกว่าและเสียงปืนดังกว่าเพราะลำกล้องสั้น เกิดความเครียดกับชิ้นส่วนมากกว่าเพราะท่อระบายแรงดันแก๊ซสั้นกว่า จึงมีแนวโน้มว่าจะร้อนเร็วกว่าM16A2เมื่อยิงติดต่อกันนานๆ
แต่กองทัพบกสหรัฐฯไม่ได้เลือกปืนให้ทหารของตนใช้สุ่มสี่สุ่มห้า เพียงเพราะโคลต์เป็นอุตสาหกรรมภายในประเทศ จะใช้ปืนกันทั้งทีก็ต้องทดสอบทั้งสมรรถนะของปืนเองและความพึงพอใจของทหารที่อยู่กับมัน หน่วยงานเพื่อวิจัยและพัฒนายุทธภัณฑ์มีชื่อเฉพาะว่า”เนติค แล็บ”หรือชื่อเต็มว่าU.S. Army Natick Soldier Research, Development and Engineering Center (NSRDEC)รู้จักกันในชื่อสั้นๆว่าThe U.S. Army Natick Soldier Center (NSC)จึงถูกตั้งขึ้นโดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สนามทดสอบอาวุธอาเบอร์ดีน(Aberdeen Proving Grround)รัฐแมรี่แลนด์ กับอีกที่หนึ่งคือศูนย์วิจัยอาวุธกองทัพบก(U.S. Army Soldier Systems Center:(SSC))เมืองเนติค รัฐเมสสาชูเซ็ตต์
หลังจากM4เข้าประจำการ เนติคแล็บได้ติดตามเก็บข้อมูลของมันโดยเน้นที่ยุทธการสำคัญๆซึ่งทหารใช้M4ในสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศสุดขั้ว หลังจากยุทธการอานาคอนดาซึ่งเป็นการไล่ล่ากองกำลังทาลีบัน-อัล ไคดาครั้งใหญ่ในหุบเขาชาอี-ค็อตของอาฟกานิสถานระหว่างวันที่2-16มีนาคมปี 2002 รายงานของเนติคที่นำเสนอโดยพันโทชาร์ลี ดีนและจ่าสิบตรีแซม นิวแลนด์เกี่ยวกับM4และทหารสหรัฐฯจำนวน1,700นายที่ใช้มันปรากฏผลดังนี้คือ 34%รายงานว่าประกับรองมือของM4ร้อนจนจับลำบากเมื่อยิงต่อเนื่อง 15%มีปัญหากับการเล็งศูนย์สะท้อนแสงM68 35%ต้องเพิ่มแปรงปัดฝุ่น และ24%ต้องการให้เพิ่มไม้จิ้มฟันเพื่อแคะชิ้นส่วนเข้าในชุดทำความสะอาดปืนเพราะกองทัพไม่ได้ให้มา
เมื่อมาดูเหตุขัดข้องจากการใช้งานก็ปรากฏผลดังนี้ 20%รายงานว่าซองกระสุนป้อนกระสุนซ้อนสอง(ทำให้ยิงไม่ได้รวมถึงคัดปลอกไม่ออก)15%รายงานว่าขัดลำกล้อง 13%รายงานว่าซองกระสุนมีปัญหา(ตั้งแต่ไม่ยอมป้อนกระสุนถึงป้อนไม่เข้ารังเพลิง) แต่ตัวเลขที่น่าสนใจคือทหาร89%ที่ใช้M4บอกว่ายังมั่นใจฝากชีวิตไว้กับมัน ในขณะที่20%ยังบ่นเรื่องต้องทำความสะอาดกันบ่อยๆ ในส่วนที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงปรากฏผลดังนี้คือ 55%ต้องการให้สร้างปืนให้เบาลงและ20%อยากได้ซองกระสุนจุกระสุนได้มากกว่ามาตรฐานเดิม
อีกเรื่องที่กล่าวขานกันมากคือการทดสอบระหว่างM4ของโคลต์ เปรียบเทียบกับปืนเล็กสั้นอื่นๆคือXM8ปืนใหม่ที่เพิ่งล้มโครงการไปเมื่อไม่กี่ปีก่อน ปืนSCARของFNจากเบลเยียม และHK416ของเฮคเลอร์ อุนต์ โค้คจากเยอรมนี ด้วยการหมกทรายไว้ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนถึงปลายเดือนพฤศจิกายนปี2007 ก่อนจะให้เจ้าหน้าที่จากศูนย์ทดสอบและประเมินผลของสนามทดสอบอาวุธอาเบอร์ดีน ขุดทุกกระบอกขึ้นมายิงทดสอบด้วยกระสุน6,000นัด ดังที่ทราบกันจากสื่อต่างๆว่าM4ขัดลำกล้องด้วยเหตุขัดข้อง3ระดับ(ระดับ1:แก้ไขได้ภายใน3วินาที ด้วยการดึงสไลด์คัดปลอก ระดับ2: แก้ไขได้ภายในเวลา30วินาทีด้วยการดึงสไลด์/ใช้คีมคีบปลอกที่ถูกสไลด์งับออกทางช่องคัดปลอก/ถอดซองกระสุน ระดับ3: นำส่งช่างอาวุธ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ในสนาม)มากที่สุดคือ 882จากทั้งหมด6,000นัด
ผลที่ตามมาคือในความขัดข้องทั้งหมดนี้ ซองกระสุนของM4ถูกเพ่งเล็งมากที่สุดรองลงมาคือลำกล้อง ซึ่งโคลต์ได้นำข้อมูลไปปรับปรุงโดยกองทัพบกตั้งข้อสังเกตเน้นที่ซองกระสุน เพราะการขัดข้องทั้งหมด882ครั้งนั้นเป็นเหตุจากซองกระสุนเสีย239ครั้ง ดังนั้นส่วนที่ต้องปรับปรุงคือทำซองกระสุนใหม่ให้จุกระสุนได้มากขึ้น ป้อนกระสุนได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ทำลำกล้องชุบโครเมียมด้านในให้หนาขึ้นเพื่อยืดอายุการใช้งาน รวมปรับปรุงรายละเอียดปลีกย่อยที่กองทัพบกต้องการให้แล้วเสร็จภายในฤดูใบไม้ผลิปีถัดมา ก่อนส่งของที่ปรับปรุงแล้วเข้าประจำการใหม่เมื่อปีที่แล้วนี้เอง
ถ้าจะพูดกันโดยวัดตามสภาพการใช้งานจริงซึ่งไม่ได้โหดร้ายทารุณเท่าการทดสอบแล้ว การจะด่วนสรุปว่าM4ด้อยที่สุดจะเป็นการไม่ยุติธรรมกับโคลต์เกินไปหรือเปล่า? หลังการทดสอบครั้งนั้นทำไมจึงไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นกับหน่วยงานด้านสรรพาวุธกองทัพบกสหรัฐฯ? เหตุขัดข้องดังกล่าวจะเกิดขึ้นในจำนวนเท่ากันหรือไม่เมื่อM4ถูกใช้งานในเขตอื่นที่ไม่ใช่ทะเลทราย? เพราะภารกิจของหน่วยรบย่อมต้องแตกต่างกันอยู่แล้วทั้งในวิธีปฏิบัติและภูมิประเทศ ถ้าจะด่วนสรุปว่าM4ด้อยกว่าปืนเล็กสั้นจากค่ายอื่น ก็หมายความว่ากองทัพสหรัฐฯที่รบบ่อยที่สุดและส่งทหารไปทั่วโลกได้ภายใน24ชั่วโมง ให้ทหารใช้อาวุธประจำกาย”ห่วยๆ”มาตลอด40ปีกระนั้นหรือ? ถ้า”ห่วย”จริงทำไมทหารในยุทธการอานาคอนดาซึ่งเป็นปฏิบัติการในทะเลทรายถึงยอดเขาหนาวเหน็บจึงแสดงความพึงพอใจกับM4ถึง89%?
ด้วยความเป็นที่นิยมของM4นี่เอง ที่ทำให้ผู้ผลิตอาวุธหลายแบรนด์ต่างผลิตปืนเลียนแบบกันเป็นว่าเล่น ทั้งแบบปืนสงคราม(ยิงแบบอัตโนมัติได้) และใช้ในกิจการพลเรือนตั้งแต่ยิงเป้าตามสนามยิงปืนไปจนถึงใช้เฝ้าเรือกสวนไร่นา(ยิงทีละนัด)ทั้งลำกล้องสั้นและยาว เมื่อรหัสM4และแบบรวมถึง”โนว์ฮาว”ของมันได้ถูกโคลต์จดสิทธิบัตรไว้แล้ว ไม่ว่าใครจะสร้างปืนขึ้นมาได้รูปร่างหน้าตาเหมือนM4อย่างไรก็ไม่สามารถใช้ชื่อว่าM4ได้ ในเดือนเมษายน 2004 โคลต์จึงดำเนินคดีกับเอชแอนด์เค ห้ามใช้รหัสว่าM4กับปืนของตนที่มีลักษณะเดียวกันกับปืนของโคลต์ HK M4ของเอชแอนด์เคจึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็นHK416
หากจะดูกันตามประวัติของโคลต์ คงต้องยอมรับความจริงว่าบริษัทนี้สร้างปืน”อย่างเดียว”มาตลอด150ปีนับแต่นายซามิวเอล โคลต์ก่อตั้งบริษัทจากการสร้างปืนพกกระบอกแรกจากความหลงไหลปืนสั้น ปืนจากโคลต์คือเครื่องมือสำคัญในการสร้างชาติ ตั้งแต่สมัยผู้ตั้งถิ่นฐานรบแย่งชิงพื้นที่กับชาวอเมริกันพื้นเมือง(อินเดียน) ปืนพกแบบM1911ขนาด11ม.ม.รุ่นมาตรฐานยังถูกใช้ในกองทัพทั่วโลกมาจนถึงทุกวันนี้ ไม่นับที่ซื้อลิขสิทธิ์ไปผลิตได้รูปร่างหน้าตาเหมือนกันแล้วใช้แบรนด์ของตน
ทั้งปืนเล็กยาวM16A4และปืนเล็กสั้นM4 ได้ถูกผลิตป้อนให้ทุกเหล่าทัพของสหรัฐฯและใช้โดยประเทศในกลุ่มนาโตกับอีก80ประเทศทั่วโลก รวมทั้งกองทัพไทยที่ไม่ได้เพิ่งมาใช้แต่รุ่นA4แต่ใช้M16มาตั้งแต่รุ่นแรก ตลอดเวลา40ปีโคลต์ได้ทดสอบ ประเมินผลและปรับปรุงผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากการใช้งานจริงจากเหล่าทัพที่ออกสู่แนวหน้าบ่อยที่สุดคือกองทัพบกและนาวิกโยธิน จนผ่านการรับรองมาตรฐานISO 9001ในปี2001เป็นประกาศณียบัตรในความสม่ำเสมอของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ แม้แต่ในปัจจุบันโคลต์ยังเปิดรับความคิดเห็นจากประเทศผู้ใช้งานทั่วโลกอยู่เพื่อนำมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ทั้งM16A4และM4
โดยส่วนตัวผมยังเชื่อมั่นในคุณภาพของโคลต์อยู่ โดยเฉพาะM4นั้นเป็นปืนที่สนุกเมื่อได้ทดลองยิงเพราะแรงรีคอยล์ต่ำลำกล้องไม่เงย ควบคุมกลุ่มกระสุนได้ง่าย น้ำหนักก็เบาคล่องตัวโดยเฉพาะพานท้ายปรับได้นั้นช่วยได้มากเมื่อประทับยิงขณะแต่งกายด้วยชุดสนามครบทั้งเกราะและอุปกรณ์อื่นๆ จากคำบอกเล่าของเพื่อนที่เป็นทหารและมีประสบการณ์มากกว่าแค่ใช้มันยิง การใช้เรือนเครื่องลั่นไกของM16เดิมกับชุดลูกสูบและโครงท่อนบนของM4ประกอบกันกลับจะทำให้มันยิงได้คล่องกว่าของใหม่แกะกล่องเสียอีก ไม่ซื้อทั้งกระบอกซื้อแค่ครึ่งกระบอกก็ยังคุ้ม
จากสเปคของมันที่เหมาะกับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ หน่วยรบที่ต้องการความแม่นยำและประสิทธิภาพสูงสุดของอาวุธ/ระบบอาวุธประจำกาย ไม่ว่ากองทัพไทยจะตัดสินใจสั่งซื้อปืนเล็กสั้นทั้งM4และM4A1ไปแล้วหรือกำลังจะตัดสินใจ ผมภาวนาว่าถ้าเป็นM4ก็ขอให้เป็นของโคลต์ ดีเฟนซ์แห่งเมืองฮาร์ทฟอร์ด รัฐคอนเนคติกัตที่เป็นแบรนด์โคลต์แท้ๆและดั้งเดิมเท่านั้น รองลงไปจากนี้แล้วคงหาความมั่นใจได้ยาก ราคาถูกกว่ากันไม่เท่าไรอาจจะกลายเป็น”ได้ไม่คุ้มเสีย”ไปในอนาคตอันใกล้ เมื่อเทียบกับ”โคลต์แท้ๆและดั้งเดิม”
เมื่อนำปืนเล็กสั้นM4และM4A1มาเปรียบเทียบกับปืนเล็กยาวM16ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดคือ ขนาดกะทัดรัด ลำกล้องสั้นกว่าคือเพียง14.5นิ้ว(368ม.ม.) พานท้ายปรับความยาวได้4ระดับมาตรฐาน ยิงได้เร็วกว่า(ยิงกระสุนได้มากกว่าในหนึ่งนาที) กระนั้นข้อเสียของM4ที่เห็นได้ชัดเมื่อเข้าเครื่องวัดคือความเร็วต้นของกระสุนต่ำกว่าและเสียงปืนดังกว่าเพราะลำกล้องสั้น เกิดความเครียดกับชิ้นส่วนมากกว่าเพราะท่อระบายแรงดันแก๊ซสั้นกว่า จึงมีแนวโน้มว่าจะร้อนเร็วกว่าM16A2เมื่อยิงติดต่อกันนานๆ
แต่กองทัพบกสหรัฐฯไม่ได้เลือกปืนให้ทหารของตนใช้สุ่มสี่สุ่มห้า เพียงเพราะโคลต์เป็นอุตสาหกรรมภายในประเทศ จะใช้ปืนกันทั้งทีก็ต้องทดสอบทั้งสมรรถนะของปืนเองและความพึงพอใจของทหารที่อยู่กับมัน หน่วยงานเพื่อวิจัยและพัฒนายุทธภัณฑ์มีชื่อเฉพาะว่า”เนติค แล็บ”หรือชื่อเต็มว่าU.S. Army Natick Soldier Research, Development and Engineering Center (NSRDEC)รู้จักกันในชื่อสั้นๆว่าThe U.S. Army Natick Soldier Center (NSC)จึงถูกตั้งขึ้นโดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สนามทดสอบอาวุธอาเบอร์ดีน(Aberdeen Proving Grround)รัฐแมรี่แลนด์ กับอีกที่หนึ่งคือศูนย์วิจัยอาวุธกองทัพบก(U.S. Army Soldier Systems Center:(SSC))เมืองเนติค รัฐเมสสาชูเซ็ตต์
หลังจากM4เข้าประจำการ เนติคแล็บได้ติดตามเก็บข้อมูลของมันโดยเน้นที่ยุทธการสำคัญๆซึ่งทหารใช้M4ในสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศสุดขั้ว หลังจากยุทธการอานาคอนดาซึ่งเป็นการไล่ล่ากองกำลังทาลีบัน-อัล ไคดาครั้งใหญ่ในหุบเขาชาอี-ค็อตของอาฟกานิสถานระหว่างวันที่2-16มีนาคมปี 2002 รายงานของเนติคที่นำเสนอโดยพันโทชาร์ลี ดีนและจ่าสิบตรีแซม นิวแลนด์เกี่ยวกับM4และทหารสหรัฐฯจำนวน1,700นายที่ใช้มันปรากฏผลดังนี้คือ 34%รายงานว่าประกับรองมือของM4ร้อนจนจับลำบากเมื่อยิงต่อเนื่อง 15%มีปัญหากับการเล็งศูนย์สะท้อนแสงM68 35%ต้องเพิ่มแปรงปัดฝุ่น และ24%ต้องการให้เพิ่มไม้จิ้มฟันเพื่อแคะชิ้นส่วนเข้าในชุดทำความสะอาดปืนเพราะกองทัพไม่ได้ให้มา
เมื่อมาดูเหตุขัดข้องจากการใช้งานก็ปรากฏผลดังนี้ 20%รายงานว่าซองกระสุนป้อนกระสุนซ้อนสอง(ทำให้ยิงไม่ได้รวมถึงคัดปลอกไม่ออก)15%รายงานว่าขัดลำกล้อง 13%รายงานว่าซองกระสุนมีปัญหา(ตั้งแต่ไม่ยอมป้อนกระสุนถึงป้อนไม่เข้ารังเพลิง) แต่ตัวเลขที่น่าสนใจคือทหาร89%ที่ใช้M4บอกว่ายังมั่นใจฝากชีวิตไว้กับมัน ในขณะที่20%ยังบ่นเรื่องต้องทำความสะอาดกันบ่อยๆ ในส่วนที่ต้องการความเปลี่ยนแปลงปรากฏผลดังนี้คือ 55%ต้องการให้สร้างปืนให้เบาลงและ20%อยากได้ซองกระสุนจุกระสุนได้มากกว่ามาตรฐานเดิม
อีกเรื่องที่กล่าวขานกันมากคือการทดสอบระหว่างM4ของโคลต์ เปรียบเทียบกับปืนเล็กสั้นอื่นๆคือXM8ปืนใหม่ที่เพิ่งล้มโครงการไปเมื่อไม่กี่ปีก่อน ปืนSCARของFNจากเบลเยียม และHK416ของเฮคเลอร์ อุนต์ โค้คจากเยอรมนี ด้วยการหมกทรายไว้ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนถึงปลายเดือนพฤศจิกายนปี2007 ก่อนจะให้เจ้าหน้าที่จากศูนย์ทดสอบและประเมินผลของสนามทดสอบอาวุธอาเบอร์ดีน ขุดทุกกระบอกขึ้นมายิงทดสอบด้วยกระสุน6,000นัด ดังที่ทราบกันจากสื่อต่างๆว่าM4ขัดลำกล้องด้วยเหตุขัดข้อง3ระดับ(ระดับ1:แก้ไขได้ภายใน3วินาที ด้วยการดึงสไลด์คัดปลอก ระดับ2: แก้ไขได้ภายในเวลา30วินาทีด้วยการดึงสไลด์/ใช้คีมคีบปลอกที่ถูกสไลด์งับออกทางช่องคัดปลอก/ถอดซองกระสุน ระดับ3: นำส่งช่างอาวุธ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ในสนาม)มากที่สุดคือ 882จากทั้งหมด6,000นัด
ผลที่ตามมาคือในความขัดข้องทั้งหมดนี้ ซองกระสุนของM4ถูกเพ่งเล็งมากที่สุดรองลงมาคือลำกล้อง ซึ่งโคลต์ได้นำข้อมูลไปปรับปรุงโดยกองทัพบกตั้งข้อสังเกตเน้นที่ซองกระสุน เพราะการขัดข้องทั้งหมด882ครั้งนั้นเป็นเหตุจากซองกระสุนเสีย239ครั้ง ดังนั้นส่วนที่ต้องปรับปรุงคือทำซองกระสุนใหม่ให้จุกระสุนได้มากขึ้น ป้อนกระสุนได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ทำลำกล้องชุบโครเมียมด้านในให้หนาขึ้นเพื่อยืดอายุการใช้งาน รวมปรับปรุงรายละเอียดปลีกย่อยที่กองทัพบกต้องการให้แล้วเสร็จภายในฤดูใบไม้ผลิปีถัดมา ก่อนส่งของที่ปรับปรุงแล้วเข้าประจำการใหม่เมื่อปีที่แล้วนี้เอง
ถ้าจะพูดกันโดยวัดตามสภาพการใช้งานจริงซึ่งไม่ได้โหดร้ายทารุณเท่าการทดสอบแล้ว การจะด่วนสรุปว่าM4ด้อยที่สุดจะเป็นการไม่ยุติธรรมกับโคลต์เกินไปหรือเปล่า? หลังการทดสอบครั้งนั้นทำไมจึงไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นกับหน่วยงานด้านสรรพาวุธกองทัพบกสหรัฐฯ? เหตุขัดข้องดังกล่าวจะเกิดขึ้นในจำนวนเท่ากันหรือไม่เมื่อM4ถูกใช้งานในเขตอื่นที่ไม่ใช่ทะเลทราย? เพราะภารกิจของหน่วยรบย่อมต้องแตกต่างกันอยู่แล้วทั้งในวิธีปฏิบัติและภูมิประเทศ ถ้าจะด่วนสรุปว่าM4ด้อยกว่าปืนเล็กสั้นจากค่ายอื่น ก็หมายความว่ากองทัพสหรัฐฯที่รบบ่อยที่สุดและส่งทหารไปทั่วโลกได้ภายใน24ชั่วโมง ให้ทหารใช้อาวุธประจำกาย”ห่วยๆ”มาตลอด40ปีกระนั้นหรือ? ถ้า”ห่วย”จริงทำไมทหารในยุทธการอานาคอนดาซึ่งเป็นปฏิบัติการในทะเลทรายถึงยอดเขาหนาวเหน็บจึงแสดงความพึงพอใจกับM4ถึง89%?
ด้วยความเป็นที่นิยมของM4นี่เอง ที่ทำให้ผู้ผลิตอาวุธหลายแบรนด์ต่างผลิตปืนเลียนแบบกันเป็นว่าเล่น ทั้งแบบปืนสงคราม(ยิงแบบอัตโนมัติได้) และใช้ในกิจการพลเรือนตั้งแต่ยิงเป้าตามสนามยิงปืนไปจนถึงใช้เฝ้าเรือกสวนไร่นา(ยิงทีละนัด)ทั้งลำกล้องสั้นและยาว เมื่อรหัสM4และแบบรวมถึง”โนว์ฮาว”ของมันได้ถูกโคลต์จดสิทธิบัตรไว้แล้ว ไม่ว่าใครจะสร้างปืนขึ้นมาได้รูปร่างหน้าตาเหมือนM4อย่างไรก็ไม่สามารถใช้ชื่อว่าM4ได้ ในเดือนเมษายน 2004 โคลต์จึงดำเนินคดีกับเอชแอนด์เค ห้ามใช้รหัสว่าM4กับปืนของตนที่มีลักษณะเดียวกันกับปืนของโคลต์ HK M4ของเอชแอนด์เคจึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็นHK416
หากจะดูกันตามประวัติของโคลต์ คงต้องยอมรับความจริงว่าบริษัทนี้สร้างปืน”อย่างเดียว”มาตลอด150ปีนับแต่นายซามิวเอล โคลต์ก่อตั้งบริษัทจากการสร้างปืนพกกระบอกแรกจากความหลงไหลปืนสั้น ปืนจากโคลต์คือเครื่องมือสำคัญในการสร้างชาติ ตั้งแต่สมัยผู้ตั้งถิ่นฐานรบแย่งชิงพื้นที่กับชาวอเมริกันพื้นเมือง(อินเดียน) ปืนพกแบบM1911ขนาด11ม.ม.รุ่นมาตรฐานยังถูกใช้ในกองทัพทั่วโลกมาจนถึงทุกวันนี้ ไม่นับที่ซื้อลิขสิทธิ์ไปผลิตได้รูปร่างหน้าตาเหมือนกันแล้วใช้แบรนด์ของตน
ทั้งปืนเล็กยาวM16A4และปืนเล็กสั้นM4 ได้ถูกผลิตป้อนให้ทุกเหล่าทัพของสหรัฐฯและใช้โดยประเทศในกลุ่มนาโตกับอีก80ประเทศทั่วโลก รวมทั้งกองทัพไทยที่ไม่ได้เพิ่งมาใช้แต่รุ่นA4แต่ใช้M16มาตั้งแต่รุ่นแรก ตลอดเวลา40ปีโคลต์ได้ทดสอบ ประเมินผลและปรับปรุงผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากการใช้งานจริงจากเหล่าทัพที่ออกสู่แนวหน้าบ่อยที่สุดคือกองทัพบกและนาวิกโยธิน จนผ่านการรับรองมาตรฐานISO 9001ในปี2001เป็นประกาศณียบัตรในความสม่ำเสมอของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ แม้แต่ในปัจจุบันโคลต์ยังเปิดรับความคิดเห็นจากประเทศผู้ใช้งานทั่วโลกอยู่เพื่อนำมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ทั้งM16A4และM4
โดยส่วนตัวผมยังเชื่อมั่นในคุณภาพของโคลต์อยู่ โดยเฉพาะM4นั้นเป็นปืนที่สนุกเมื่อได้ทดลองยิงเพราะแรงรีคอยล์ต่ำลำกล้องไม่เงย ควบคุมกลุ่มกระสุนได้ง่าย น้ำหนักก็เบาคล่องตัวโดยเฉพาะพานท้ายปรับได้นั้นช่วยได้มากเมื่อประทับยิงขณะแต่งกายด้วยชุดสนามครบทั้งเกราะและอุปกรณ์อื่นๆ จากคำบอกเล่าของเพื่อนที่เป็นทหารและมีประสบการณ์มากกว่าแค่ใช้มันยิง การใช้เรือนเครื่องลั่นไกของM16เดิมกับชุดลูกสูบและโครงท่อนบนของM4ประกอบกันกลับจะทำให้มันยิงได้คล่องกว่าของใหม่แกะกล่องเสียอีก ไม่ซื้อทั้งกระบอกซื้อแค่ครึ่งกระบอกก็ยังคุ้ม
จากสเปคของมันที่เหมาะกับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ หน่วยรบที่ต้องการความแม่นยำและประสิทธิภาพสูงสุดของอาวุธ/ระบบอาวุธประจำกาย ไม่ว่ากองทัพไทยจะตัดสินใจสั่งซื้อปืนเล็กสั้นทั้งM4และM4A1ไปแล้วหรือกำลังจะตัดสินใจ ผมภาวนาว่าถ้าเป็นM4ก็ขอให้เป็นของโคลต์ ดีเฟนซ์แห่งเมืองฮาร์ทฟอร์ด รัฐคอนเนคติกัตที่เป็นแบรนด์โคลต์แท้ๆและดั้งเดิมเท่านั้น รองลงไปจากนี้แล้วคงหาความมั่นใจได้ยาก ราคาถูกกว่ากันไม่เท่าไรอาจจะกลายเป็น”ได้ไม่คุ้มเสีย”ไปในอนาคตอันใกล้ เมื่อเทียบกับ”โคลต์แท้ๆและดั้งเดิม”
ชอบบทความของคุณมากครับ
ตอบลบขอบคุณมากครับ อัพเดททุกเดือนสองเดือน ว่างๆเชิญเข้ามาอ่านนะครับ
ตอบลบแสดงว่าโครงบน M4 ไส่กับโครงล่าง M16A2ได้ไช่มั้ย
ตอบลบใส่ได้ครับ
ตอบลบ