สรศักดิ์
สุบงกช
เรารู้จักเครื่องบินทิ้งระเบิดบี-2,เครื่องบินขับไล่เอฟ-117และเอฟ-22
ในฐานะเครื่องบินล่องหน(stealth)ยุคใหม่ที่เรดาร์แทบจะจับสัญญาณไม่ได้จากลักษณะการออกแบบและสารเคลือบผิวพิเศษที่ดูดกลืนคลื่นสะท้อน
เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่ต้องใช้ความวิริยะและเงินทุนมหาศาลเพื่อวิจัยและพัฒนากว่าจะสำเร็จออกมาเป็นสุดยอดเครื่องบินรบ
แต่มีน้อยคนนักที่จะรู้ว่าเทคโนโลยีล่องหนของอเมริกานั้นมีต้นกำเนิดมาจากอากาศยานในสมัยสงครามโลกครั้งที่2
ครั้งนาซีเรืองอำนาจ
ในชื่อว่าHorten
Ho 2-29
ที่ถือกำเนิดขึ้นในเดือนมีนาคมปี1944ขณะเยอรมันกำลังล่าถอยในทุกแนวรบ
ตามแนวความคิดใหม่ว่าต้องเป็นเครื่องบินเจ็ตขับไล่ทีี่เร็วกว่า
ไกลกว่า
และหลบตรวจจับของเรดาร์ได้ดีกว่าเครื่องบินแบบไหนๆที่นาซีเยอรมันเคยสร้าง
โดยที่เหล่าวิศวกรเยอรมันไม่อาจล่วงรู้ได้เลยว่านี่จะกลายเป็นต้นแบบของเครื่องบินล่องหนของอเมริกาในอีกหกสิบปีต่อมา
เป็นหลักฐานอีกชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าเยอรมันสามารถพัฒนาเทคโนโลยีนำหน้าฝ่ายสัมพันธมิตรไปหลายปีแม้จะตกเป็นเบี้ยล่าง
นับเป็นโชคดีของฝ่ายสัมพันธมิตร
ที่เยอรมันสร้างต้นแบบออกมาได้แค่สามเครื่องเท่านั้นก่อนการยกพลข้ึนบกที่ฝรั่งเศส
มิฉะนั้น"ฮอร์เทน
ฮาโอ229”(Horten
Ho229)อาจจะสร้างความเสียหายให้กำลังทางอากาศของฝ่ายอเมริกันและอังกฤษได้มากไม่แพ้เจ็ตขับไล่อย่างเมสเซอร์ชมิตต์
เอ็มเอ262(Messerschmitt
Me-262)
เรื่องราวของฮอร์เทนเริ่มขึ้นในปี1943เมื่อกองบัญชาการทหารสูงสุดเริ่มยอมรับความพ่ายแพ้ที่กำลังคืบคลานเข้ามา
จึงหวังจะเร่งสร้างสุดยอดอาวุธที่จะพลิกสถานการณ์ได้โดยเฉพาะด้านยุทธเวหา
เมื่อเครื่องบินทิ้งระเบิดของเยอรมันเสียเปรียบทุกประตูเมื่อเผชิญกับความคล่องตัวและความเร็วของเครื่องบินขับไล่สปิตไฟร์และมัสแตง
ตลอดจนการวางยุทธศาสตร์ผิดพลาดที่เน้นการสนับสนุนการรบภาคพื้นดินเป็นหลัก
แทนที่จะวิจัยและพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์
เช่นบี-17หรือบี-29ของฝ่ายสหรัฐฯ
เครื่องบินทิ้งระเบิดหลักของเยอรมันจึงมีพิสัยบินใกล้
บรรทุกระเบิดและอาวุธอื่นได้น้อย
มาคิดเปลี่ยนหลักนิยมการสร้างอากาศยานได้ก็ล่วงเข้าปลายปี1942แล้ว
ซึ่งกองทัพที่6จากสมรภูมิสตาลินกราดในรัสเซียเริ่มประสบเค้าลางแห่งความหายนะ
และฮาโอ229ก็คือผลพวงชิ้นหนึ่งจากแนวความคิดที่เปลี่ยนไปของกองทัพอากาศเยอรมัน
เพื่อให้ได้เครื่องบินทิ้งระเบิดพิสัยบินไกลที่ดีกว่าแบบเดิมทั้งของฝ่ายเยอรมันและของศัตรูแ
ฮร์มันน์
เกอริงผู้บัญชาการทหารอากาศและจอมพลแห่งอาณาจักรเยอรมันที่3และอดีตนักบินขับไล่ระดับเสืออากาศจากสงครามโลกครั้งที่1
ได้วางคุณสมบัติของเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ไว้ว่าต้องเป็นไปตามหลัก"1,000
1,000 1,000”คือต้องบรรทุกน้ำหนักได้กว่า1,000ก.ก.
บินได้ไกลกว่า1,000ก.ม.และทำความเร็วได้ถึง1,000ก.ม./ช.ม.
นักบินพี่น้องในวัยสามสิบกว่าคือไรมาร์และวัลเธอร์
ฮอร์เทนผู้ร่วมออกแบบเสนอรูปแบบที่ล้ำยุคมากในสมัยนั้นคือ"ปีกบิน"
เช่นเดียวกับบี-2ของสหรัฐฯในปัจจุบันเข้าที่ประชุม
ผ่านการพิจารณาแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาอย่างรีบเร่งในช่วงเพียงปีกว่าๆ
เริ่มต้นจาก1943ถึงเริ่มสร้างเครื่องบินต้นแบบที่เมืองโกตติงเกน
เยอรมนี ในปี1944
ผู้รับหน้าที่สร้างเครื่องยนต์ในนามเรียกขานว่าBMW003คือไบเออริชเชน
โมโตเรน แวร์เค่อะ(ฺByerischen
Motoren Werke:บีเอ็มดับเบิลยู)
ผู้สร้างชื่อเสียงเลื่องลือมาแล้วจากเครื่องยนต์ของเครื่องบินขับไล่ใบพัดระดับตำนานเมสเซอร์ชมิตต์
เอ็มเอ-109และเจ็ตขับไล่เอ็มเอ-262
รูปแบบปีกบินที่ว่าล้ำยุคแล้วยังมีที่ไปไกลกว่านั้น
คือการเคลือบผิวเครื่องบินทั้งลำด้วยผงถ่านไม้คลุกกาว
ส่วนผสมง่ายๆที่สามารถดูดกลืนคลื่นสะท้อนจากเรดาร์ได้ชะงัด
ตามความคิดของไรมาร์ ฮอร์เทน
ทฤษฎีของไรมาร์คือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่พุ่งมาจะถูกผงถ่านสีดำขรุขระดูดกลืนไว้หมด
ไม่สะท้อนกลับไปหาต้นคลื่น
ผลคือฮาโอ229จะเหลือเพียงจุดเล็กๆแทบมองไม่เห็นเลยบนจอเรดาร์(ยุคนั้น)
ด้วยหลักการเดียวกันกับเครื่องบินขับไล่ล่องหนเอฟ-117เอ"ไนท์ฮอว์ค"ของสหรัฐฯ
ที่เคลือบผิวเครื่องบินด้วยกราไฟต์ที่มีส่วนประกอบแทบไม่ต่างจากถ่านไม้ในยุคนาซี
ซึ่งไม่น่าแปลกใจที่เครื่องบินสองแบบถึงแม้จะถือกำเนิดห่างกันนับหลายสิบปี
แต่ก็มีแผนแบบและวัสดุคล้ายคลึงกัน
เพราะหลังสงครามสงบฝ่ายอเมริกันสามารถยึดต้นแบบของฮอร์เทน
ฮาโอ229ได้พร้อมพิมพ์เขียวและวิศวกร
เมื่อมันถูกสร้างออกมาเพียง3ลำและบินไม่ได้แล้วในยุคปัจจุบันที่สหรัฐเริ่มพัฒนาเครื่องบินล่องหนขึ้น
จึงเกิดข้อสงสัยขึ้นว่าถ้าฮาโอ229บินได้จริงจะสามารถล่องหนได้ตามทฤษฎีของไรมาร์
ฮอร์เทนหรือไม่?
ด้วยต้นแบบที่ถูกอนุรักษ์ไว้ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์กับพิมพ์เขียวฉบับดั้งเดิม
บริษัทนอร์ธรอป-กรัมแมนผู้สร้างเครื่องบินทิ้งระเบิดล่องหนบี-2ของสหรัฐฯจึงสร้างฮาโอ229ขึ้นใหม่ด้วยวัสดุสร้างแอร์เฟรมและวัสดุเคลือบแบบดั้งเดิม
เพื่อทดสอบการดูดซับคลื่นเรดาร์เพียงอย่างเดียวโดยไม่ให้ความสำคัญต่อเครื่องยนต์และความเร็ว
นอร์ธรอปฯใช้เวลาสร้าง2,500ชั่วโมงกับงบประมาณอีก250,000ดอลลาร์
เพื่อให้ได้เครื่องบินจำลองมาตรส่วน1/1ที่ใช้ตั้งไว้ทดสอบการดูดกลืนคลื่นเรดาร์เท่านั้นบนเสาสูง50ฟุตให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าฉายกระทบทุกด้านทั้งบนและล่าง
ผลการทดสอบทฤษฎีของไรมาร์
ฮอร์เทนโดยนอร์ธรอปฯปรากฎว่าฮาโอ229สามารถดูดกลืนคลื่นเรดาร์ได้จริง
ถึงแม้จะไม่ส่งผลเลิศเท่าที่วิศวกรนาซีคำนวณไว้แต่ก็ทำให้เครื่องเล็กลงมากในจอเรดาร์
มันอาจไม่ล่องหนได้ดีเท่าบี-2แต่ถ้าเยอรมันผลิตได้สัก300-500ลำก่อนปี1942แล้วส่งไปทิ้งระเบิดกรุงลอนดอนกับเมืองใกล้เคียง
แทนเครื่องบินทิ้งระเบิดสนับสนุนการรบภาคพื้นดินอย่างไฮน์เกล
ฮาเอ-111(Heinkel
He-111) ผลการรบในช่วงนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้
ด้วยความสามารถล่องหนและความเร็วที่ใกล้เคียงเครื่องบินเจ็ตปัจจุบัน
กว่ากองทัพอากาศอังกฤษจะส่งสปิตไฟร์ขึ้นสกัดกั้นได้ความเสียหายคงเกิดขึ้นมหาศาล
"ยุทธเวหาแห่งบริเทน"คงมีโฉมหน้าที่เปลี่ยนไปในทางเลวร้ายสำหรับอังกฤษ
และ"ยุทธการสิงโตทะเล"ของเยอรมันที่จะเปิดฉากยกพลขึ้นบกก็อาจเป็นจริงได้
ปีเตอร์
เมอร์ตันผู้เชี่ยวชาญด้านอากาศยานจากพิพิภัณฑ์สงครามอิมพีเรียลแห่งดักซ์ฟอร์ดในเคมบริดจ์ไชร์ของอังกฤษ
ให้ความเห็นเกี่ยวกับฮาโอ229ไว้ว่า"ถ้าเยอรมันมีเวลาพัฒนาเครื่องบินแบบนี้ทัน
เชื่อว่ายุทธเวหาเหนืออังกฤษต้องเปลี่ยนโฉมหน้าไปแน่ๆ
ตามทฤษฎีแล้วรูปทรงปีกบินนี้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการออกแบบ
มันก่อแรงต้านน้อยมากจนทำให้ทำความเร็วสูงได้เร็ว
ดำดิ่งแล้วร่อนได้ไกลอย่างไม่น่าเชื่อ"
ฮอร์เทน
ฮาโอ229คือหนึ่งในอีกหลายตัวอย่างที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสงครามของเยอรมัน
ที่ฝ่ายชนะคือสหรัฐฯ
อังกฤษและรัสเซียนำองค์ความรู้และบุคลากรมาใช้ประโยชน์หลังสงครามสงบ
ทั้งด้านการทหารและพลเรือน
แม้แต่การบุกเบิกด้านอวกาศของสหรัฐฯก็ได้นักวิทยาศาสตร์เยอรมันคือดอกเตอร์แวร์เนอร์
ฟอน เบราน์เจ้าหัวหน้าโครงการจรวดวี-2เป็นกำลังสำคัญ