ปืนเล็กยาว(assault rifle)เด่นๆที่มีใช้ในกองทัพทั่วโลกปัจจุบันนี้มีไม่กี่ตระกูล ที่ครองตลาดส่วนใหญ่คงหนีไม่พ้นปืนจากสองค่ายคือสหรัฐฯและรัสเซีย เราได้เห็นปืนจากทั้งสองค่ายนี้คู่กายทหารทั้งในภาพยนตร์ข่าวสงครามและระหว่างปฏิบัติหน้าที่จริงบ่อยๆในยามสงบ เช่นการเข้าควบคุมสถานการณ์อันไม่ปกติในกรุงเทพฯที่เพิ่งผ่านไป เราปฏิเสธไม่ได้ว่ากองทัพไทยคุ้นเคยกับอาวุธจากสหรัฐฯมาตลอด ตั้งแต่M1ถึงM16รุ่นแรกจนถึงรุ่นล่าสุดที่เข้าประจำการคือM16A4 และที่กำลังทยอยเข้าประจำการโดยเฉพาะหน่วยรบพิเศษคือปืนเล็กสั้น(carbine)M4A1จากบริษัทโคลต์ ดีเฟนซ์แห่งสหรัฐฯ ซึ่งผลิตปืนเล็กและปืนพกสนับสนุนกองทัพเมืองลุงแซมมานานปี เมื่อปืนเล็กสั้นM4และM4A1ซึ่งพัฒนามาจากM4เดิมมีข้อดีและเสียให้พิจารณาเมื่อเปรียบเทียบกับปืนเล็กยาวและเล็กสั้นอื่นๆ จึงไม่น่าจะเสียหายหากจะกล่าวถึงความเป็นมารวมทั้งรายละเอียดต่างๆและสถิติเกี่ยวกับปืนแบบนี้
ปืนเล็กสั้น(carbine : คาร์บินตามสำเนียงอเมริกัน)แบบM4 คือปืนเล็กพานท้ายปรับความยาวได้หน้าตาเหมือนM16ตัดลำกล้อง ซึ่งไม่แปลกเพราะM4ก็คือปืนในตระกูลM16นั่นเองซึ่งพัฒนามาจากAR15เดิมของบริษัทอาร์มาไลต์ จะว่าเป็นแบบที่สั้นลงของM16A2ก็ได้เพราะมันใช้ชิ้นส่วนเดียวกับปืนเล็กยาวรุ่นนี้ถึง80เปอร์เซ็นต์ M4เดิมปรับการยิงได้2แบบคือยิงทีละนัดและยิงชุด3นัด(burst) แต่รุ่นถัดมาคือM4A1ถูกปรับปรุงให้ยิงอัตโนมัติแบบ”ฟูลออโต”ได้แทนการยิงทีละ3นัดเดิม มันดูเหมือนเป็นของใหม่สำหรับคนนอกกองทัพ แต่ในระหว่างสงครามเวียตนามกองทัพสหรัฐฯก็เคยมีปืนคาร์บินตระกูลM16ใช้แล้วเหมือนกัน คือXM177ที่เหมือนM16ตัดสั้นเพียงแต่ไม่มีรางติดอุปกรณ์บนโครงปืนและหูหิ้วด้านบนถอดไม่ได้ กลไกภายในยังเป็นของM16เดิมๆ เป็นแค่ปืนเล็กสั้นไม่ใช่ระบบอาวุธเหมือนM4A1
ปืนในตระกูลM16ถูกออกแบบมาด้วยแนวความคิดว่าต้องเบา ใช้กระสุนหน้าตัดเพียง5.56ม.ม.มาตรฐานนาโตเพื่อให้ทหารนำกระสุนติดตัวไปได้มาก M4ที่แตกสาขาออกมาก็ใช้แนวความคิดนี้ มันเบากว่าแต่ยังใช้กระสุนขนาดเท่าปืนเล็กยาวต้นตระกูล แต่ดีกว่าตรงที่พานท้ายปรับความยาวได้ทำให้คล่องตัวสำหรับทหารเคลื่อนที่ด้วยยานยนต์ ปรับพานท้ายหดเข้าร่องไหล่ได้ง่ายเมื่อสวมเกราะ ไม่เกะกะเมื่อเข้าค้นหาเป้าหมายในเขตอาคาร
เพราะเป็นปืนเล็กสั้นมันจึงติดตัวทหารไปได้สะดวกกว่าปืนเล็กยาว เหมาะทั้งกับการเคลื่อนที่ด้วยยานยนต์,เป็นอาวุธประจำกายทหารฝ่ายอำนวยการ และใช้รบระยะประชิดตามรูปแบบของสงครามในเมืองที่เกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทหารต้องการปืนใช้กระสุนขนาดเท่าเดิมแต่ความยาวปืนสั้นลง เหมาะกับการสู้รบจากอาคารถึงอาคาร ห้องถึงห้อง ในระยะปะทะไม่เกิน100-200เมตร ด้วยความเล็กกะทัดรัดแต่หมัดหนักนี้M4จึงเป็นอาวุธยอดฮิตของหน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษสหรัฐฯ(USSOCOM : United States Special Operation Command)และหน่วยปฏิบัติการพิเศษของกองทัพบก(กรีนเบเรต์) ไม่เพียงแต่สหรัฐฯเท่านั้นที่ใช้M4 กรมปฏิบัติการพิเศษSAS(Special Air Service)ของออสเตรเลียก็ใช้M4มานานเพราะคล่องตัว เพื่อนบ้านของเราคือมาเลเซียก็นำมันเข้าประจำการแทนปืนเล็กยาวสไตเออร์ เอยูจีแล้วในทุกเหล่าทัพของเขาเมื่อปี2006
M4ถูกพัฒนาและผลิตป้อนกองทัพของสหรัฐฯและพันธมิตรโดยบริษัทโคลต์ ดีเฟนซ์(Colt Defense) ซึ่งได้สัญญาผลิตปืนเล็กสั้นตระกูลM4นี้จนถึงปี2009 ปืนM4เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของโคลต์ไปแล้ว แต่เพราะความยอดนิยมของมันจึงมีผู้ผลิตปืนรูปร่างหน้าตาเหมือนกันไม่ผิดเพี้ยนแบรนด์อื่นออกป้อนตลาด ใช้อัลลอยด์และวัสดุคอมโพสิตผลิตโครงตามแต่ต้องการจะใช้อะไรเป็นจุดขาย บางรายก็นำเอากลไกเดิมของมันไปปรับปรุงให้ดีขึ้นซ้ำยังใช้กับชิ้นส่วนของM4เดิมได้ด้วย แบรนด์ที่เด่นๆคือบุชมาสเตอร์,สปริงฟีลด์,เอชแอนด์เคและอีกสองสามแบรนด์ทั้งในและนอกสหรัฐฯ ที่ผลิตทั้งปืนสงครามและปืนพลเรือน(ยิงได้ทีละนัด)แต่หน้าตาเหมือนM4
แต่เพราะความเป็นของแท้ และคุณภาพที่โคลต์ควบคุมไว้ได้ตลอดเวลาตามมาตรฐานที่กองทัพกำหนด(MilSpec) M4ของโคลต์จึงยังเป็นปืนคู่ใจของหน่วยรบของสหรัฐฯและพันธมิตร ตั้งแต่เขตป่าฝนของฟิลิปปินส์จนถึงดินแดนทะเลทรายของอิรักและอาฟกานิสถาน
กองทัพนาวิกโยธินของสหรัฐฯซึ่งต้องออกไปถึงพื้นที่สู้รบก่อนเหล่าทัพอื่นอยู่บ่อยๆตามภารกิจ ถึงกับมีคำสั่งเป็นทางการว่าทหารตั้งแต่ยศต่ำสุดถึงพันโทต้องมีM4A1เป็นอาวุธประจำกาย แทนที่จะพกแค่เบเรตต้าM9ขนาด9ม.ม.ติดตัว ด้วยสำนึกว่าภารกิจของนาวิกฯปัจจุบันนี้หนักหนาสาหัสกว่าแต่ก่อนโดยเฉพาะในตะวันออกกลาง การมีแค่ปืนพกไว้ป้องกันตัวจึงยังไม่พอ อีกประการหนึ่งคือเพื่อให้เป็นไปตามคำขวัญของนาวิกโยธินด้วย คือ”นาวิกฯทุกนายคือพลปืนเล็ก”(Every Marine a Rifleman) ทหารเสนารักษ์ของท.ร.ที่ออกรบเคียงกันก็ยังต้องมีM4A1ติดตัวแทนปืนพก M9
นอกจากความคล่องตัวและหมัดหนักเท่ากับปืนเล็กยาวแล้ว ความพิเศษของM4คือมันมีรางติดอุปกรณ์M1913”พิคาทินนี่”(Piccatinny rail)ประกอบ ที่ทำให้เป็นอาวุธเอนกประสงค์สมบูรณ์แบบ เปลี่ยนสภาพจากแค่ปืนเล็กสั้นมาเป็นระบบอาวุธหลายหน้าที่(modular weapon system) ทำงานได้มากกว่าแค่ยิงทำลายเป้าหมายเหมือนปืนเล็กธรรมดา มีตำแหน่งติดอุปกรณ์รอบประกับรองมือและบนโครงปืนให้เลือกติดอุปกรณ์เพิ่มสมรรถนะได้หลากหลาย ทั้งกล้องมองภาพกลางคืน(ไนท์วิชั่น) กล้องเล็งขยาย กล้องเล็งจุดแดงสำหรับการรบระยะประชิด ศูนย์เล็งเลเซอร์ เครื่องชี้เป้าด้วยอินฟราเรด เครื่องยิงลูกระเบิดM203ขนาด40ม.ม.และอื่นๆ โดยเฉพาะเครื่องยิงลูกระเบิดนี้สามารถใช้ยิงอาวุธไร้อันตราย(NLW : Non Lethal Weapon)อย่างกระสุนยาง,กระสุนตาข่ายเพื่อปราบจลาจลได้ด้วย
ปืนเล็กสั้นM4A1คือรุ่นที่ถูกปรับปรุงจากM4เดิม จากที่เลือกการยิงได้ครั้งละ3นัดมาเป็นอัตโนมัติเต็มรูปแบบเพื่อเน้นยิงข่มขวัญและตรึงเป้าหมาย โดยมุ่งหมายให้ใช้กับหน่วยปฏิบัติการพิเศษโดยเฉพาะ ถูกใช้งานในหลายหน่วยรบพิเศษของสหรัฐฯ เช่นเดลต้า ซีลกองทัพเรือ หน่วยค้นหาและกู้ภัยกองทัพอากาศ(Pararescue) หน่วยลาดตระเวนระยะไกลกองทัพบก(เรนเจอร์) ชุดควบคุมการรบพิเศษ(Combat Controller Special Tactics) เป็นอาวุธที่หน่วยต่อต้านการก่อการร้ายสหรัฐฯและตำรวจหน่วยSWATเลือกใช้ จากภารกิจที่ต้องเข้าตรวจค้นและบางครั้งถึงกับปะทะในที่แคบๆระยะยิงใกล้ M4และM4A1ยิงหวังผลได้ไกลเกือบเท่ากับปืนเล็กยาวตระกูลM16ที่ระยะ300-450เมตรก็จริง แต่สภาพการรบในปัจจุบันที่เน้นการค้นหาและทำลายในเขตเมือง และการปะทะส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นที่100-200เมตร ยิ่งในภาคใต้ของเรานั้นมีรายงานว่ายิงกันใกล้ๆแค่ไม่เกิน50เมตรเท่านั้น! ระยะยิงหวังผลของM4เพียงเท่านี้ก็นับว่าเหลือเฟือแล้ว
เพื่อให้M4A1คาร์บินกลายเป็นปืนประจำกองกำลังปฏิบัติการพิเศษเต็มรูปแบบ USSOCOMจึงนำมันไปพัฒนาให้ใช้งานได้เฉพาะปฏิบัติการพิเศษที่ต้องการมากกว่าแค่ยิงทำลายหมายและป้องกันตัว ด้วยรูปแบบที่เรียกว่า”ปืนเล็กสั้นดัดแปลงปฏิบัติการพิเศษ”(SOPMOD : Special Operation Peculiar Modification) มีออปชั่นเสริมจัดชุดเป็นกลุ่มก้อนให้เลือกใช้ประกอบปืนจัดเป็นบล็อค1(Block1) คือ1.เครื่องยิงลูกระเบิดM203 2.กระบอกเก็บเสียง 3.ศูนย์เล็งหลังสำรอง 4.เครื่องชี้เป้าด้วยเลเซอร์/อินฟราเรด AN/PEQ-2Aของอินไซต์เทคโนโลยี 5.กล้องเล็งขยายACOGของทริจิคอนและศูนย์เล็งสะท้อนแสง 6.ศูนย์เล็งกลางคืน(ไนท์วิชั่น) (ในภารกิจจริงทหารมักจะเลือกเปลี่ยนจากศูนย์สะท้อนแสงของทริจิคอนมาเป็นศูนย์สะท้อนจุดแดงของอีโอเทค เนื่องจากชัดเจนมองเห็นง่ายกว่า)
ใช่ว่าระบบอาวุธแบบโมดูลาร์ของM4A1จะหยุดอยู่แค่SOPMOD1 ระหว่างนี้SOPMOD2ที่จะทำให้ระบบอาวุธของM4A1ใช้งานได้หลากหลายกว่าเดิม ก็กำลังอยู่ระหว่างพัฒนาและยังมีการแข่งขันกันระหว่างผู้ผลิตอุปกรณ์เสริม เพื่อให้ได้สัญญาผลิตอุปกรณ์ประกอบปืนให้กองทัพ
จากข้อมูลของปืนเล็กสั้นที่ยกมาอ้างนี้ น่าจะทำให้ผู่สนใจด้านปืนเล็กเข้าใจถึงความเป็นM4A1ละเอียดขึ้น เพราะมันได้ถูกพัฒนาจากปืนเล็กสั้นธรรมดามาเป็นระบบอาวุธเอนกประสงค์หรือโมดูลาร์เต็มรูปแบบ เพื่อภารกิจพิเศษสำหรับทหารในหน่วยรบพิเศษที่ต้องการความคล่องตัวและหลากหลาย
ด้วยหน้ากระดาษที่มีอยู่ในฉบับนี้ผมจึงแจกแจงถึงรายละเอียดของมันได้เท่าที่เห็น ในฉบับหน้าซึ่งเป็นตอนจบจะเป็นการกล่าวถึงข้อดีและข้อบกพร่องของระบบอาวุธนี้ กล่าวถึงการทดสอบที่M4A1ถูกนำไปเปรียบเทียบกับปืนเล็กสั้นอื่นๆในสภาพกันดารเต็มไปด้วยฝุ่นและทราย ทำไมมันจึงขัดข้อง? เหตุใดทั้งที่HK416ซึ่งดูเหมือนจะดีในตอนแรกๆและน่าจะมีอนาคตในกองทัพสหรัฐฯมากกว่าM4 ปัจจุบันนี้จึงต้องหยุดการผลิตโดยไม่แจ้งสาเหตุ? คำตอบมีอยู่ในตอนจบฉบับหน้าครับ
ปืนเล็กสั้น(carbine : คาร์บินตามสำเนียงอเมริกัน)แบบM4 คือปืนเล็กพานท้ายปรับความยาวได้หน้าตาเหมือนM16ตัดลำกล้อง ซึ่งไม่แปลกเพราะM4ก็คือปืนในตระกูลM16นั่นเองซึ่งพัฒนามาจากAR15เดิมของบริษัทอาร์มาไลต์ จะว่าเป็นแบบที่สั้นลงของM16A2ก็ได้เพราะมันใช้ชิ้นส่วนเดียวกับปืนเล็กยาวรุ่นนี้ถึง80เปอร์เซ็นต์ M4เดิมปรับการยิงได้2แบบคือยิงทีละนัดและยิงชุด3นัด(burst) แต่รุ่นถัดมาคือM4A1ถูกปรับปรุงให้ยิงอัตโนมัติแบบ”ฟูลออโต”ได้แทนการยิงทีละ3นัดเดิม มันดูเหมือนเป็นของใหม่สำหรับคนนอกกองทัพ แต่ในระหว่างสงครามเวียตนามกองทัพสหรัฐฯก็เคยมีปืนคาร์บินตระกูลM16ใช้แล้วเหมือนกัน คือXM177ที่เหมือนM16ตัดสั้นเพียงแต่ไม่มีรางติดอุปกรณ์บนโครงปืนและหูหิ้วด้านบนถอดไม่ได้ กลไกภายในยังเป็นของM16เดิมๆ เป็นแค่ปืนเล็กสั้นไม่ใช่ระบบอาวุธเหมือนM4A1
ปืนในตระกูลM16ถูกออกแบบมาด้วยแนวความคิดว่าต้องเบา ใช้กระสุนหน้าตัดเพียง5.56ม.ม.มาตรฐานนาโตเพื่อให้ทหารนำกระสุนติดตัวไปได้มาก M4ที่แตกสาขาออกมาก็ใช้แนวความคิดนี้ มันเบากว่าแต่ยังใช้กระสุนขนาดเท่าปืนเล็กยาวต้นตระกูล แต่ดีกว่าตรงที่พานท้ายปรับความยาวได้ทำให้คล่องตัวสำหรับทหารเคลื่อนที่ด้วยยานยนต์ ปรับพานท้ายหดเข้าร่องไหล่ได้ง่ายเมื่อสวมเกราะ ไม่เกะกะเมื่อเข้าค้นหาเป้าหมายในเขตอาคาร
เพราะเป็นปืนเล็กสั้นมันจึงติดตัวทหารไปได้สะดวกกว่าปืนเล็กยาว เหมาะทั้งกับการเคลื่อนที่ด้วยยานยนต์,เป็นอาวุธประจำกายทหารฝ่ายอำนวยการ และใช้รบระยะประชิดตามรูปแบบของสงครามในเมืองที่เกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทหารต้องการปืนใช้กระสุนขนาดเท่าเดิมแต่ความยาวปืนสั้นลง เหมาะกับการสู้รบจากอาคารถึงอาคาร ห้องถึงห้อง ในระยะปะทะไม่เกิน100-200เมตร ด้วยความเล็กกะทัดรัดแต่หมัดหนักนี้M4จึงเป็นอาวุธยอดฮิตของหน่วยบัญชาการปฏิบัติการพิเศษสหรัฐฯ(USSOCOM : United States Special Operation Command)และหน่วยปฏิบัติการพิเศษของกองทัพบก(กรีนเบเรต์) ไม่เพียงแต่สหรัฐฯเท่านั้นที่ใช้M4 กรมปฏิบัติการพิเศษSAS(Special Air Service)ของออสเตรเลียก็ใช้M4มานานเพราะคล่องตัว เพื่อนบ้านของเราคือมาเลเซียก็นำมันเข้าประจำการแทนปืนเล็กยาวสไตเออร์ เอยูจีแล้วในทุกเหล่าทัพของเขาเมื่อปี2006
M4ถูกพัฒนาและผลิตป้อนกองทัพของสหรัฐฯและพันธมิตรโดยบริษัทโคลต์ ดีเฟนซ์(Colt Defense) ซึ่งได้สัญญาผลิตปืนเล็กสั้นตระกูลM4นี้จนถึงปี2009 ปืนM4เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของโคลต์ไปแล้ว แต่เพราะความยอดนิยมของมันจึงมีผู้ผลิตปืนรูปร่างหน้าตาเหมือนกันไม่ผิดเพี้ยนแบรนด์อื่นออกป้อนตลาด ใช้อัลลอยด์และวัสดุคอมโพสิตผลิตโครงตามแต่ต้องการจะใช้อะไรเป็นจุดขาย บางรายก็นำเอากลไกเดิมของมันไปปรับปรุงให้ดีขึ้นซ้ำยังใช้กับชิ้นส่วนของM4เดิมได้ด้วย แบรนด์ที่เด่นๆคือบุชมาสเตอร์,สปริงฟีลด์,เอชแอนด์เคและอีกสองสามแบรนด์ทั้งในและนอกสหรัฐฯ ที่ผลิตทั้งปืนสงครามและปืนพลเรือน(ยิงได้ทีละนัด)แต่หน้าตาเหมือนM4
แต่เพราะความเป็นของแท้ และคุณภาพที่โคลต์ควบคุมไว้ได้ตลอดเวลาตามมาตรฐานที่กองทัพกำหนด(MilSpec) M4ของโคลต์จึงยังเป็นปืนคู่ใจของหน่วยรบของสหรัฐฯและพันธมิตร ตั้งแต่เขตป่าฝนของฟิลิปปินส์จนถึงดินแดนทะเลทรายของอิรักและอาฟกานิสถาน
กองทัพนาวิกโยธินของสหรัฐฯซึ่งต้องออกไปถึงพื้นที่สู้รบก่อนเหล่าทัพอื่นอยู่บ่อยๆตามภารกิจ ถึงกับมีคำสั่งเป็นทางการว่าทหารตั้งแต่ยศต่ำสุดถึงพันโทต้องมีM4A1เป็นอาวุธประจำกาย แทนที่จะพกแค่เบเรตต้าM9ขนาด9ม.ม.ติดตัว ด้วยสำนึกว่าภารกิจของนาวิกฯปัจจุบันนี้หนักหนาสาหัสกว่าแต่ก่อนโดยเฉพาะในตะวันออกกลาง การมีแค่ปืนพกไว้ป้องกันตัวจึงยังไม่พอ อีกประการหนึ่งคือเพื่อให้เป็นไปตามคำขวัญของนาวิกโยธินด้วย คือ”นาวิกฯทุกนายคือพลปืนเล็ก”(Every Marine a Rifleman) ทหารเสนารักษ์ของท.ร.ที่ออกรบเคียงกันก็ยังต้องมีM4A1ติดตัวแทนปืนพก M9
นอกจากความคล่องตัวและหมัดหนักเท่ากับปืนเล็กยาวแล้ว ความพิเศษของM4คือมันมีรางติดอุปกรณ์M1913”พิคาทินนี่”(Piccatinny rail)ประกอบ ที่ทำให้เป็นอาวุธเอนกประสงค์สมบูรณ์แบบ เปลี่ยนสภาพจากแค่ปืนเล็กสั้นมาเป็นระบบอาวุธหลายหน้าที่(modular weapon system) ทำงานได้มากกว่าแค่ยิงทำลายเป้าหมายเหมือนปืนเล็กธรรมดา มีตำแหน่งติดอุปกรณ์รอบประกับรองมือและบนโครงปืนให้เลือกติดอุปกรณ์เพิ่มสมรรถนะได้หลากหลาย ทั้งกล้องมองภาพกลางคืน(ไนท์วิชั่น) กล้องเล็งขยาย กล้องเล็งจุดแดงสำหรับการรบระยะประชิด ศูนย์เล็งเลเซอร์ เครื่องชี้เป้าด้วยอินฟราเรด เครื่องยิงลูกระเบิดM203ขนาด40ม.ม.และอื่นๆ โดยเฉพาะเครื่องยิงลูกระเบิดนี้สามารถใช้ยิงอาวุธไร้อันตราย(NLW : Non Lethal Weapon)อย่างกระสุนยาง,กระสุนตาข่ายเพื่อปราบจลาจลได้ด้วย
ปืนเล็กสั้นM4A1คือรุ่นที่ถูกปรับปรุงจากM4เดิม จากที่เลือกการยิงได้ครั้งละ3นัดมาเป็นอัตโนมัติเต็มรูปแบบเพื่อเน้นยิงข่มขวัญและตรึงเป้าหมาย โดยมุ่งหมายให้ใช้กับหน่วยปฏิบัติการพิเศษโดยเฉพาะ ถูกใช้งานในหลายหน่วยรบพิเศษของสหรัฐฯ เช่นเดลต้า ซีลกองทัพเรือ หน่วยค้นหาและกู้ภัยกองทัพอากาศ(Pararescue) หน่วยลาดตระเวนระยะไกลกองทัพบก(เรนเจอร์) ชุดควบคุมการรบพิเศษ(Combat Controller Special Tactics) เป็นอาวุธที่หน่วยต่อต้านการก่อการร้ายสหรัฐฯและตำรวจหน่วยSWATเลือกใช้ จากภารกิจที่ต้องเข้าตรวจค้นและบางครั้งถึงกับปะทะในที่แคบๆระยะยิงใกล้ M4และM4A1ยิงหวังผลได้ไกลเกือบเท่ากับปืนเล็กยาวตระกูลM16ที่ระยะ300-450เมตรก็จริง แต่สภาพการรบในปัจจุบันที่เน้นการค้นหาและทำลายในเขตเมือง และการปะทะส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นที่100-200เมตร ยิ่งในภาคใต้ของเรานั้นมีรายงานว่ายิงกันใกล้ๆแค่ไม่เกิน50เมตรเท่านั้น! ระยะยิงหวังผลของM4เพียงเท่านี้ก็นับว่าเหลือเฟือแล้ว
เพื่อให้M4A1คาร์บินกลายเป็นปืนประจำกองกำลังปฏิบัติการพิเศษเต็มรูปแบบ USSOCOMจึงนำมันไปพัฒนาให้ใช้งานได้เฉพาะปฏิบัติการพิเศษที่ต้องการมากกว่าแค่ยิงทำลายหมายและป้องกันตัว ด้วยรูปแบบที่เรียกว่า”ปืนเล็กสั้นดัดแปลงปฏิบัติการพิเศษ”(SOPMOD : Special Operation Peculiar Modification) มีออปชั่นเสริมจัดชุดเป็นกลุ่มก้อนให้เลือกใช้ประกอบปืนจัดเป็นบล็อค1(Block1) คือ1.เครื่องยิงลูกระเบิดM203 2.กระบอกเก็บเสียง 3.ศูนย์เล็งหลังสำรอง 4.เครื่องชี้เป้าด้วยเลเซอร์/อินฟราเรด AN/PEQ-2Aของอินไซต์เทคโนโลยี 5.กล้องเล็งขยายACOGของทริจิคอนและศูนย์เล็งสะท้อนแสง 6.ศูนย์เล็งกลางคืน(ไนท์วิชั่น) (ในภารกิจจริงทหารมักจะเลือกเปลี่ยนจากศูนย์สะท้อนแสงของทริจิคอนมาเป็นศูนย์สะท้อนจุดแดงของอีโอเทค เนื่องจากชัดเจนมองเห็นง่ายกว่า)
ใช่ว่าระบบอาวุธแบบโมดูลาร์ของM4A1จะหยุดอยู่แค่SOPMOD1 ระหว่างนี้SOPMOD2ที่จะทำให้ระบบอาวุธของM4A1ใช้งานได้หลากหลายกว่าเดิม ก็กำลังอยู่ระหว่างพัฒนาและยังมีการแข่งขันกันระหว่างผู้ผลิตอุปกรณ์เสริม เพื่อให้ได้สัญญาผลิตอุปกรณ์ประกอบปืนให้กองทัพ
จากข้อมูลของปืนเล็กสั้นที่ยกมาอ้างนี้ น่าจะทำให้ผู่สนใจด้านปืนเล็กเข้าใจถึงความเป็นM4A1ละเอียดขึ้น เพราะมันได้ถูกพัฒนาจากปืนเล็กสั้นธรรมดามาเป็นระบบอาวุธเอนกประสงค์หรือโมดูลาร์เต็มรูปแบบ เพื่อภารกิจพิเศษสำหรับทหารในหน่วยรบพิเศษที่ต้องการความคล่องตัวและหลากหลาย
ด้วยหน้ากระดาษที่มีอยู่ในฉบับนี้ผมจึงแจกแจงถึงรายละเอียดของมันได้เท่าที่เห็น ในฉบับหน้าซึ่งเป็นตอนจบจะเป็นการกล่าวถึงข้อดีและข้อบกพร่องของระบบอาวุธนี้ กล่าวถึงการทดสอบที่M4A1ถูกนำไปเปรียบเทียบกับปืนเล็กสั้นอื่นๆในสภาพกันดารเต็มไปด้วยฝุ่นและทราย ทำไมมันจึงขัดข้อง? เหตุใดทั้งที่HK416ซึ่งดูเหมือนจะดีในตอนแรกๆและน่าจะมีอนาคตในกองทัพสหรัฐฯมากกว่าM4 ปัจจุบันนี้จึงต้องหยุดการผลิตโดยไม่แจ้งสาเหตุ? คำตอบมีอยู่ในตอนจบฉบับหน้าครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น