หลักนิยมของกองทัพทั่วโลกที่ถูกกล่าวขวัญกันมากตอนนี้คือสงครามเครือข่าย(Network Centric Warfare : NCO) ด้วยแนวความคิดคือใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่และเฉพาะทางให้ได้ประโยชน์สูงสุด เพื่อเอื้ออำนวยให้ทหารหยั่งรู้สถานการณ์(Siruation Awareness)ได้เร็ว มีเวลาตัดสินใจพอเพียงที่จะชิงลงมือก่อนฝ่ายตรงข้าม ยังผลต่อเนื่องคือลดการสูญเสียของฝ่ายตน คงไว้ซึ่งความอยู่รอดในสนามรบและสามารถทำลายเป้าหมายได้รวดเร็วด้วยกำลังที่ไม่จำเป็นต้องมากกว่าเสมอไป ผลพลอยได้คือกองทัพไม่จำเป็นต้องใหญ่เสมอไปก็รบชนะได้ด้วยเทคโนโลยีที่เหนือกว่า
กำลังรบทั้งสามมิติต้องประสานงานกันได้โดยไม่จำเป็นต้องพูด ด้วยข้อความและสัญลักษณ์จากจอภาพและภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมและอากาศยานไร้นักบิน ทั้งหมดนี้จะรวมกันเป็นระบบด้วยความมุ่งหมายสำคัญคือเพื่อหยั่งรู้สถานการณ์ ให้ทหารอยู่รอดในสนามรบขณะเดียวกับทำลายเป้าหมายได้สำเร็จ
ด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้ยุทโธปกรณ์เล็กลงและเบาขึ้นจนทหารสามารถนำสิ่งอุปกรณ์อันจำเป็นติดตัวไปได้มากกว่าเดิม การทำให้ทหารราบกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบจึงเกิดขึ้นด้วยชื่อว่า Land Warrior System โครงการปรับปรุงเครื่องช่วยรบของกองทัพบกสหรัฐฯที่ดำเนินการเป็นรูปธรรมในปี2007 เพื่อใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารช่วยให้ทหารหยั่งรู้สถานการณ์มากที่สุด นำไปสู่การลดความสูญเสียกำลังพลซึ่งเป็นทรัพยากรสูงค่าที่สุดในกองทัพ
ด้วยหลักการสำคัญๆ3ประการที่ทำให้เกิดระบบแลนด์วอริเออร์คือ 1.ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสูงประกอบอาวุธประจำกาย 2.เพิ่มอำนาจการติดต่อสื่อสาร บัญชาการและควบคุมให้ทหารราบในแนวหน้า 3.ให้ทหารแต่ละนายคือหน่วยรบในตัวเอง สามารถดำเนินกลยุทธ์ได้เองแทนการเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยรบใหญ่กว่า
โครงการนี้เกิดจากแนวความคิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทหารและลดอัตราการสูญเสีย ได้ทดลองกันมาแล้วเกือบยี่สิบปีตั้งแต่ก่อนสงครามอ่าวครั้งแรกไม่นาน โดยหัวเรือใหญ่คือเนติกแล็บ(ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมแห่งกองทัพบก : Natick Doldier Research Development and Engineering Center) เน้นที่วิธีการทำให้ทหารแต่ละนายกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบการรบแบบNCO
โดยโครงการแลนด์วอริเออร์จะถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการกองทัพแห่งอนาคต(Future Force Warrior) เพื่อจัดหาอุปกรณ์อีเลคทรอนิคช่วยรบน้ำหนักเบาให้ทหารในระดับหน่วยรบย่อยใช้ ให้รบได้เป็นเครือข่าย(NCO.)สมบูรณ์แบบ โดยโครงการนี้เริ่มขึ้นในปี2006โดยเจ้าของโครงการคือกองทัพบกและบริษัทผู้รับช่วงพัฒนาคือบริษัทเจเนอรัล ไดนามิก ซี4 ซิสเต็ม หลักการคือทำทุกอย่างให้ทหารหยั่งรู้สถานการณ์รอบตัวมากที่สุด รวมทั้งสามารถติดต่อประสานงานกับหน่วยรบเดียวกัน/ใกล้เคียง เครื่องบินและเรือรบได้
ด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วหรือที่พัฒนาขึ้นใหม่เพื่อการนี้โดยเฉพาะ ทั้งคอมพิวเตอร์ติดตัว เครื่องชี้เป้าด้วยเลเซอร์ ระบบนำทางจีพีเอส จอภาพแอลซีดีหรืออุปกรณ์ใดๆก็ตามแม้แต่ไอพ็อดหรือไอโฟน เพื่อจะช่วยเพิ่มข้อมูลเพื่อตัดสินใจให้ทหาร ยิ่งรู้มากยิ่งตัดสินใจได้ปลอดภัยและมีโอกาสอยู่รอดสูง
ด้วยอุปกรณ์สื่อสารและไอทีต่างๆที่ทหารนำเข้าสนามรบ มันจะช่วยให้แต่ละนายทราบความเป็นไปในชุดของตนว่ามีเพื่อนรบได้อยู่กี่คน แต่ละคนมีกระสุนเหลือเท่าไร มีตำแหน่งวางตัวอยู่ที่ไหน หน่วยรบใกล้เคียงในระยะใกล้ที่สุดอยู่ห่างไปกี่เมตร(หรือกิโลเมตร) ทราบตำแหน่งข้าศึกรวมทั้งเห็นภาพได้จากอากาศยานไร้นักบินทั้งเล็กและใหญ่(เรฟเวน,พรีเดเตอร์) เรียกเครื่องบินหรือขีปนาวุธจากเรือมาถล่มเป้าหมายภาคพื้นดินได้โดยแค่กดปุ่มส่งค่าพิกัดจีพีเอส ติดต่อกับหน่วยเหนือได้โดยตรงพร้อมส่งภาพแบบเวลาจริง(real time)เหมือนที่ตนเห็นทางจอภาพติดหมวกเพื่อช่วยการตัดสินใจของผู้บังคับบัญชา ติดต่อสื่อสารกับชนพื้นเมืองที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษด้วยข้อความหรือเสียงพูดประโยคสำคัญในภาษานั้น(เช่นสั่งให้หยุดยิง,ขอตรวจค้น,ขอบคุณ ฯลฯในภาษาถิ่น)และข้อมูลอื่นๆที่หน่วยรบภาคพื้นดินควรรู้
ในฤดูร้อนของปี2006กองทัพบกสหรัฐฯได้ประเมินผลโครงการแลนด์วอริเออร์อย่างละเอียด ที่ฟอร์ทลิวอิส รัฐวอชิงตัน ที่ถูกประเมินผลพร้อมกันคือระบบสำหรับพลประจำยานที่จะช่วยให้ทราบความเป็นไปทั้งหมดรอบตัวได้ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกยานรบ ทั้งหมดนี้ถูกดำเนินการระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกันยายนในปีนั้น โดยมีหนูทดลองคือกองพันที่4สังกัดกรมทหารราบที่9แห่งกองพลน้อยที่4”สไตรเกอร์” กองพลทหารราบที่2 เป็นการทดสอบระบบด้วยกองกำลังระดับกองพันเพื่อทราบข้อดีข้อเสียเมื่อใช้กองกำลังขนาดใหญ่กับระบบนี้ แทนที่จะเป็นชุดปฏิบัติการเล็กๆ
ผลสรุปจากการประเมินที่ปรากฎในปี2007 คือกองทัพบกให้โครงการนี้ผ่านแต่ต้องปรับปรุงให้คล่องตัวขึ้นด้วยอุปกรณ์ติดตัวทหารไปเท่าที่จำเป็น การบริโภคข้อมูลข่าวสารมากเกินความจำเป็นและมีอุปกรณ์ไอทีติดตัวจนรุงรังกลับจะเป็นผลร้ายมากกว่าดี เพราะในสภาพการรบอันกดดันทหารจะ”สำลัก”ข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องและมากเกินจนไม่สามารถจดจ่อกับภารกิจตรงหน้าได้ ในที่สุดแลนด์วอริเออร์ในส่วนที่ปรับปรุงแล้วให้คล่องตัวกว่าเดิม ก็ถูกนำมาใช้ในอิรักด้วยจำนวน440ชุดสำหรับทหารราบและ147ชุดติดยานรบ(รถลำเลียงพลล้อยาง”สไตรเกอร์”,รถสายพานลำเลียงพล”แบรดลีย์”,รถถังหลัก”เอบรัมส์”,”ฮัมวี”และยานยนต์อื่น) ผลดีคือลดความสูญเสียได้มากและไม่จำเป็นต้องใช้กองกำลังขนาดใหญ่เข้ากวาดล้าง ทำให้ต้องเพิ่มระบบแลนด์วอริเออร์ให้กับกองพันที่5ของกองพลเดียวกันอีกนับพันชุด
ด้วยระบบแลนด์วอริเออร์นี้เอง ที่ทำให้ทหารราบแต่ละนายถูกหลอมรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบNCOอย่างแท้จริง โดยแต่เดิมใช้กันมากในเครื่องบินขับไล่ซึ่งรบแบบเครือข่ายได้ทรงประสิทธิภาพสูงสุดเนื่องจากเคลื่อนที่เร็วและใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารเต็มที่ ตัวอย่างชัดเจนคือในเครื่องบินรบยุคปัจจุบันรวมทั้งJAS39”กริปเปน” ที่นักบินสามารถเลือกเป้าหมายได้ รู้เป้าของเพื่อนในฝูง คำนวณลำดับความสำคัญเพื่อเข้าต่อตี ทราบจำนวนอาวุธทั้งระเบิดและขีปนาวุธ เชื่อมต่อการสื่อสารได้ทั้งกับหน่วยรบภาคพื้นดินและในทะเลเพื่อร่วมกันทำลาย แลนด์วอริเออร์ทำให้ทหารราบธรรมดากลายสภาพเป็นส่วนหนึ่งของระบบเสมือนเครื่องบินขับไล่ตัวอย่าง
อีกระบบเพื่อช่วยให้ทหารหยั่งรู้สถานการณ์คือระบบTacticomp จากเซียราเนวาดา คอร์โปเรชั่น เป็นผลจากการพัฒนาระบบช่วยรบทหารราบเพื่อเพิ่มอัตราการอยู่รอด คล้ายคลึงกับแลนด์วอริเออร์ของเจเนอรัลไดนามิกและเคยผ่านสมรภูมิมาแล้ว จนได้รับความไว้วางใจจากกองทัพบกให้ใช้ในกองกำลังระดับกองพลน้อยถึง6หน่วย มันถูกส่งเข้าสู่สมรภูมิจริง ใช้งานจริงมาแล้วถึงสามครั้งในการรบหนักๆ และแต่ละครั้งลดความสูญเสียทั้งบาดเจ็บและเสียชีวิตได้มากถึง70เปอร์เซ็นต์
แทคติคอมป์คือระบบรบแบบเครือข่ายที่ใช้ดาวเทียมเป็นหลัก ในเครือข่ายมีชื่อว่าTactinet ตามที่เซียราฯเจ้าของโครงการสรุปคือ”เป็นระบบช่วยรบติดตัวทหารอันประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ เครื่องมือติดต่อสื่อสารด้วยดาวเทียมและระบบบอกพิกัดภูมิศาสตร์จีพีเอสไว้เป็นโมดูลเดียวกัน และชุดจะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายสำหรับทหารราบ ทั้งชุดจะรวมเป็นหนึ่งเดียวกับทหารเสมือนอวัยวะ ให้เลือกฟังและเลือกดูได้ง่าย สะดวก ด้วยจอภาพติดหมวกนิรภัยรวมทั้งจอแสดงผลติดแขนพร้อมคีย์บอร์ด เลือกให้แสดงภาพพื้นที่การรบเป็นลายเส้นหรือแผนที่ภูมิประเทศได้ ระบุฝ่ายด้วยสีโดยให้ฝ่ายเดียวกันเป็นสีน้ำเงินและข้าศึกเป็นสีแดง รายงานสถานการณ์หรือขอการสนับสนุนได้ทั้งด้วยเสียงและข้อความจากการพิมพ์คีย์บอร์ด ทหารสามารถรับภาพได้ทั้งจากอากาศยานไร้นักบินและจากดาวเทียม ติดต่อกับผู้บัญชาการหน่วยรบได้โดยตรงหรือจะพูดกับประธานาธิบดีด้วยก็ยังได้ถ้าต้องการ!”
เรื่องทั้งหมดนี้คือความพยายามหนึ่งของกองทัพบกสหรัฐฯ ที่จะพัฒนาไปสู่ความเป็น”กองทัพดิจิตอล”เต็มรูปแบบทั้งยุทโธปกรณ์และบุคลากร เป็นเรื่องไม่ยากเลยสำหรับกองทัพขนาดใหญ่ของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแข็งแกร่งเช่นนั้น รวมทั้งบุคลากรก็พร้อม เพราะเด็กอเมริกันเติบโตขึ้นมาพร้อมกับเกมนินเทนโดและเครื่องเล่นเกมเพลย์สเตชั่น นักบินเครื่องบินรบหลายคนที่ฝึกกับเครื่องช่วยฝึก(simulator)ของเครื่องบินอย่างF-16 หรือเฮลิคอปเตอร์โจมตีAH-64”อะแพชี่”แล้ว พบว่ามันแทบไม่ต่างกันเลยกับเกมกดปุ่มที่บ้านทั้งภาพและเสียง
ระบบแลนด์วอริเออร์และแทคติคอมป์จึงเป็นเรื่องน่าสนใจ และหากกองทัพของเราสามารถพัฒนาขึ้นเองด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ได้ เหมือนหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดหรือยุทโธปกรณ์อื่นๆที่คนไทยทำได้ด้วยราคาต่ำกว่าอย่างน่าใจหาย มันก็จะช่วยสงวนชีวิตอันมีค่าของกำลังพลไว้ได้มาก รวมทั้งยังช่วยให้กองทัพปรับขนาดให้เล็กลงแต่ประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมได้ง่ายด้วย
เรื่องจะทำให้กองทัพเล็กลง โดยพัฒนาเทคโนโลยีมาช่วยทหารจะได้ประหยัดงบประมาณได้ในระยะยาวนั้นคิดกันบ้างหรือเปล่า? หรือว่าถนัดแต่จะตัดงบกันอย่างเดียว?
กำลังรบทั้งสามมิติต้องประสานงานกันได้โดยไม่จำเป็นต้องพูด ด้วยข้อความและสัญลักษณ์จากจอภาพและภาพเคลื่อนไหวจากดาวเทียมและอากาศยานไร้นักบิน ทั้งหมดนี้จะรวมกันเป็นระบบด้วยความมุ่งหมายสำคัญคือเพื่อหยั่งรู้สถานการณ์ ให้ทหารอยู่รอดในสนามรบขณะเดียวกับทำลายเป้าหมายได้สำเร็จ
ด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้ยุทโธปกรณ์เล็กลงและเบาขึ้นจนทหารสามารถนำสิ่งอุปกรณ์อันจำเป็นติดตัวไปได้มากกว่าเดิม การทำให้ทหารราบกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบจึงเกิดขึ้นด้วยชื่อว่า Land Warrior System โครงการปรับปรุงเครื่องช่วยรบของกองทัพบกสหรัฐฯที่ดำเนินการเป็นรูปธรรมในปี2007 เพื่อใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารช่วยให้ทหารหยั่งรู้สถานการณ์มากที่สุด นำไปสู่การลดความสูญเสียกำลังพลซึ่งเป็นทรัพยากรสูงค่าที่สุดในกองทัพ
ด้วยหลักการสำคัญๆ3ประการที่ทำให้เกิดระบบแลนด์วอริเออร์คือ 1.ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสูงประกอบอาวุธประจำกาย 2.เพิ่มอำนาจการติดต่อสื่อสาร บัญชาการและควบคุมให้ทหารราบในแนวหน้า 3.ให้ทหารแต่ละนายคือหน่วยรบในตัวเอง สามารถดำเนินกลยุทธ์ได้เองแทนการเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยรบใหญ่กว่า
โครงการนี้เกิดจากแนวความคิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทหารและลดอัตราการสูญเสีย ได้ทดลองกันมาแล้วเกือบยี่สิบปีตั้งแต่ก่อนสงครามอ่าวครั้งแรกไม่นาน โดยหัวเรือใหญ่คือเนติกแล็บ(ศูนย์วิจัยและพัฒนาวิศวกรรมแห่งกองทัพบก : Natick Doldier Research Development and Engineering Center) เน้นที่วิธีการทำให้ทหารแต่ละนายกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบการรบแบบNCO
โดยโครงการแลนด์วอริเออร์จะถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการกองทัพแห่งอนาคต(Future Force Warrior) เพื่อจัดหาอุปกรณ์อีเลคทรอนิคช่วยรบน้ำหนักเบาให้ทหารในระดับหน่วยรบย่อยใช้ ให้รบได้เป็นเครือข่าย(NCO.)สมบูรณ์แบบ โดยโครงการนี้เริ่มขึ้นในปี2006โดยเจ้าของโครงการคือกองทัพบกและบริษัทผู้รับช่วงพัฒนาคือบริษัทเจเนอรัล ไดนามิก ซี4 ซิสเต็ม หลักการคือทำทุกอย่างให้ทหารหยั่งรู้สถานการณ์รอบตัวมากที่สุด รวมทั้งสามารถติดต่อประสานงานกับหน่วยรบเดียวกัน/ใกล้เคียง เครื่องบินและเรือรบได้
ด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วหรือที่พัฒนาขึ้นใหม่เพื่อการนี้โดยเฉพาะ ทั้งคอมพิวเตอร์ติดตัว เครื่องชี้เป้าด้วยเลเซอร์ ระบบนำทางจีพีเอส จอภาพแอลซีดีหรืออุปกรณ์ใดๆก็ตามแม้แต่ไอพ็อดหรือไอโฟน เพื่อจะช่วยเพิ่มข้อมูลเพื่อตัดสินใจให้ทหาร ยิ่งรู้มากยิ่งตัดสินใจได้ปลอดภัยและมีโอกาสอยู่รอดสูง
ด้วยอุปกรณ์สื่อสารและไอทีต่างๆที่ทหารนำเข้าสนามรบ มันจะช่วยให้แต่ละนายทราบความเป็นไปในชุดของตนว่ามีเพื่อนรบได้อยู่กี่คน แต่ละคนมีกระสุนเหลือเท่าไร มีตำแหน่งวางตัวอยู่ที่ไหน หน่วยรบใกล้เคียงในระยะใกล้ที่สุดอยู่ห่างไปกี่เมตร(หรือกิโลเมตร) ทราบตำแหน่งข้าศึกรวมทั้งเห็นภาพได้จากอากาศยานไร้นักบินทั้งเล็กและใหญ่(เรฟเวน,พรีเดเตอร์) เรียกเครื่องบินหรือขีปนาวุธจากเรือมาถล่มเป้าหมายภาคพื้นดินได้โดยแค่กดปุ่มส่งค่าพิกัดจีพีเอส ติดต่อกับหน่วยเหนือได้โดยตรงพร้อมส่งภาพแบบเวลาจริง(real time)เหมือนที่ตนเห็นทางจอภาพติดหมวกเพื่อช่วยการตัดสินใจของผู้บังคับบัญชา ติดต่อสื่อสารกับชนพื้นเมืองที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษด้วยข้อความหรือเสียงพูดประโยคสำคัญในภาษานั้น(เช่นสั่งให้หยุดยิง,ขอตรวจค้น,ขอบคุณ ฯลฯในภาษาถิ่น)และข้อมูลอื่นๆที่หน่วยรบภาคพื้นดินควรรู้
ในฤดูร้อนของปี2006กองทัพบกสหรัฐฯได้ประเมินผลโครงการแลนด์วอริเออร์อย่างละเอียด ที่ฟอร์ทลิวอิส รัฐวอชิงตัน ที่ถูกประเมินผลพร้อมกันคือระบบสำหรับพลประจำยานที่จะช่วยให้ทราบความเป็นไปทั้งหมดรอบตัวได้ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกยานรบ ทั้งหมดนี้ถูกดำเนินการระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกันยายนในปีนั้น โดยมีหนูทดลองคือกองพันที่4สังกัดกรมทหารราบที่9แห่งกองพลน้อยที่4”สไตรเกอร์” กองพลทหารราบที่2 เป็นการทดสอบระบบด้วยกองกำลังระดับกองพันเพื่อทราบข้อดีข้อเสียเมื่อใช้กองกำลังขนาดใหญ่กับระบบนี้ แทนที่จะเป็นชุดปฏิบัติการเล็กๆ
ผลสรุปจากการประเมินที่ปรากฎในปี2007 คือกองทัพบกให้โครงการนี้ผ่านแต่ต้องปรับปรุงให้คล่องตัวขึ้นด้วยอุปกรณ์ติดตัวทหารไปเท่าที่จำเป็น การบริโภคข้อมูลข่าวสารมากเกินความจำเป็นและมีอุปกรณ์ไอทีติดตัวจนรุงรังกลับจะเป็นผลร้ายมากกว่าดี เพราะในสภาพการรบอันกดดันทหารจะ”สำลัก”ข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องและมากเกินจนไม่สามารถจดจ่อกับภารกิจตรงหน้าได้ ในที่สุดแลนด์วอริเออร์ในส่วนที่ปรับปรุงแล้วให้คล่องตัวกว่าเดิม ก็ถูกนำมาใช้ในอิรักด้วยจำนวน440ชุดสำหรับทหารราบและ147ชุดติดยานรบ(รถลำเลียงพลล้อยาง”สไตรเกอร์”,รถสายพานลำเลียงพล”แบรดลีย์”,รถถังหลัก”เอบรัมส์”,”ฮัมวี”และยานยนต์อื่น) ผลดีคือลดความสูญเสียได้มากและไม่จำเป็นต้องใช้กองกำลังขนาดใหญ่เข้ากวาดล้าง ทำให้ต้องเพิ่มระบบแลนด์วอริเออร์ให้กับกองพันที่5ของกองพลเดียวกันอีกนับพันชุด
ด้วยระบบแลนด์วอริเออร์นี้เอง ที่ทำให้ทหารราบแต่ละนายถูกหลอมรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบNCOอย่างแท้จริง โดยแต่เดิมใช้กันมากในเครื่องบินขับไล่ซึ่งรบแบบเครือข่ายได้ทรงประสิทธิภาพสูงสุดเนื่องจากเคลื่อนที่เร็วและใช้เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารเต็มที่ ตัวอย่างชัดเจนคือในเครื่องบินรบยุคปัจจุบันรวมทั้งJAS39”กริปเปน” ที่นักบินสามารถเลือกเป้าหมายได้ รู้เป้าของเพื่อนในฝูง คำนวณลำดับความสำคัญเพื่อเข้าต่อตี ทราบจำนวนอาวุธทั้งระเบิดและขีปนาวุธ เชื่อมต่อการสื่อสารได้ทั้งกับหน่วยรบภาคพื้นดินและในทะเลเพื่อร่วมกันทำลาย แลนด์วอริเออร์ทำให้ทหารราบธรรมดากลายสภาพเป็นส่วนหนึ่งของระบบเสมือนเครื่องบินขับไล่ตัวอย่าง
อีกระบบเพื่อช่วยให้ทหารหยั่งรู้สถานการณ์คือระบบTacticomp จากเซียราเนวาดา คอร์โปเรชั่น เป็นผลจากการพัฒนาระบบช่วยรบทหารราบเพื่อเพิ่มอัตราการอยู่รอด คล้ายคลึงกับแลนด์วอริเออร์ของเจเนอรัลไดนามิกและเคยผ่านสมรภูมิมาแล้ว จนได้รับความไว้วางใจจากกองทัพบกให้ใช้ในกองกำลังระดับกองพลน้อยถึง6หน่วย มันถูกส่งเข้าสู่สมรภูมิจริง ใช้งานจริงมาแล้วถึงสามครั้งในการรบหนักๆ และแต่ละครั้งลดความสูญเสียทั้งบาดเจ็บและเสียชีวิตได้มากถึง70เปอร์เซ็นต์
แทคติคอมป์คือระบบรบแบบเครือข่ายที่ใช้ดาวเทียมเป็นหลัก ในเครือข่ายมีชื่อว่าTactinet ตามที่เซียราฯเจ้าของโครงการสรุปคือ”เป็นระบบช่วยรบติดตัวทหารอันประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ เครื่องมือติดต่อสื่อสารด้วยดาวเทียมและระบบบอกพิกัดภูมิศาสตร์จีพีเอสไว้เป็นโมดูลเดียวกัน และชุดจะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายสำหรับทหารราบ ทั้งชุดจะรวมเป็นหนึ่งเดียวกับทหารเสมือนอวัยวะ ให้เลือกฟังและเลือกดูได้ง่าย สะดวก ด้วยจอภาพติดหมวกนิรภัยรวมทั้งจอแสดงผลติดแขนพร้อมคีย์บอร์ด เลือกให้แสดงภาพพื้นที่การรบเป็นลายเส้นหรือแผนที่ภูมิประเทศได้ ระบุฝ่ายด้วยสีโดยให้ฝ่ายเดียวกันเป็นสีน้ำเงินและข้าศึกเป็นสีแดง รายงานสถานการณ์หรือขอการสนับสนุนได้ทั้งด้วยเสียงและข้อความจากการพิมพ์คีย์บอร์ด ทหารสามารถรับภาพได้ทั้งจากอากาศยานไร้นักบินและจากดาวเทียม ติดต่อกับผู้บัญชาการหน่วยรบได้โดยตรงหรือจะพูดกับประธานาธิบดีด้วยก็ยังได้ถ้าต้องการ!”
เรื่องทั้งหมดนี้คือความพยายามหนึ่งของกองทัพบกสหรัฐฯ ที่จะพัฒนาไปสู่ความเป็น”กองทัพดิจิตอล”เต็มรูปแบบทั้งยุทโธปกรณ์และบุคลากร เป็นเรื่องไม่ยากเลยสำหรับกองทัพขนาดใหญ่ของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแข็งแกร่งเช่นนั้น รวมทั้งบุคลากรก็พร้อม เพราะเด็กอเมริกันเติบโตขึ้นมาพร้อมกับเกมนินเทนโดและเครื่องเล่นเกมเพลย์สเตชั่น นักบินเครื่องบินรบหลายคนที่ฝึกกับเครื่องช่วยฝึก(simulator)ของเครื่องบินอย่างF-16 หรือเฮลิคอปเตอร์โจมตีAH-64”อะแพชี่”แล้ว พบว่ามันแทบไม่ต่างกันเลยกับเกมกดปุ่มที่บ้านทั้งภาพและเสียง
ระบบแลนด์วอริเออร์และแทคติคอมป์จึงเป็นเรื่องน่าสนใจ และหากกองทัพของเราสามารถพัฒนาขึ้นเองด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ได้ เหมือนหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดหรือยุทโธปกรณ์อื่นๆที่คนไทยทำได้ด้วยราคาต่ำกว่าอย่างน่าใจหาย มันก็จะช่วยสงวนชีวิตอันมีค่าของกำลังพลไว้ได้มาก รวมทั้งยังช่วยให้กองทัพปรับขนาดให้เล็กลงแต่ประสิทธิภาพสูงกว่าเดิมได้ง่ายด้วย
เรื่องจะทำให้กองทัพเล็กลง โดยพัฒนาเทคโนโลยีมาช่วยทหารจะได้ประหยัดงบประมาณได้ในระยะยาวนั้นคิดกันบ้างหรือเปล่า? หรือว่าถนัดแต่จะตัดงบกันอย่างเดียว?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น